จังหวัดแพร่ติดตามการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้ง ไฟป่า หมอกควัน และฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ปี 2565 พื้นที่อำเภอเมืองแพร่

4
(1)
image_print

วันนี้(25 มค 65)เวลา 13:30 น ณ ห้องประชุมที่ว่าการอำเภอเมืองแพร่นายสมหวัง พ่วงบางโพ ผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่เป็นประธานการประชุมคณะทำงานระดับจังหวัดปี 2565 เพื่อติดตามการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้ง ไฟป่าหมอกควันและฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 เพื่อรับทราบผลการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้งไฟป่าหมอกควันและฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ของอำเภอเมืองแพร่

สรุปมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้งของอำเภอเมืองแพร่ปี 2565 มีกรอบแนวคิดในการบริหารจัดการสถานการณ์ไฟป่าหมอกควันและภัยแล้งปี 2565 ใช้หลัก 4 M ได้แก่การบริหารจัดการ (management) การจัดการด้านกำลังคน (Man) การบูรณาการงบประมาณ(Money)และการจัดหาวัสดุอุปกรณ์(Materials)
สำหรับการเตรียมการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้งในพื้นที่อำเภอเมืองแพร่มีการจัดตั้งศูนย์บัญชาการเหตุการณ์ระดับอำเภอและตำบล เพื่อประชุมปรับแผนและประสานงาน อปท. ทุกพื้นที่ ซ่อมแซมอุปกรณ์กักเก็บน้ำ เตรียมแจกจ่ายให้ประชาชนในแต่ละพื้นที่ประสบภัย สร้างแหล่งกักเก็บน้ำหรือทำนบกระสอบทรายจำนวน 11 จุด สร้างแหล่งกักเก็บน้ำหรือซอยซีเมนต์จำนวน 2 จุด รถบรรทุกน้ำ 24 คัน จากทุก อปท. เตรียมพร้อมแจกจ่ายทั้งน้ำอุปโภค บริโภค เตรียมเครื่องสูบน้ำจำนวน 20 เครื่อง ประชาสัมพันธ์การปลูกพืชและรณรงค์การใช้น้ำอย่างประหยัด จัดทำฝายชะลอน้ำ เพื่อบรรเทาภัยแล้งใน 9 ตำบล จำนวน 153 จุดดำเนินการแล้ว 88 จุด กรณีการเตรียมรับมือขณะเกิดเหตุสั่งการให้ศูนย์บัญชาการเหตุการณ์ระดับตำบล ติดตั้งเครื่องสูบน้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติไปยังแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร หรือแหล่งน้ำผลิตประปา ประสานจังหวัดขอเครื่องจักรกลเพิ่มเติมจากสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดแพร่ รวบรวมปัญหาและรายงานจังหวัดทราบตามลำดับ

แนวทางการบริหารจัดการสถานการณ์ไฟป่าหมอกควันและฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ของอำเภอเมืองแพร่ ประจำปี 2565 กำหนดมาตรการเชิงพื้นที่ 4 พื้นที่ ได้แก่พื้นที่ป่า พื้นที่ทางการเกษตร พื้นที่ริมทาง พื้นที่ชุมชนหรือพื้นที่เขตเมือง มีมาตรการบริหารจัดการ 6 ด้านได้แก่ด้านระบบบัญชาการเหตุการณ์ระบบ Single Command การสร้างความตระหนัก การดำเนินงานเชิงรุกกับกลุ่มพื้นที่เสี่ยง แนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาการเกิดไฟป่าและหมอกควันฝุ่นละออง PM 2.5 โดยได้จัดตั้งศูนย์บัญชาการเหตุการณ์ระดับอำเภอ ระดับตำบล จัดทำข้อมูลกลุ่มเสี่ยง 10 ตำบล ใน 22 หมู่บ้าน อบรมกลุ่มเสี่ยง 10 ตำบล 100 คน เพื่อจัดชุดลาดตระเวนเฝ้าระวัง แต่งตั้งชุดเคลื่อนที่เร็วประจำอำเภอ 1 ชุดจำนวน 15 นาย ชุดเฉพาะกิจประจำตำบลจำนวน 19 ชุด จัดทำฝายจำนวน 153 จุด การดำเนินการระดับหมู่บ้าน เขตพื้นที่เสี่ยงภัย 43 จุด คอยสังเกตการณ์ ประสานงานเฝ้าระวังภัย ดำเนินการเชิงรุกในกลุ่มเสี่ยงมีพฤติกรรมชอบเผาพื้นที่ทางการเกษตรผ่านการรณรงค์และขอความร่วมมือตั้งจุดคัดกรองการเดินทางเข้า ออกพื้นที่ป่าจำนวน 6 จุดอย่างเคร่งครัดและประสานผู้นำท้องที่ประชาสัมพันธ์ผ่านหอกระจายข่าวทั้ง 166 หมู่บ้าน แต่งตั้งชุดเฉพาะกิจประจำหมู่บ้านพร้อมตั้งกลุ่มไลน์ เพื่อแจ้งเหตุประสานงานระดับตำบล อำเภอ จัดทำแนวกันไฟในพื้นที่เสี่ยงภัย 43 หมู่บ้านๆ ละ 3 กิโลเมตร รวม 129 กิโลเมตร การเตรียมรับมือขณะเกิดภัย กรณีเกิดความร้อน Hotspot ให้หน่วยงานที่รับผิดชอบในแต่ละพื้นที่นั้นๆ ร่วมมือกับพื้นที่ใกล้เคียงร่วมบูรณาการแผนปฏิบัติงาน หากเกินขีดความสามารถให้แจ้งศูนย์บัญชาการเหตุการณ์ระดับอำเภอตามลำดับ /.

ให้คะแนนบทความนี้

กรุณาเลือกจำนวนดาว

คะแนนค่าเฉลี่ย 4 / 5. จำนวนผู้ให้คะแนนโวต 1

ยังไม่มีผู้ให้คะแนนบทความนี้

Sending
User Review
0 (0 votes)

Leave a Reply

Translate »