เปิดงานประเพณีแข่งเรือจังหวัดน่าน ชิงถ้วยพระราชทานฯ(ทานสลากภัตวัดพระธาตุข้างค้ำ วรวิหาร) ประจำปี 2567

0
(0)
image_print


เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2567 เวลา 09.00 น. ณ บริเวณกองอำนวยการแข่งเรือ (ปะรำพิธี)เชิงสะพานพัฒนาภาคเหนือ อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน นายเทวา ปัญญาบุญ รองผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน เป็นประธานพิธีเปิดงานประเพณีแข่งเรือจังหวัดน่าน ชิงถ้วยพระราชทานฯ(ทานสลากภัตวัดพระธาตุข้างค้ำ วรวิหาร) ประจำปี 2567 โดยมีนายสุรพล เธียรสูตร นายกเทศมนตรีเมืองน่าน กล่าวรายงาน งานประเพณีแข่งเรือจังหวัดน่าน เป็นประเพณีที่เก่าแก่สืบทอดกันมาแต่โบราณกาล ถือได้ว่างานประเพณีแข่งเรือ แสดงถึงวิถีชีวิตจิตใจของชาวจังหวัดน่าน ที่ผูกพันกับแม่น้ำน่านมาแต่ในอดีตโดยแท้จริงโดยเฉพาะเรือแข่งของจังหวัดน่าน มีเอกลักษณ์ที่โดดเด่นสวยงาม และแตกต่างจากเรือแข่งของจังหวัดอื่นๆ คือ หัวเรือเป็นรูปพญานาคชูคอสง่าอ้าปากเขี้ยวงอโง้งงอนสูง ลำตัวสลักลายสวยงาม อย่างวิจิตรพิสดารการแข่งเรือเมืองน่าน ยังเป็นต้นแบบของการแข่งเรือปลอดเหล้า-เบียร์ และเหนือสิ่งอื่นใด ด้วยพระมหากรุณาธิคุณเป็นอเนกอนันต์สำหรับพสกนิกรชาวจังหวัดน่าน ได้รับพระราชทานถ้วย สำหรับรางวัลชนะเลิศการแข่งเรือ จากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทั้ง๕ ประเภท ได้แก่

  1. ประเภทเรือใหญ่ ฝีพายตั้งแต่48-55คน
  2. ประเภทเรือกลาง ฝีพายตั้งแต่ 35 – 40 คน
  3. ประเภทเรือเล็ก ฝีพายตั้งแต่ 25 – 30 คน
  4. ประเภทเรือแบบโบราณ ฝีพายตั้งแต่ 25 – 35คน
  5. ประเภทเรือเอกลักษณ์น่าน ฝีพายตั้งแต่ 30 – 38 คน
    สำหรับในปี 2567 นี้ มีเรือเข้าร่วมการแข่งขัน จำนวน 28 แยกเป็น5 ประเภท คือ
  6. ประเภทเรือใหญ่ จำนวน 4 ลำ
  7. ประเภทเรือกลาง จำนวน 7 ลำ
  8. ประเภทเรือเล็ก จำนวน 6ลำ
  9. ประเภทเรือแบบโบราณ จำนวน 3 ลำ
  10. ประเภทเรือเอกลักษณ์น่าน จำนวน 8 ลำ
    @@@@@@@@@@@@

ประสิทธิ์ สองเมืองแก่น จ.น่าน

คิวภาพ ภาพพระยาลักษณ์พร้อมถ้วยพระราชทาน มอบเงินช่วยกิจกรรม ประทานพิธี ผู้ประกาศผู้ร่วมงาน นายกกล่าวรายงาน ประธานกล่าวเปิด ที่ฆ้อง เรือที่เข้าแข่ง บรรยากาศการแข่งขันเป็นภาพสุดท้าย

ให้คะแนนบทความนี้

กรุณาเลือกจำนวนดาว

คะแนนค่าเฉลี่ย 0 / 5. จำนวนผู้ให้คะแนนโวต 0

ยังไม่มีผู้ให้คะแนนบทความนี้

Sending
User Review
0 (0 votes)

Leave a Reply

Translate »