ผู้นำ ส.ค.ท.และสหพันธ์ครูภาคเหนือ ร่วมเสวนาทิศทางการศึกษาไทยกับร่างพ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ

5
(2)
image_print

เมื่อวันที่10กุมภาพันธ์ 2568 ณ หอประชุมร.ร.บ้านนาวงศ์ อ.ปัว จ.น่าน

ดร.วีรบูล เสมาทองประธาน สมาพันธ์สมาคมครูแห่งประเทศไทย(ส.ค.ท.)และนายธีระศักดิ์ สุวรรณปัญญาประธานยุทธศาสตร์ส.ค.ท. และประธานสหพันธ์ครูภาคเหนือ(สคน.)นายวุฒิศักดิ์ เตชะบุญ รองประธานสหพันธ์ครูภาคเหนือ(สคน.) นายกสมาคมครูน่าน ดร.ประสพ ทองอินทร์หัวหน้าสำนักงานประธานส.ค.ท. ครูสุนทรีย์ ทองอินทร์ อดีตผู้แทนครูในกคศ.กองเลขาธิการส.ค.ท.นายอิ่นคำ ใจกันทะรองเลขาธิการสคน.นายณัฐนนท์ อินปัญญารองเลขาธิการสคน. และผู้นำองค์กรเครือข่าย 16 จังหวัดภาคเหนือ ร่วม เวทีเสวนา ทิศทางการศึกษาไทย กับร่างพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ จัดโดยสมาคมครูน่าน นายแพทย์ชลน่าน ศรีแก้วอดีตหัวหน้าพรรคเพื่อไทย สส จังหวัดน่าน เป็นประธานในพิธีเปิด มี
สส. เทอดชาติ ชัยพงษ์ รองประธานกรรมาธิการการศึกษา สภาผู้แทนราษฎร เป็นผู้นำเสนอรายละเอียดร่างพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติฉบับพรรคเพื่อไทย ให้ผู้ประกอบวิชาชีพครูและบุคลากรทางการศึกษาของสมาคมครูน่าน และองค์กรเครือข่าย 16 จังหวัดภาคเหนือ ณห้องประชุม โรงเรียนบ้านนาวงศ์ อำเภอปัว จังหวัดน่าน มีความเห็นสอดคล้องกันว่า ร่างพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ฉบับ ของพรรคเพื่อไทย ที่นำเสนอโดย
สส. เทอดชาติ ชัยพงษ์ มีสาระบัญญัติ ที่ใกล้เคียงกับข้อเรียกร้องของผู้ประกอบวิชาชีพครูและบุคลากรทางการศึกษาทั่วประเทศและ ของภาคเหนือ ที่เรียกร้องให้มีการนำพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ 2542 มาเป็นร่างหลัก และมีการปรับปรุงแก้ไขในมาตราที่ล้าสมัยไม่ทันกับเหตุการณ์ การเปลี่ยนแปลง ให้ทันสมัย ตามบริบทของสังคม ดังนั้น สมาพันธ์สมาคมครูแห่งประเทศไทย และสหพันธ์ครูภาคเหนือ จึงขอ สนับสนุน ให้ร่างพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติฉบับพรรคเพื่อไทยเป็นร่างหลักในการที่จะหลอมรวมเอาแนวคิดการปฏิรูปการศึกษาการพัฒนาการศึกษา ในการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร ประเด็น สาระบัญญัติที่สอดคล้องกันมีดังนี้

