วันนี้(13ม.ค.65) เวลา 09.30 น. ที่หอประชุมที่ว่าการอำเภอลอง จังหวัดแพร่ผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่มอบหมายให้ นายวิเชียร อนุสาสนนันท์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่เป็นประธานนำคณะทำงานระดับจังหวัดลงพื้นที่ติดตามการเตรียมความพร้อมการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้ง ไฟป่า หมอกควัน และฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ประจำปีงบประมาณ 2565 ของอำเภอลอง เพื่อรับทราบการเตรียมความพร้อม ตลอดจนมาตรการในการป้องกันและการช่วยเหลือ ทั้งเรื่องของภัยแล้ง ไฟป่าหมอกควัน และฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5
นายจรินทร์ เก่งสงวนสิทธิ์ นายอำเภอลองกล่าวว่า ทางอำเภอลอง มีการเตรียมการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้ง ด้วยการตั้งศูนย์บัญชาเหตุการณ์ (ภัยแล้ง)อำเภอ และท้องถิ่น จัดทำแผนเผชิญเหตุภัยแล้ง แจ้งสถาการณ์น้ำประจำสัปดาห์เพื่อใช้ประกอบการบริหารจัดการน้ำในอ่างเก็บน้ำ สร้างการรับรู้ ให้ประชาชนประหยัดน้ำ ส่งเสริมปลูกพืชใช้น้ำน้อย ประสานแจ้งเตือนเกษตรกร สำราจสถานการณ์น้ำ/แหล่งกักเก็บน้ำ อำเภอลองมี อย่างเก็บน้ำ จำนวน 17 แห่ง ปัจจุบันมีน้ำกักเก็บประมาณ 80 %
อำเภอลองมีพื้นที่เสี่ยงภัยแล้ง ด้านน้ำอุปโภค-บริโภค แบ่งเป็นเฝ้าระวัง 54 หมู่บ้าน เสี่ยงปาน
กลาง 34 หมู่บ้าน และเสี่ยงมาก 2 หมู่บ้าน น้ำเพื่อการเกษตร 9 ตำบล (ข้อมูลจากเกษตรกรขึ้นทะเบียนพื้นที่ 6,974.15 ไร่ คาดการเสี่ยงขาดแคลนน้ำ 1,394 ไร่ ) มีการเตรียมทรัพยากรในเรื่องของ เครื่องสูบน้ำ สถานีสูบน้ำพลังงานไฟฟ้า บ่อบาดาล ระบบประปา แหล่งน้ำธรรมชาติ หน่วยการแจกจ่ายน้ำ รถบรรทุกน้ำ อปท. ในพื้นที่ และรถบรรทุกน้ำของ อบจ.แพร่ ที่จะมาสนับสนุนหากไม่เพียงพอ นอกจากนี้ยังได้ดำเนินการสร้างทำนบกระสอบทราย งบยับยั้ง/อปท. จำนวน 37 จุด (ลำน้ำยม 15 จุด ลำน้ำสาขา 22 จุด) , งบกลาง รายการเงินสำรองฯ ปีงบประมาณ พ.ศ. 64-65 จำนวน 5 โครงการ งบประมาณ 1,911,300 บาท , งบ อปท. ขุดเจาะบ่อบาดาล/ปรับปรุงระบบประปา 13 จุด , ขุดลอกลำห้วย 2 จุด และปรับปรุงฝ่ายชะลอน้ำ 1 จุด , งบกรมทรัพยากรน้ำบาดาล น้ำบาดาลเพื่ออุปโภค-บริโภค และเพื่อการเกษตร จำนวน 2 ตำบล 2 หมู่บ้าน
สำหรับการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าหมอกควัน อำเภอลอง ปี 2565 จัดตั้งศูนย์บัญชาการเหตุการณ์ อำเภอและท้องถิ่น กำหนดพื้นที่เสี่ยง 4 ตำบลคือตำบลเวียงต้า ต้าผามอก บ้านปิน และแม่ปาน พร้อมระดมสรรพกำลัง 2,994 นาย การเตรียมความพร้อมด้านอุปกรณ์และเครื่องมือ การปฏิบัติในการป้องกัน จัดชุดลาดตระเวนและทำแนวกันไฟ 67 หมู่บ้าน ระยะทาง 355 กิโลเมตร มีการประชาสัมพันธ์ผ่านหอกระจายข่าว , การอบรมให้ความรู้หมู่บ้าน/ชุมชน ในพื้นที่หมู่บ้านเสี่ยง , ลดปริมาณเชื้อเพลิงในการเผาไหม้ ส่งเสริมการสร้างรายได้จากเศษเหลือใช้ทางการเกษตร การส่งเสริมการใช้เตาเผาแบบไร้ควันแทนการใช้เตาแบบเดิม