รถบัสสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติเที่ยวแรกของประเทศนำผู้ป่วยติดเชื้อโควิดกลับรักษาบ้านเกิด

3.7
(63)
image_print

รถบัสเที่ยวแรกของประเทศไทยปลายทางที่จังหวัดแพร่ นำผู้ป่วยติดเชื้อโควิดกลับรักษาตัวที่บ้านเกิด ตามโครงการคนแพร่ไม่ทิ้งกัน แจ้งยอดไว้ 25 คน ถึงปลายทาง 6 คน ขณะที่โรงพยาบาลสนามของจังหวัดแพร่เตรียมขยายเนื่องจากจำนวนผู้ติดเชื้อที่เข้ารับการรักษาเพิ่มขึ้นทุกวัน
เมื่อเวลา 05.00 น. วันที่ 25 กรกฎาคม 2564 ที่โรงพยาบาลสนามจังหวัดแพร่ รถบัสของสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) ที่นำผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโควิด 19 จาก โรงพยาบาลบุษราคัม เมืองทองธานี ซึ่งเป็นโรงพยาบาลสนามของกระทรวงสาธารณสุข โดยการประสานงานโดยตรงกับจังหวัดแพร่ ที่มีรายชื่อผู้ที่ติดเชื้อไวรัสโควิด และประสงค์จะกลับมารักษาตัวที่บ้านเกิด จะต้องเป็นผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรง เนื่องจากรถที่นำมาส่งนั้นไม่ใช้รถพยาบาล โดยทางโรงพยาบาลบุษราคัมฯ จะดำเนินการประสานรถมูลนิธิ ไปรับตามบ้านในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล ที่ได้รับการติดต่อไป เพื่อนำตัวผู้ป่วยมาที่โรงพยาบาลบุษราคัม เมืองทองธานี ก่อนจะจัดรถเพื่อนำส่งผู้ป่วยไปยังแต่ละจังหวัดปลายทาง
โดยเบื้องต้นรถบัสคันแรกที่นำส่งผู้ป่วยออกจากโรงพยาบาลบุษราคัมฯ มีผู้ป่วยที่ร่วมเดินทางทั้งสิ้น 25 คน และได้นำส่งไปยังแต่ละจังหวัด จนมาถึงที่จังหวัดแพร่ เป็นจังหวัดสุดท้าย มีผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาทั้งสิ้น 6 ราย
ในขณะที่โรงพยาบาลสนามของจังหวัดแพร่ มีผู้ป่วยเข้ารับการรักษาเพิ่มมากขึ้นและมีการเตรียมสถานที่รองรับเพิ่มเติมอีก 100 เตียง จากเดิมแห่งแรกรองรับได้ 100 เตียง ผู้ป่วยโรงพยาบาลสนาม ยอดผู้รักษาตัวอยู่ 81 คน
สำหรับผู้ป่วยโควิด 19 ที่มีการติดต่อผ่านโครงการคนแพร่ไม่ทิ้งกัน ยอดคงค้างอีกจำนวน 26 ราย โดยจะมีรถไฟขบวนพิเศษที่จะรับผู้ป่วยติดเชื้อโควิด 19 กลับมารักษายังภูมิลำเนา ของโซนภาคเหนือจะมีการเดินทางกันในวันที่ 28 กรกฎาคม 2564 ซึ่งแต่ละรายจะต้องผ่านการประเมินทางกรมการแพทย์ก่อนว่าอาการไม่รุนแรง เจ้าหน้าที่ถึงจะมีการส่งตัวกลับมารักษายังภูมิลำเนาของตนเอง

ให้คะแนนบทความนี้

กรุณาเลือกจำนวนดาว

คะแนนค่าเฉลี่ย 3.7 / 5. จำนวนผู้ให้คะแนนโวต 63

ยังไม่มีผู้ให้คะแนนบทความนี้

Sending
User Review
4.05 (21 votes)

Leave a Reply

Translate »