  1. การจัดการศึกษา ของชาติโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้มีระบบการศึกษาตลอดชีวิตกระจายอำนาจสู่สถานศึกษาเขตพื้นที่การศึกษา และหน่วยงานหรือองค์กรทางการศึกษาเพื่อลดความเหลื่อมล้ำสร้างโอกาสความเสมอภาคความเป็นธรรมการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการบริหารและพัฒนาคุณภาพการศึกษา การจัดการศึกษา โดยให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมและการใช้ทรัพยากรเพื่อการศึกษาร่วมกัน
    2 .รัฐจัดให้ เด็กไทยทุกคน มีสิทธิ และโอกาสรับการศึกษา อย่างเสมอภาค ทั่วถึง เท่าเทียมโดยไม่เก็บค่าใช้จ่ายตั้งแต่ระดับปฐมวัย จนถึงระดับอนุปริญญา และรับต้องส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาทุกระดับให้มีมาตรฐานและคุณภาพส่งเสริมผู้เรียนให้มีศักยภาพ ประสานความร่วมมือกับทุกภาคส่วนในการจัดการศึกษาทุกระดับ จัดหลักสูตรการศึกษาที่เหมาะสมกับผู้เรียน และสอดคล้องกับตลาดแรงงาน
  2. รัฐต้องจัดสรรงบประมาณเพื่อการศึกษาในทุกรูปแบบ ทุกระดับ โดยเฉพาะการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างเพียงพอและทุกประเภทการศึกษา กำหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถสนับสนุนงบประมาณให้กับผู้เรียนและสถานศึกษาของรัฐได้ กำหนดให้รายได้ที่สถานศึกษา ได้รับไม่ต้องนำส่งเป็นเงินรายได้แผ่นดิน ตามกฎหมายว่าด้วยการงบประมาณ
    4 .กำหนดให้วิชาชีพครูเป็นวิชาชีพชั้นสูง ครูผู้สอนต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพมีคุรุสภาเป็นสภาวิชาชีพและบุคลากรทางการศึกษา มีหน้าที่ อำนาจเกี่ยวกับมาตรฐานวิชาชีพครูตามกฎหมายว่าด้วย สภาครูและบุคลากรทางการศึกษา
    5 .กำหนดหลักเกณฑ์การบริหารงานบุคคลสำหรับครูและบุคลากรทางการศึกษา ให้มีการ หรือเลื่อนวิทยฐานะของข้าราชการครูและบุคลากรทางศึกษาเน้นการประเมิน เชิงประจักษ์เพื่อลดภาระงานด้านเอกสารการประเมินวิทยฐานะในระดับต่างๆให้มีการพิจารณาทบทวนอัตราเงินเดือนเงินค่าตอบแทนเงินจำนวนฐานะและเงินอื่นให้สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจและอัตราเงินเฟ้อ 6. กำหนดให้ครูและบุคลากรทางการศึกษาผู้ปกครองนักเรียนประชาชนผู้มีส่วนได้เสียในการจัดการศึกษามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการศึกษาโดยองค์คณะบุคคลทุกระดับตามหลัก
    ธรรมาภิบาล
  3. ต้องมีการยกเลิกคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาทุกฉบับ นอกจากนี้สมาพันธ์สมาคมครูแห่งประเทศไทยและ สหพันธ์ครูภาคเหนือ ได้จัดเวทีเสวนารับฟังความคิดเห็นของผู้ประกอบวิชาชีพครูและบุคลากรทางการศึกษาทั่วภาคเหนือ อาทิเช่น
    จังหวัดเชียงราย จังหวัดลำปางได้มีการจัดเวทีเสวนารับฟังความคิดเห็นทั้ง 13 อำเภอ ตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม ถึงวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2568 มีผู้ข้าร่วมกิจกรรมกว่าสองพันคนโดยรวบรวมเอกสารข้อคิดเห็น ไว้ เพื่อเสนอต่อคณะกรรมาธิการ วิสามัญร่างพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติเพื่อบัญญัติในสาระสำคัญของร่างพ.ร.บการศึกษาแห่งชาติตามที่ครูและบุคลากรทางการศึกษาเรียกร้องต่อไป การจัดทำ ร่างพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติครั้งนี้ควรเน้นที่เด็ก นักเรียน นักศึกษา ประชาชน ได้รับประโยชน์อย่างแท้จริง มีการปฏิรูปการเรียนรู้ที่สถานศึกษา และห้องเรียนอย่างจริงจัง เพื่อขับเคลื่อนให้การพัฒนาคุณภาพการศึกษา เป็นวาระแห่งชาติตลอดจนการใช้การศึกษา เป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาประเทศชาติ ต่อไป ////

ให้คะแนนบทความนี้

กรุณาเลือกจำนวนดาว

คะแนนค่าเฉลี่ย 5 / 5. จำนวนผู้ให้คะแนนโวต 2

ยังไม่มีผู้ให้คะแนนบทความนี้

Sending
User Review
0 (0 votes)

Leave a Reply

Translate »