กองพลทหารราบที่ 7 ขานรับนโยบายกองทัพบกและกองทัพภาคที่ 3 ในการลดปัญหาไฟป่าและหมอกควันในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดลำพูน โดยการนำ“เสวียน”มาใช้ในค่ายทหาร เพื่อเก็บใบไม้ที่หล่นร่วงบริเวณค่าย ซึ่งมีเนื้อที่กว่า 1,800 ไร่ ทำให้แต่ละวันจะมีปริมาณใบไม้เป็นจำนวนมาก โดยใบไม่เหล่านี้สามารถนำมาเป็นปุ๋ยหมัก ปุ๋ยอินทรีย์ใช้ในการทำการเกษตรในโครงการทหารพันธุ์ดีและศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของกองพลทหารราบที่ 7 ได้ ซึ่งเป็นการลดรายจ่ายในการซื้อปุ๋ยของหน่วยได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังเป็นการลดการเผา แก้ปัญหาหมอกควันไฟป่าในจังหวัดได้อีกทางหนึ่งด้วย อย่างไรก็ตามในทุกๆเช้ากำลังพลของหน่วยจะกวาดใบไม้เศษหญ้าเพื่อจะนำเอาใบไม้เหล่านี้เทลงในเสวียน เป็นการนำใบไม้มารวมกันที่บริเวณโคนต้นไม้ที่มีขนาดใหญ่ ให้เหมาะกับปริมาณใบไม้ที่มีจำนวนมาก เพื่อไม่ให้ใบไม้ฟุ้งกระจาย โดย ดินทรายที่ปะปนไปก็จะค่อยไหลออกจากร่องไม้ไผ่สาน เหลือแต่ใบไม้ที่ทับถมจนเต็ม จากนั้นจะใช้น้ำยา EM ช่วยในการหมักของใบไม้ในแต่ละวัน เพื่อสามารถย่อยสลายกลายเป็นปุ๋ยหมักของต้นไมเสวียนจึงเป็นอุปกรณ์ที่ทำจากไม้ไผ่สานต่อกันตามขนาดเล็กและใหญ่ เพื่อนำมาวางล้อมบริเวณโคนต้นไม้ การสานเสวียน เริ่มจากเหลาไม้ไผ่สดเป็นเส้นหนาๆ แล้วสานขึ้นลงเป็นตะแกรงง่ายๆ จะแน่นจะหลวมแล้วแต่ขนาดของต้นไม้แต่ละต้นที่เราจะวาง เมื่อได้เป็นแผ่นสูงพอประมาณ ก็จะเอาไปขดล้อมต้นไม้ ซึ่งวัตถุประสงค์หลักของการทำ“เสวียน”เพื่อเอาไว้เก็บเศษใบไม้ที่จะใช้ทำปุ๋ย
ทั้งนี้การใช้“เสวียน”เป็นวิธีการง่ายๆที่คนในชุมชนสามารถนำมาใช้ เพื่อเป็นการลดการเผาในพื้นที่โล่งหรือการเผาขยะเศษวัชพืชทางการเกษตรถือว่าเป็นการใช้ภูมิปัญญาในการแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควัน ในพื้นที่ได้เป็นอย่างดี