หน่วยงานราชการจังหวัดเชียงราย ร่วมกับ บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย(ลำปาง) จำกัด หารือข้อราชการเกี่ยวกับการขับเคลื่อนโครงการลดการเผาวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร (ZERO BURN) พร้อมกัน ตามที่กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 2 ได้มีการผลักดันประเด็นงดการเผาในพื้นที่เกษตรและในพื้นที่โล่ง

0
(0)
image_print

เชียงราย/ที่ห้องรับรองสำนักงานผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย ศาลากลางจังหวัดเชียงราย ตำบลริมกก อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย นายประจญ ปรัชญ์สกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย ให้การต้อนรับนายวรการ พงษ์ศิริกุล ผู้อำนวยการโรงงานปูนลำปาง บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย(ลำปาง) จำกัด พร้อมคณะผู้บริหาร โดยมี นายธรรมนูญ แจ่มศรี เกษตรและสหกรณ์จังหวัดเชียงราย นายนาวิน อินทจักร เกษตรจังหวัดเชียงราย นายกฤษณะ พินิจ หัวหน้าสำนักงานจังหวัดเชียงราย และนางสาวปัทมาภรณ์ จันทรคณา ศรีสวัสดิ์ ผู้อำนวยการกลุ่มงานบริหารยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 2 รักษาการในตำแหน่ง หัวหน้ากลุ่มงานยุทธศาสตร์การพัฒนาภาคเหนือร่วมหารือ

โดยการพบปะสนทนาในครั้งนี้ เป็นการหารือข้อราชการเกี่ยวกับการขับเคลื่อนโครงการลดการเผาวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร (ZERO BURN) พร้อมกัน ตามที่กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 2 ได้มีการผลักดันประเด็นงดการเผาในพื้นที่เกษตรและในพื้นที่โล่ง ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดมลพิษทางอากาศ (ฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5) ในพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 2 ซึ่งได้ประกาศยกระดับให้เป็นวาระสำคัญของกลุ่มจังหวัด และได้ขอความอนุเคราะห์ให้บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) มามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา ด้วยการรับซื้อวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรในพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 2 ได้แก่ จังหวัดเชียงราย จังหวัดพะเยา จังหวัดแพร่ และจังหวัดน่าน สำหรับใช้เป็นเชื้อเพลิงทางเลือกเพิ่มเติม ในกระบวนการผลิตของทางบริษัท และเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรในการจัดการวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรทดแทนการเผา
โดยบริษัท ปูนซิเมนต์ไทย (ลำปาง) จำกัด มีความยินดีที่จะให้ความรวมมือในโครงการลดการเผาวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร (ZERO BURN) โดยการรับซื้อวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร รวมถึงให้คำแนะนำวิธีการรวมกลุ่มบูรณาการ รวบรวมฟางข้าวอัดก้อนให้เกิดขึ้นในชุมชน เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม โดยการนำไปใช้ประโยชน์อย่างต่อเนื่อง เช่น เป็นอาหารสัตว์ ปุ๋ยหมัก เชื้อเพลิงทางเลือก เป็นต้น
อีกทั้ง ยังเป็นการสร้างรายได้เสริมให้กับพี่น้องเกษตรกรและประชาชนในพื้นที่ โดยโครงการนี้ จัดเป็นการนำร่องโครงการดังกล่าวขึ้นที่จังหวัดเชียงรายเป็นแห่งแรก คือ แม่จัน Model และมีแผนการดำเนินโครงการขยายผลลงไปในกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 2 ให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ต่อไป


ภาพ/ข่าว.นิวัตร ธาตุอินจันทร์ รายงาน

ให้คะแนนบทความนี้

กรุณาเลือกจำนวนดาว

คะแนนค่าเฉลี่ย 0 / 5. จำนวนผู้ให้คะแนนโวต 0

ยังไม่มีผู้ให้คะแนนบทความนี้

Sending
User Review
0 (0 votes)

Leave a Reply

Translate »