พชภ.ร่วม นักวิชาการนำชาวบ้านลงพื้นที่ตีแปลงสำรวจความสมบูรณ์ของป่า

0
(0)
image_print

เจ้าหน้าที่มูลนิพัฒนาชุมชนและเขตภูเขา นักวิชาการด้านนิเวศวิทยา นำอาสาสมัคร และชาวบ้านร่วมกันตีแปลงสำรวจความสมบูรณ์ของป่า เพื่อวัดค่าการดูดซับคาร์บอนในอากาศ และปลูกฝังให้คนรุ่นใหม่รักษาป่า

วันที่ 28 ส.ค.64 เจ้าหน้าที่มูลนิธิพัฒนาชุมชนและเขตภูเขาและอาสาสมัคร เยาวชนในพื้นที่ ได้ร่วมกันตีแปลงป่า เพื่อเก็บข้อมูลความสมบูรณ์ของป่า พื้นที่บ้านป่าคาสุขใจ ต.แม่สลอง อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย เนื้อที่ประมาณ 3 พันไร่ โดยมี น.ส.นุชจรีย์ สิงห์คราช นักวิชาการด้านนิเวศวิทยา นายอาเจอะ หม่อโกกู่ ผู้ใหญ่บ้านป่าคาสุขใจ นายเมยัง อมรศิริเลิศทิพย์ ชาวบ้านป่าคาสุขใจ และผู้นำปลูกป่าปี 2538 ได้แนะนำให้เยาวชน ชาวบ้านในชุมชน และอาสาสมัครในการตีแปลงสำรวจป่า โดยการตีแปลงป่าคือการกำหนดพื้นที่ในป่าจำนวน 1 แปลง เพื่อตรวจสอบว่ามีต้นไม้ชนิดใดอยู่ในแปลงนั้นบ้าง แล้วนำผลมาสำรวจจากแปลงต่างๆมาคิดค่าเฉลี่ยในการดูดซับคาร์บอน ในอากาศ

น.ส.นุชจรีย์ สิงห์คราช กล่าวว่า การตีแปลงป่าในครั้งนีมีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบความหลากหลายทางชีวภาพ ความหลากหลายของต้นไม้ ว่าในพื้นที่มีต้นไม้อะไรบ้าง โดยจะดูว่าป่าผืนนี้จะช่วยลดโลกร้อนได้อย่างไรบ้าง ในป่าผืนนี้สามารถเก็บคาร์บอน ได้เท่าไหร่ อีกวัตถุประสงค์แฝงก็คือ ต้องการให้เด็กๆ ในพื้นที่ ได้เรียนรู้ผืนป่าในพื้นที่โดยได้รับการสืบทอดจากผู้ใหญ่มาให้ความรู้และนำไปสืบทอดต่อเพื่อให้ได้รู้จัดต้นไม้ในท้องถิ่น โดยหลังจากที่ได้มีการสำรวจตีแปลงป่าแล้ว จะมีการนำผลที่ได้จากการตีแปลงว่าใน 1 แปลงมีต้นไม้ชนิดใดบ้าง แล้วนำมาคำนวนถึงค่าการดูดซับคาร์บอน ซึ่งเป็นตัวชี้วัดว่าป่าแห่งนี้ได้ช่วยในการลดโลกร้อนได้อย่างไรบ้าง และนอกจากนี้ยังเป็นตัวชี้วัดเพื่อให้เกิดการอนุรักษ์ป่าเพิ่มขึ้น

นายอาเจอะ หม่อโกกู่ กล่าวว่า การเข้ามาสำรวจป่าในครั้งนี้เพื่อในอนาคตข้างหน้าจะได้มีป่าอยู่คู่กับชุมชน โดยให้ชาวบ้านมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ป่าชุมชน เพื่อไม่ให้ใครมาทำลายหรือเข้ามาปลูกพืชในพื้นที่ป่า เพื่ออนุรักษ์ไว้ให้คนรุ่นหลังต่อไป เพื่อคนรุ่นหลังจะได้ไม่เหนื่อย และสืบทอดกันในรุ่นต่อไป เพื่อให้ชาวบ้านสามารถมาเก็บของป่าไปบริโภคได้ และช่วยกันป้องกันไม่ให้มีการตัดไม้ในพื้นที่

นายเมยัง อมรศิริเลิศทิพย์ กล่าวว่า เมื่อก่อนชาวบ้านมาอยู่มีแต่หญ้าคา ซึ่งชาวเขาอยู่ไม่ได้เพราะป่าคือแหล่งอาหารจึงได้หารือร่วมกันว่าจะหาต้นกล้ามาปลูก และฟื้นฟูป่า ในปี 2538 จนถึงปัจจุบันประมาณ 26 กว่าปีแล้ว ทำให้ป่ากลับมาสมบูรณ์ ทำให้ชาวบ้านมีพืชสมุนไพร อาหารการกิน ก็สามารถมาหาได้ในป่า ในส่วนของการตัดไม้จะต้องแจ้งถึงความจำเป็นในการตัดไม้กับคณะกรรมการหมู่บ้านก่อนจึงจะสามารถตัดได้ นอกจากนี้พบว่าสัตว์ป่าเช่น ลิง ไก่ป่า หมูป่า เข้ามาอาศัยอยู่ในพื้นที่ป่าของบ้านป่าคาสุขใน ซึ่งทางคณะกรรมการหมู่บ้านก็ได้มีข้อตกลงโดยห้ามล่าสัตว์ในป่าชุมชน เพื่ออนุรักษ์สัตว์ป่าในพื้นที่

ให้คะแนนบทความนี้

กรุณาเลือกจำนวนดาว

คะแนนค่าเฉลี่ย 0 / 5. จำนวนผู้ให้คะแนนโวต 0

ยังไม่มีผู้ให้คะแนนบทความนี้

Sending
User Review
0 (0 votes)

Leave a Reply

Translate »