ตำรวจกองบังคับการสืบสวนภูธรภาค 5 จับสาวแสบ ฉ้อโกงประชาชนโดยทุจริต หรือโดยหลอกลวง นำเข้าสู่ข้อมูลระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลอันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ประชาชน

0
(0)
image_print

เมื่อเวลา 11.45 น.วันที่ 29 ธ.ค.63 ที่ศูนย์ปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ ตำรวจภูธรภาค 5 พล.ต.ต.วีรชน บุญทวี ผบก.สส.ภ.5 พ.ต.อ.ธวัชชัย พงษ์วิวัฒนชัย รอง ผบก.สส.ภ.5 ได้ทำการจับกุมตัวนางสาวจิรา(ปิดนามสกุล) อายุ 29 ปี อยู่หมู่ 12 ต.หลุมรัง อ.บ่อพลอย จ.กาญจนบุรี ผู้ต้องหาตามหมายจับ จำนวน 7 หมายจับหมายจับศาลจังหวัดเชียงใหม่ ที่ 712/2563 ลงวันที่ 25 ธันวาคม 2563 ข้อหา “ฉ้อโกงประชาชนและโดยทุจริต หรือโดยหลอกลวง นำเข้าสู่ข้อมูลระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลอันบิดเบือนหรือปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือโดยข้อมูลอันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหาย แก่ประชาชน ” หมายจับศาลจังหวัดอ่างทอง ที่ 44/2563 ลงวันที่ 10 เมษายน 2563 ข้อหา ฉ้อโกงประชาชนโดยทุจริต หรือโดยหลอกลวง นำเข้าสู่ข้อมูลระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลอันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ประชาชน หมายจับศาลจังหวัดปราจีนบุรี ที่ 116/2559 ลงวันที่ 10 สิงหาคม 2559 ข้อหา ฉ้อโกง คดี สภ.เมืองปราจีนบุรี หมายจับศาลจังหวัดสุพรรณบุรี ที่ 136/2562 ลงวันที่ 29 พฤษภาคม 2562 ข้อหา ฉ้อโกง ประชาชนโดยทุจริต หรือโดยหลอกลวง นำเข้าสู่ข้อมูลระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลอันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ประชาชน เอาไปซึ่งเอกสารของผู้อื่นในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน และใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์ของผู้อื่น ซึ่งใช้สำหรับถอนเงินสด โดยมิชอบ ในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน หมายจับศาลแขวงดุสิต ที่ 146/2559 ลงวันที่ 10 เมษายน 2559 ข้อหา ฉ้อโกง หมายจับศาลจังหวัดขอนแก่น ที่ 214/2562 ลงวันที่ 11 กรกฎาคม 2562 ข้อหา ร่วมกันฉ้อโกงประชาชน โดยแสดงตนเป็นบุคคลอื่น และร่วมกันกระทำโดยทุจริตหรือหลอกลวง นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ที่บิดเบือน หรือปลอมไม่ว่าทั้งหมด หรือแต่บางส่วน หรือข้อความคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ประชาชน หมายจับศาลแขวงพระนครเหนือ ที่ 1440/2556 ลงวันที่ 12 พฤศจิกายน 2556 ข้อหา ฉ้อโกง

การจับกุมครั้งนี้สืบเนื่องมากจากที่จังหวัดเชียงใหม่ได้มีการจัดคอนเสริตใหญ่มีศิลปินมากมายระดับประเทศกว่า50ชีวิตมาแสดง ก่อนที่จะมีคนร้ายทำการโพสต์ขายบัตรคอนเสริตดังกล่าวทางทวิตเตอร์ และอินสตาแกรม นักเรียนนักศึกษาที่หวังจะไปดูศิลปินที่ตัวเองชื่นชอบ โอนเงินไปซื้อบัตรดังกล่าว แต่เมื่อคนร้ายได้เงินไปแล้วก็เชิดเงินหนีหาย จนทำให้กลุ่มนักศึกษาจำนวนมากแห่แจ้งความที่ สภ. ต่างๆในจังหวัดเชียงใหม่ต่อมาชุดสืบสวนได้แกะรอยคนร้ายที่ก่อเหตุโดยติดตามจากข้อมูลในระบบโซเชียล กระทั่งพบว่าผู้ต้องหาคือนางสาวจิราภา ซึ่งเคยถูกจับกุมและดำเนินคดีในข้อหาลักษณะเดียวกันเมื่อปี 2559 จนถูกจำคุกก่อนพ้นโทษออกมา และกลับมาก่อเหตุซ้ำต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2561 จนถึงปัจจุบันโดยพบว่าผู้ต้องหารายนี้มีหมายจับถึง 7 คดี ตั้งแต่ปี 2559 จนถึง 2563 ในพื้นที่ จังหวัดอ่างทอง , จังหวัดปราจีนบุรี , จังหวัดสุพรรณบุรี , จังหวัดข่อนแก่น และกรุงเทพมหานคร อีก 2 หมาย จึงได้ขอศาลออกหมายจับและไปจับกุมตัวไว้ได้ที่ จังหวัดสุพรรณบุรี ก่อนจะนำตัวมาสอบสวน

