ผู้ว่าฯแพร่ ร่วมกับ ผู้ว่า 76 จังหวัดพร้อมบูรณาการภาคส่วนเกี่ยวข้องสานต่อหลักการพัฒนายั่งยืนเชิงพื้นที่รับนโยบาย “อนุทิน” ปาฐกถาพิเศษโครงการความร่วมมือมหาดไทย UNDP และ EU นำร่อง 15 จังหวัด

5
(1)
image_print

วันที่ 21 มิถุนายน 2567 เวลา 13.30 น. นายชุติเดช มีจันทร์ ผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ เข้าพิธีปิดและรับฟังปาฐกถาพิเศษโครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งการนำเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนไปปฏิบัติในเชิงพื้นที่ “SDGs Localization: Thailand’s Journey Towards Sustainability” ที่ห้องประชุม ESCAP Hall ชั้น 2 ศูนย์ประชุมสหประชาชาติ ถนนราชดำเนินนอก กรุงเทพมหานคร เพื่อประกาศความสำเร็จการดำเนินโครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งการนำเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนไปปฏิบัติในเชิงพื้นที่ ใน 15 จังหวัดนำร่อง และเน้นย้ำถึงความตระหนักรู้และขีดความสามารถ เพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในระดับท้องถิ่นบนพื้นฐานความร่วมมือของหน่วยงานภาครัฐและภาคส่วนอื่นๆ โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดทั่วประเทศ และผู้แทนฯ จากจังหวัดต่างๆ เข้าร่วมพิธีดังกล่าว

นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ปาฐกถาพิเศษ โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) และสหภาพยุโรป ภายใต้โครงการการเสริมสร้างความเข้มแข็งการนำเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนไปปฏิบัติเชิงพื้นที่ (SDGs Localization) ในประเทศไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อเร่งผลักดันการขับเคลื่อน SDGs ในระดับท้องถิ่นให้มากยิ่งขึ้น โดยมีกรอบการทำงานในระยะแรกของโครงการใน 15 จังหวัดนำร่อง ประกอบด้วย กรุงเทพมหานคร เชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ตาก อุดรธานี นครราชสีมา อุบลราชธานี เพชรบุรี สุราษฎร์ธานี ภูเก็ต สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส

นายอนุทิน กล่าวว่า กระทรวงมหาดไทยยังตระหนักถึงความท้าทายต่อผลกระทบที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) ในประเทศไทย และประเทศในภูมิภาคอาเซียน ซึ่งกำลังได้ผลกระทบอย่างหนักและถูกวิเคราะห์ว่าจะได้รับผลกระทบรุนแรงในอนาคตจึงร่วมกับผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัด และผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นริเริ่มโครงการจัดการขยะ โดยเริ่มจากการคัดแยกขยะในชุมชนจนมาสู่การพัฒนารูปแบบจัดตั้งธนาคารขยะ ซึ่ง UNDP ได้เห็นความสำคัญ และมีโครงการความร่วมมือต่อเนื่อง ด้วยการพัฒนาวางมาตรฐานและยกระดับคู่มือการดำเนินงานธนาคารขยะให้มีมาตรฐานระดับสากล ตามเป้าหมายที่เราตั้งไว้ คือ “การจัดตั้งธนาคารขยะครบทุกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น” ซึ่งความร่วมมือนี้เป็นหนึ่งในความพยายามของเราที่จะมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน ภายในปี ค.ศ. 2050 และให้มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero)ภายในปี ค.ศ. 2065

“ความริเริ่มนี้ทุกชุมชนได้รับประโยชน์จากการบริหารจัดการขยะและสิ่งแวดล้อม นำขยะเปลี่ยนเป็นมูลค่าหมุนเวียนกลับไปพัฒนาชุมชน รวมถึงเป็นแหล่งเงินทุนสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชน เป็นการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกโดยใช้เทคโนโลยี คิดคำนวณคาร์บอนเครดิต ซึ่งในขณะนี้เราได้ทำทุกวิถีทางเพื่อที่จะให้ผู้ประกอบการได้ประกอบธุรกิจหรือผลิตสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เรามี Goals ที่จะทำให้โลกสะอาดขึ้น คุณภาพชีวิตของคนดีขึ้น คนมีอายุยืนยาวอย่างมีคุณภาพมากขึ้น” นายอนุทิน กล่าว

ให้คะแนนบทความนี้

กรุณาเลือกจำนวนดาว

คะแนนค่าเฉลี่ย 5 / 5. จำนวนผู้ให้คะแนนโวต 1

ยังไม่มีผู้ให้คะแนนบทความนี้

Sending
User Review
0 (0 votes)

Leave a Reply

Translate »