พะเยา ธ.ก.ส. เริ่มจ่ายเงินประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2564/65 แล้ว

5
(1)
image_print

เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2564 ธ.ก.ส. เริ่มจ่ายเงินตามโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2564/65 รอบที่ 1 วงเงินกว่า 13,225 ล้านบาท แก่เกษตรกรผู้ปลูกข้าว 5 ชนิด ได้แก่ ข้าวเปลือกหอมมะลิ ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ข้าวเปลือกเจ้า ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี และข้าวเปลือกเหนียว
โดยวิธีโอนเงินเข้าบัญชีกษตรกรโดยตรง เริ่มวันแรก 9 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา ปัจจุบันได้โอนไป แล้วทั้งประเทศกว่า 619,969 ราย เป็นเงินกว่า 12,646 ล้านบาท
นายมาโนช บัวองค์ ผู้อำนวยการฝ่ายกิจการสาขาภาคเหนือตอนบน เปิดเผยว่า ตามมติ
คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2564 ซึ่งเสนอโดยกระทรวงพาณิชย์ เห็นชอบให้ ธ.ก.ส. ดำเนินโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2564/65 วงเงินรวม 13,225 ล้านบาท เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวและป้องกันความเสี่ยงด้านราคาไม่ให้ประสบปัญหาขาดทุน โดยประกันรายได้แก่เกษตรกรผู้ปลูกข้าว 5 ชนิด ได้แก่ ข้าวเปลือกหอมมะลิ ตันละ 15,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 14 ตัน ข้าวเปลือกหอมมะลินอกเขต ตันละ 14,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 16 ตัน ข้าวเปลือกเจ้า ตันละ 10.000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 30 ตัน ขั้วเปลือกหอมปทุมธานี ตันละ 11,000 บาทครัวเรือนละไม่เกิน 25 ต้น และข้าวเปลือกเหนียว ตันละ 12,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 16 ตัน
เริ่มจ่ายรอบแรกวันที่ 9 พฤศจิกายน 2564 ปัจจุบันมีเกษตรกร ใน 8 จังหวั
ได้รับประโยชน์ จำนวน 87,655 ครัวเรือน เป็นเงิน 988 ล้านบาทในจำนวน
เกษตรกรในจังหวัดพะเยา 4,195 ครัวเรือน จำนวนเงิน 54 ล้านบาท
สำหรับหลักเกณฑ์การจ่ายเงินประกันรายได้ เกษตรกรจะต้องขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าว
ปีการผลิต 2564/6 5 กับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และต้องแจ้งวันที่คาดว่าจะเก็บเกี่ยว เพื่อใช้เป็นข้อมูลช่วงเวลาที่เกษตรกรจะได้รับสิทธิชดเชย โดยกรมส่งเสริมการเกษตรจัดส่งข้อมูลการขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าว จำแนกตามช่วงเวลาที่เก็บเกี่ยวและคำนวณปริมาณผลผลิต โดยใช้พื้นที่ทั้งหมดที่ขึ้นทะเบียนปลูกข้าวแต่ละชนิดคูณผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่เป็นปริมาณผลผลิตที่ต้องชดเชย แต่ต้องไม่เกินปริมาณที่กำหนดไว้ข้างต้น ส่งให้ ธ.ก.ส. เพื่อเป็นข้อมูลในการจ่ายเงิน จากนั้น ธ.ก.ส. จะดำเนินการจ่ายเงินเข้าบัญชีเกษตรกรโดยตรง ภายใน 3 วัน นับจากวันที่ได้รับราคาเกณฑ์กลางอ้างอิงในแต่ละรอบจากคณะอนุกรรมการฯ
ซึ่งเกษตรกรสามารถตรวจสอบผลการโอนเงินได้ทางแอปพลิเคชัน ธ.ก.ส. A Mobile ตลอด 24 ชั่วโมง และจะมีข้อความแจ้งเตือนเงินเข้าบัญชีผ่าน LINE
Official BAAC Family กรณีที่ลูกค้าสมัครใช้บริการ BAAC Connect
ข่าวที่ 1/2564 นอกจากนี้ ยังได้เตรียมมาตรการคู่ขนานเพื่อชะลอการขายในช่วงที่ผลผลิตออกสู่ตลาดจำนวนมาก ซึ่งจะช่วยรักษาเสถียรภาพด้านราคาข้าว ประกอบด้วย (1) โครงการสินเชื่อชะลอการขายตันละ 1,500 บาท (2) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร
วเปลือกนาปี ปีการผลิต 2564/65 วงเงินสินเชื่อ 20,402 ล้านบาท พร้อมช่วยเหลื
ปีการผลิต 2564/65 วงเงินสินเชื่อ 15,000 ล้านบาท เพื่อให้สหกรณ์การเกษตร กลุ่มเกษตรกร
วิสาหกิจชุมชนและศูนย์ข้าวชุมชนรวบรวมข้าวเปลือกสำหรับการจำหน่ายหรือเพื่อการแปรรูป
โครงการซดเซยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต๊อก ปีการผลิต 2564/65 เพื่อเพิ่มสภาพ
คล่องให้กับผู้ประกอบการค้าข้าวในการดูดซับผลผลิต (4) โครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและ
พัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2564/65 เพื่อช่วยลดต้นทุนการผลิตให้แก่
เกษตรกร โดยจะได้รับเงินช่วยเหลือ ไร่ละ 1,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 20 ไร่ ในจังหวัดพะเยา
ได้มีเกษตรกรแสดงความสนใจเข้าร่วมโครงการชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2564/65
5,492 ตัน วงเงินสินเชื่อ 86.10 ล้านบาท และได้สนับสนุนสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่ม
โดยสถาบันเกษตรกร และโครงการสินเชื่อธุรกิจชุมชนสร้างไทย จำนวน 6 แห่ง วงเงินสินเชื่อ 441
ล้านบาท สามารถรวบรวมผลผลิตข้าวเปลือกได้ปริมาณ 51,800 ตัน
สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์
การเกษตร (ธ.ก.ส.) ทุกสาขาทั่วประเทศ
ธกส BAAC Thailand
@BAACFAMILY
ภาพ/ข่าว พรรณณีย์ มูลเทศ

ให้คะแนนบทความนี้

กรุณาเลือกจำนวนดาว

คะแนนค่าเฉลี่ย 5 / 5. จำนวนผู้ให้คะแนนโวต 1

ยังไม่มีผู้ให้คะแนนบทความนี้

Sending
User Review
0 (0 votes)

Leave a Reply

Translate »