ด้านนางสาวจิรา (ปิดนามสกุล) ผู้ต้องหารับสารภาพว่าตนเองจะขายบัตรคอนเสิร์ตโดยใช้กลวิธีโพสต์ขายในโซเชียล ขณะเดียวกันก็จะเปิดบัญชีเฟซบุ๊กปลอมขึ้นมา เพื่อโพสต์ปล่อยเงินกู้ออนไลน์ โดยจะให้ลูกค้าที่สนใจส่งข้อมูลเลขที่บัญชีมาให้ พร้อมลงทะเบียนข้อมูลส่วนตัว จากนั้นจะนำข้อมูลดังกล่าวมาลงทะเบียนเปิดแอปพลิเคชั่นของธนาคารผู้เสียหาย หากมีคนสนใจซื้อบัตรคอนเสิร์ตและโอนเงินมา ก็จะให้โอนเข้าบัญชีของผู้ที่ต้องการกู้เงินออนไลน์ พร้อมกับล่อลวงทางโทรศัพท์กับผู้เสียหายที่จะกู้เงินส่งรหัส OTP มาให้ จากนั้นตนจะเข้าไปทำธุรกรรมในแอปพลิเคชั่นของธนาคาร และเมื่อได้รหัสกดเงินก็จะรีบกดเงินออกจากบัญชีทางตู้เอทีเอ็มทันที

ยอมรับว่าหลังพันคุกก็ไม่อยากทำผิดอีกเพราะเข็ดหลาบแล้ว แต่เกิดการแพร่ระบาดของโควิด 19 ทำให้ครอบครัวตกงานกันทั้งบ้าน และตนเองยังตั้งท้องด้วย จึงต้องกลับมาทำ และพยายามเปลี่ยนชื่อบัญชีในเฟซบุ๊ก รวมทั้งย้ายที่อยู่ไปเรื่อยๆ เพราะรู้ว่าถูกตำรวจตามจับอยู่ โดยสาเหตุที่จำเป็นต้องกลับมาทำผิดซ้ำอีกเพราะต้องหาเงินเลี้ยงลูกวัย 2 เดือนที่ผ่านมามีผู้เสียหายหลงเชื่อประมาณ 50 – 60 ราย แต่ละคอนเสิร์ตจะได้เงินประมาณ 5 – 6 หมื่นบาท รวมมูลค่าความเสียหายไม่ต่ำกว่า 7 แสนบาท โดยหลังถูกจับก็พยายามเจรจากับผู้เสียหายเพื่อทยอยคืนเงินให้แล้ว
ด้านล.ต.ต.วีรชน บุญทวี ผบก.สส.ภ.5 กล่าวว่า คดีนี้ชุดสืบสวน ได้ใช้ความสามารถด้านเทคโนโลยีในการสืบสวน กระทั่งสามารถจับกุมผู้ต้องหาได้ จึงขอฝากเตือนประชาชนอย่าหลงเชื่อบุคคลแปลกหน้าให้ข้อมูลส่วนตัว โดยเฉพาะเลขที่บัญชี และรหัส OTP อย่างเด็ดขาดเพราะอาจตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพออนไลน์ได้และควรระมัดระวังการทำธุรกรรมเกี่ยวกับการเงินต่างๆ เช่น การกรอกข้อมูลส่วนตัวผ่านทางเว็ปลิ้ง ที่อ้างเป็นธนาคาร และการมอบสมุดบัญชีพร้อมบัตรอิเล็กทรอนิกส์ให้กับผู้อื่น หรือผู้ปล่อยเงินกู้ ตามเพจต่างๆ ที่ให้เงินกู้ออนไลน์ อีกทั้งในการซื้อขายของผ่านระบบอินเตอร์เน็ต ควรตรวจสอบดูรีวิวและความน่าเชื่อถือของเพจหรือเว็บไซด์ที่จะซื้อให้ดีก่อนตัดสินใจซื้อสินค้า

ภาพ/ข่าว.นิวัตร ธาตุอินจันทร์ เชียงใหม่

ให้คะแนนบทความนี้

กรุณาเลือกจำนวนดาว

คะแนนค่าเฉลี่ย 0 / 5. จำนวนผู้ให้คะแนนโวต 0

ยังไม่มีผู้ให้คะแนนบทความนี้

Sending
User Review
0 (0 votes)

Leave a Reply

Translate »