รัฐบาลสั่ง ผลักดันนโยบายการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ เพื่อขับเคลื่อนยกระดับรายได้และคุณภาพชีวิตประชาชน ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่ จ.สงขลา จะมีทั้งเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ และ เมืองต้นแบบที่ 4

0
(0)
image_print

พลเรือตรี สมเกียรติ ผลประยูร เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) กล่าวว่า ได้ร่วมประชุมคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ วีดีโอคอนเฟอเรนซ์ โดยมี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุม และมีคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจเข้าร่วมประชุม เพื่อหารือขับเคลื่อนการพัฒนาเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษกำหนดพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษและกรอบแนวทางการให้สิทธิประโยชน์ และกลไกขับเคลื่อนการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ
สืบเนื่องจากรัฐบาลมีนโยบายดำเนินงานขับเคลื่อนพัฒนาเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษใน 10 พื้นที่ชายแดน ได้แก่ ตาก สระแก้ว มุกดาหาร ตราด สงขลา หนองคาย นครพนม กาญจนบุรี นราธิวาส และ เชียงราย เมื่อปี 2558 เพื่อกระจายความเจริญสู่ภูมิภาค ยกระดับรายได้และคุณภาพชีวิตของประชาชน จัดระเบียบความมั่นคงชายแดน พร้อมเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน โดยใช้ประโยชน์จากการค้าชายแดนและการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
สำหรับ ศอ.บต. ซึ่งเป็นหน่วยงานประสานการพัฒนาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ครอบคลุม 5 จังหวัด ประกอบด้วย สตูล สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาสนั้น ได้ดำเนินการขับเคลื่อนโครงการเมืองต้นแบบ เพื่อสนองนโยบายในการพัฒนาเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษของรัฐบาล ขับเคลื่อนให้ อ.สุไหงโกลก จ.นราธิวาส เป็นเมืองการค้าชายแดน อ.เบตง จ.ยะลา เป็นเมืองท่องเที่ยวและพึ่งพาตนเอง อ.หนองจิก จ.ปัตตานี เป็นเมืองเกษตรอุตสาหกรรมก้าวหน้าผสมผสาน และ อ.จะนะ จ.สงขลา ซึ่งตั้งเป้าหมายไว้เป็นเมืองต้นแบบอุตสาหกรรมก้าวหน้าแห่งอนาคต

โดยหนึ่งในวาระพิจารณาในที่ประชุมวันนี้ มีการหารืออนุญาตให้เทศบาลตำบลสำนักขาม ใช้ที่ราชพัสดุในพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษสงขลา ดำเนินการก่อสร้างถนนเชื่อมโยงโครงการนิคมอุตสาหกรรมสงขลากับด่านศุลกากรสะเดาแห่งที่ 2 และขอเปลี่ยนแปลงเนื้อที่ราชพัสดุของการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยด้วย
สำหรับความคืบหน้าของเมืองต้นแบบที่ 4 อ.จะนะ หรือ “เมืองอุตสาหกรรมแห่งอนาคต” ซึ่งเป็นหนึ่งความหวังของคนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่จะเห็นแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์ในการแก้ปัญหาการว่างงานของคนในพื้นที่และเป็นแหล่งงานของผู้จบการศึกษาใหม่ นั้น แหล่งข่าวได้เปิดเผยว่า ขณะนี้หน่วยงานที่รับผิดชอบอยู่ระหว่างทำข้อตกลงให้มหาวิทยาลัยในพื้นที่ในการทำการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่ว่าต้องการที่จะให้ เมืองต้นแบบที่ 4 มี อุตสาหกรรมชนิดไหนบ้าง และไม่ต้องการอุตสาหกรรมชนิดไหน เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนเพราะอุตสาหกรรมที่เอกชนผู้ลงทุนเสนอมาในแผนเป็นอุตสาหกรรมที่ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะกับสิ่งแวดล้อม รวมทั้งมติ ครม. มีความชัดเจนว่า อุตสาหกรรมที่จะเกิดขึ้นในเมืองต้นแบบที่ 4 หรือ เมืองอุตสาหกรรมแห่งอนาคต จะไม่มีอุตสาหกรรมหนักที่เป็น ปิโตรเคมี ซึ่งน่าจะใช้เวลาประมาณ 8 เดือน ก็จะได้คำตอบจากประชาชนในพื้นที่ เพื่อที่หน่วยงานที่รับผิดชอบจะได้ผลสรุปที่ชัดเจนเพื่อการเดินหน้าในการขับเลื่อนโครงการดังกล่าว ตามมติ ครม. และการสั่งการของ นายกรัฐมนตรี
แต่อย่างไรก็ตามแหล่งข่าวได้กล่าวว่า ในส่วนของผู้ลงทุนเองก็ได้ส่งเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่เพื่อทำความเข้าใจกับชุมชนทั้ง 3 ตำบลมาโดยตลอด รวมทั้งได้ทำโครงการต่างสร้างสังคมในชุมชนตามที่คนในชุมชนต้องการ และในส่วนของผู้บริหารระดับสูงของ บริษัท ทีพีไอ โพลีน เพาเวอร์ จำกัด ( มหาชน ) ก็ได้มีการลงนาม เอ็มโอยู กับกลุ่มทุนในต่างประเทศ และในประเทศ ที่สนใจในการที่จะมาลงทุนในอุตสาหกรรม พลังงาน และอุตสาหกรรมอื่นๆ

นายปรีชา สถิตย์เรืองศักดิ์ / หาดใหญ่ จ.สงขลา

ให้คะแนนบทความนี้

กรุณาเลือกจำนวนดาว

คะแนนค่าเฉลี่ย 0 / 5. จำนวนผู้ให้คะแนนโวต 0

ยังไม่มีผู้ให้คะแนนบทความนี้

Sending
User Review
0 (0 votes)

Leave a Reply

Translate »