ผู้ตรวจราชการ​ ทส.นำทีมรับฟังข้อเสนอชาวบ้านบางกลอย​ พร้อมเร่งแก้ไขปัญหาที่ดินและระบบน้ำให้ชาวบ้าน

0
(0)
image_print

เมื่อวันที่ 25​ กุมภาพันธ์​ 2564​ นายจงคล้าย​ วรพงศธร​ ผู้ตรวจราชการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม​ พร้อมด้วย​นายณัฐวุฒิ​ เพ็ชรพรหมศร​ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรี​ นายประกิต​ วงศรีวัฒนกุล​ รองอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ​ สัตว์ป่า​ และพันธุ์พืช​ นายพิชัย​ วัชรวงษ์ไพบูลย์​ ผอ.สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่​ 3​ สาขาเพชรบุรี​ ผู้แทนจากกรมทรัพยากรน้ำบาดาล​ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง​ เข้ารับฟังข้อเสนอจากตัวแทนชาวกระเหรี่ยงบางกลอย​ 4​ ราย​ พร้อมชาวบ้านบางกลอย ณ​ ศาลาพอละจี​ อำเภอแก่งกระจาน​ จังหวัดเพชรบุรี

นายจงคล้าย​ กล่าวว่า​ วันนี้เรามารับฟังปัญหาจากตัวแทนของพี่น้องชาวบางกลอย​ เพื่อนำไปหารือกับคณะทำงานและร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการบูรณาการแก้ปัญหาให้พี่น้อง​ประชาชนในพื้นที่บางกลอยมีวิถีชีวิตที่ดีขึ้น​ โดยปัญหาที่พี่น้องประชาชนประสบก็คือเรื่องที่ดินทำกิน​ และน้ำมีใช้ไม่เพียงพอ​ รวมถึงที่ดินที่ทำการเกษตรไม่สามารถปลูกพืชผลทางการเกษตรได้ซึ่งมีสาเหตุมาจากปัญหาของดินและน้ำ​ ซึ่งจะได้ดำเนินการใน​ 2​ เรื่องนี้ก่อน

DCIM\100GOPRO\GP__1381.JPG

จากการสำรวจฐานข้อมูลของชาวบ้านบางกลอย จากเดิมเมื่อปี 2539 ที่มี 57 ครอบครัว ที่ย้ายลงมา ก่อนจะเพิ่มขึ้นมาเป็น 61 ครอบครัว​และในปัจจุบันพบว่ามี 116 ครอบครัว​ ซึ่งบางคนได้รับการจัดสรรที่ดินแล้วแต่มีปัญหาการทำกิน​ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจะเข้าไปดูแลแก้ไขปัญหาให้​ ส่วนที่เหลือยังไม่มีที่ดินต้องรอผลสรุปจากคณะกรรมการที่กำลังเก็บข้อมูล ซึ่งยืนยันว่า จะนำไปหาไปพูดคุยกับคณะกรรมการเพื่อดำเนินการให้เร็วที่สุด​ พร้อมให้พี่น้องชาวบางกลอยมั่นใจว่าเรามีความจริงใจและห่วงใจที่จะแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น​ ซึ่งเป็นความห่วงใจของท่านนายกรัฐมนตรี​ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม​ ที่อยากให้ชาวบ้านมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น​ โดยเรื่องน้ำก็จะมีกรมทรัพยากรน้ำ​ และกรมทรัพยากรน้ำบาลดาลเข้ามาช่วยเหลือ​ ซึ่งขณะนี้โครงการปิดทองหลังพระก็เข้ามาช่วยดูในเรื่องนี้อยู่

ขณะที่ตัวแทนชาวบ้านได้อ่านข้อเสนอ 7 ข้อ ดังนี้ 1. พวกเราชาวบ้านบางกลอยยืนยันว่าต้องการอยู่ในพื้นที่เดิมที่เคยอยู่มาก่อน 2. คนที่ไม่มีความประสงค์จะกลับขึ้นไปก็ควรได้รับการจัดสรรที่ดินให้สามารถทำกินได้ 3. ปฏิบัติการเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2564 มีการกระทำของเจ้าหน้าที่ทำให้สิ่งของบางอย่างเสียหาย​ เช่น ไฟฉาย​ แผ่นโซล่าเซลล์ 4. ให้เจ้าหน้าที่หยุดปฏิบัติการต่างๆในขณะที่มีคณะทำงานที่ถูกส่งมาจากกระทรวงโดยตรง 5. ให้สื่อหรือเจ้าหน้าที่หยุดชี้นำให้พวกเราชาวบ้านและหยุดกล่าวหาว่าพวกเราไม่ใช่คนไทย 6.​ ให้มีกระบวนการพิสูจน์สิทธิ์โดยมีทั้งหน่วยงานรัฐและนักวิชาการมีส่วนร่วมเรื่องไร่หมุนเวียน 7.​เราจะรอจนกว่าคณะทำงานที่ถูกส่งมาจากกระทรวงจะหาข้อยุติร่วมกับคนกลาง

ด้านรองผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรี​ กล่าวเพิ่มเติมว่า​ ในวันนี้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจะบูรณาการร่วมกับทุกหน่วยงานเพื่อช่วยกันแก้ไขปัญหาให้พี่น้องประชาชน มาดูกันว่าพื้นที่ไหนไม่มีน้ำหรือดินตรงไหนขาดอะไรเพื่อที่จะได้ปรับปรุง ให้พี่น้องสามารถปลูกพืช​ เลี้ยงสัตว์​ ทำประมงภูเขา​ โดยจะมีหน่วยงานต่าง ๆ เข้ามาช่วยกัน​ ซึ่งจะเป็นการบริหารจัดการพื้นที่เดิมที่มีอยู่ให้ดีขึ้น โดยขอร้องให้พี่น้องประชาชนอยากออกไปอยู่นอกพื้นที่นี้​ เราจะได้บริหารจัดการระบบน้ำ​ ที่ดินทำกินได้ดียิ่งขึ้น

หลังจากนั้นคณะผู้บริหารได้ลงพื้นที่ทำกินของราษฎรเพื่อพบปะชาวบ้านซึ่งมีส่วนหนึ่งที่พื้นที่สามารถปลูกพืชผลทางการเกษตรได้​ ในส่วนของที่ดินที่อยู่ห่างออกไปที่ยังไม่สามารถทำการเกษตรได้​ จะเร่งแก้ปัญหาต่อไป

ให้คะแนนบทความนี้

กรุณาเลือกจำนวนดาว

คะแนนค่าเฉลี่ย 0 / 5. จำนวนผู้ให้คะแนนโวต 0

ยังไม่มีผู้ให้คะแนนบทความนี้

Sending
User Review
0 (0 votes)

Leave a Reply

Translate »