การประชุมหารือ นายแพทย์ทศพรเสรีรักษ์ ประธานกรรมาธิการการสาธารณสุขสภาผู้แทนราษฎร กับ พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และ นายสิริพงศ์ อังคสกุลเกียรติ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงศึกษาธิการ

5
(1)
image_print

ที่กระทรวงศึกษาธิการ

สืบเนื่องจาก เมื่อวันที่ 9 เมษายน 2567 เวลา 11.20 น. ณ บริเวณโถงกลาง ตึกบัญชาการ 1
ทำเนียบรัฐบาล ภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวถึงเรื่องบุหรี่ไฟฟ้า ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันดำเนินการปราบปรามจับกุมผู้ลักลอบนำเข้าและจำหน่ายอย่างจริงจังและเด็ดขาด โดยบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด และให้กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ร่วมกัน
ออกมาตรการป้องกัน เช่น การรณรงค์เรื่องของโทษของบุหรี่ไฟฟ้า การสร้างการตระหนักรู้ถึงกฎหมายเกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้า รวมถึงจัดให้มีมาตรการตรวจตราที่เข้มงวดโดยเฉพาะสถานศึกษา และในการจำหน่ายและใช้บุหรี่ไฟฟ้าในกลุ่มเยาวชน

เครือข่ายครูเพื่อโรงเรียนปลอดบุหรี่ แจ้งกำหนดการเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผลการดำเนินงาน Gen 4 ภาค “ร่วมปกป้องเด็กและเยาวชนจากบุหรี่ไฟฟ้า”ระหว่างวันที่ 27 – 28 พฤษภาคม 2567 ณ โรงแรมเอเชีย กรุงเทพมหานคร จัดโดย มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ ร่วมและสนับสนุนโดย สสส.

ประธาน กรรมาธิการการสาธารณสุข ให้ข้อเสนอแนะในการทำงานเชิงรุกในโรงเรียน เช่น จัดนิทรรศการ สัมมนา โดยอาจเริ่มต้นที่โรงเรียนสวนกุหลาบ และโรงเรียนโดยรอบ ซึ่งไม่จำกัดเพียงแค่เรื่องบุหรี่ไฟฟ้าเท่านั้น รวมเรื่องสุขภาพด้านอื่นด้วย เช่น สุขภาพจิต ยาเสพติด เป็นต้น

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการให้คำแนะนำว่า เบื้องต้นควรทำความร่วมมือกับสำนักงานตำรวจ
แห่งชาติ เพื่อจัดการผู้ขาย บังคับใช้บทลงโทษทางกฎหมาย ปราบปรามอย่างจริงจัง ลงข่าวให้เห็นเป็นตัวอย่าง

สำหรับกิจกรรมในโรงเรียนเป็นหน้าที่ของผู้บริหารสถานศึกษาดำเนินการได้ตามความพร้อม โดยมีข้อควรระวัง คือกิจกรรมแฝงที่เป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคง

ควรมีกฎหมายโดยตรง เรื่อง บุหรี่ไฟฟ้า
ให้ผู้ปฏิบัติทำงานได้อย่างถูกต้อง โดยหากต้องการความช่วยเหลือด้านการออกกฎหมายเชิญเข้าไปหารือกับพรรคภูมิใจไทย ซี่งประธาน กมธ.สธ. จะประสานกับท่านสิริพงศ์ อังคสกุลเกียรติ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงศึกษาธิการโดยตรง

ที่ประชุมจึงมีข้อเสนอร่วมกัน ดังนี้

  1. เร่งให้ความรู้ เรื่อง บุหรี่ไฟฟ้า กับครู ผู้ปกครอง และนักเรียน แบบเป็นทางการและไม่เป็น
    ทางการ (หาวิธีให้ความรู้ในรูปแบบใหม่)
  2. จัดกิจกรรมหรือตั้งชมรมในโรงเรียน โดยให้นักเรียนมีส่วนร่วม เช่น ประกวดคลิปรณรงค์เรื่องบุหรี่ไฟฟ้า สติกเกอร์ไลน์ เป็นต้น
  3. ฝึกอบรมครู และนักเรียนแกนนำทั่วประเทศ โดยใช้งบประมาณจาก สสส. เพื่อสร้าง Node แล้ว
    กระจายความรู้ออกไป
  4. มีนักศึกษาแพทย์ที่พร้อมจะทำงาน

ให้คะแนนบทความนี้

กรุณาเลือกจำนวนดาว

คะแนนค่าเฉลี่ย 5 / 5. จำนวนผู้ให้คะแนนโวต 1

ยังไม่มีผู้ให้คะแนนบทความนี้

Sending
User Review
0 (0 votes)

Leave a Reply

Translate »