หลายปีที่ผ่านมา จากวิกฤติยางพาราที่ราคาตกต่ำเหลือเพียง 3 กิโล 100 ในขณะที่”ลองกอง” ผลไม้ไม้ประจำถิ่น ที่ในอดีตเคยมีราคากิโล ละ 80-100 บาท หลายปีที่ผ่านมาเจ้าของสวนขายได้เพียง กิโลละไม่ถึง 10 บาท บางปีราคาตกต่ำไม่คุ้มค่าจ้างเก็บผลผลิต เจ้าของสวนท้อง “ทิ้งสวน” ให้คนกินฟรี หรือไม่ก็ ทิ้งให้เน่าคาต้น
โดยเกษตรกร โค่นทั้งสวนยางและสวนกองกองทิ้ง เพื่อหันมาปลูกทุเรียนกันมาขึ้น โดยเฉพาะเกษตรกรใน จ.ยะลา เนื่องจากพื้นที่ และสภาพอากาศเหมาะสมกับการปลูกทุเรียน ซึ่งในหลายปีที่ผ่านมา ทุเรียน ราชาแห่งผลไม้ ก็สร้าง กำไร ให้กับ เจ้าของสวน รายเล็ก รายใหญ่ อย่างเป็นกอบเป็นกำ และมีโรงงานอุตสาหกรรมทุเรียน อบแห้ง ทุเรียนแช่แข็งที่เป็นชองเอกชนจาก “สาธารณรัฐประชาชนจีน” มาตั้งโรงงานใน อ.เทพา จ.สงขลา เมื่อถึงฤดูที่ ผลผลิตทุเรียนออกสู่ตะลาด ก็จะมีการตั้งจุดรับซื้อ รวมทั้งมีบรรดา”ล้ง” จากนอกพื้นที่ มาตั้งจุดรับซื้อ ใน จ.ยะลา เป็นจำนวนมาก
แต่…ปีนี้ ผลพวงจากการระบาดอย่างรุนแรงของ”โควิด 19” โดยเฉพะในพื้นที่ จ.สงขลา,ปัตตานี,ยะลา และ นราธิวาส จน ศบค.จังหวัด ต้องมีการ ประกาศ”เคอร์ฟิวส์” มีการ”ล็อกดาวน์” พื้นที่ ส่งผลให้ กลายเป็นปัญหา อุปสรรค มากมายที่เกิดขึ้น ตั้งแต่ การป้องกัน คนงาน จาก”โควิด 19”อย่าให้ติด โควิด การที่พ่อค้าต้อง ขอหนังสืออนุญาตในการเดินทาง เข้าในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และการประกาศห้ามออกจากเคหะสถานตั้งแต่ 21.00-4.00 น. ทำให้ จำนวน พ่อค้าคนกลาง ที่มาเปิดจุดรับซื้อ หรือ”ล้ง” ได้รับความยุ่งยาก จำนวนพ่อค้าจากต่างถิ่นจึงน้อยลง ในขณะที่ ปริมาณ ผลผลิตของชาวสวนเพิ่มมากขึ้นในทุกปี เพราะมีการปลูกเพิ่ม จากการ โค่นสวนยาง และ สวนลองกอง และ หันมาปลูกทุเรียน เพราะเห็นว่า ผู้ที่ทำสวนทุเรียนก่อนหน้านี้ ต่างเป็น”ผู้มีอันจะกิน” จาก ราคาทุเรียน ที่ซื้อขายกันที่ “หน้าสวน” กิโลกรัมละ 70-80 บาท
ดังนั้น “โควิด 19” ที่เกิดขึ้นจึงกลายเป็น “ปีศาจ” ที่เข้าดับ”ดับฝัน” ของชาวสวนทุเรียนในปีนี้ และยังเกิด”ผีซ้ำด้ามพลอย” กล่าวคือ “ สาธารณประชาชนจีน” ตรวจพบ”บรรจุภัณฑ์” ทุเรียน จากพื้นที่ จ.ยะลา มีเชื้อ”โควิด 19” ติดไปด้วย 1 กล่องจากจำนวน 30 กล่อง ทำให้ ทุเรียน จาก จ.ยะลา ถูกสั่งตรวจสอบอย่าง เข้มงวด และ เจ้าของ”ล้ง” ยื่นคำขาดกับ ศบค.ยะลาว่า ถ้าคนงานทั้งหมด ไม่ได้รับ”วัคซีน” จะหยุดซื้อ ทุเรียนจาก เกษตรกรชาวสวนทุเรียน เพราะ เกรงว่า จะมีเชื้อ”โควิด 19” ปนเปื้อนผลทุเรียน และ ทุเรียน จาก จ.ยะลา จะเป็นสิค้าห้ามนำเข้า “สาธารณรัฐประชาชนจีน” ที่เป็น ตลาดใหญ่ที่สุด เพราะ ตลาดประเทศไทยกำลัง”ตีบตัน” จาก มาตรการ “ปิดตลาด” ในเกือบทุกพื้นที่ เพื่อป้องกันการระบาดของ”โควิด 19”
พล.ร.ต.สมเกียรติ ผลประยูร เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) กล่าวถึงปัญหาที่เกิดขึ้นว่า ทุเรียนใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ในปีนี้ออกสู่ตลาดประมาณ 60,000 ตัน เป็นของ จ.ยะลาเกือบ 40,000 ตัน เป็นของ จ.นราธิวาสประมาณ 15,000 ตัน ที่เหลือเป็นผลผลิตใน จ.ปัตตานี ขณะนี้ยังเหลือทุเรียน ที่ยังไม่ได้ออกสู่ตลาดประมาณ 30,000 ตัน ซึ่งหลังจากมีปัญหาต่างๆ ที่ประดังมา จากต้นเหตุของ”โควิด 19” ศอ.บต. ไม่ได้นิ่งนอนใจ และได้ติดตามปัญหา รวมทั้งแก้ปัญหาร่วมกับทุกภาคส่วน ตั้งแต่ทุเรียนในพื้นที่ 3 จังหวัดเริ่มออกสู่ตลาดแล้ว เพราะมีการประเมินสถานการณ์ พบว่าปีนี้จะต้องมีปัญหา อุปสรรค กับเกษตรกร เจ้าของสวนทุเรียนอย่างหลีกเลี่ยงไม่พ้น
เรื่องการฉีดวัคซีน ขณะนี้ ศบค.ยะลา ได้ระดมฉีดวัคซีนให้กับ แรงงาน ใน”ล้ง” และ ผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสียงอย่างทั่วถึง ทำให้”ล้ง” สามารถดำเนินการรับซื้อ และขนส่งตามปกติ มีการฉีดพ่นยาฆ่าเชื้อทำความสะอาดเป็นระยะๆ เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับ ผู้ซื้อ ทั้งในประเทศจีนและในประเทศไทย ซึ่งในการแก้ปัญหา ได้มีการประชุมร่วมกับกระทรวงพาณิชย์ และ รัฐมนตรีช่วยกระทรวงมหาดไทย นายนิพนธ์ บุญญามณี ที่มีความห่วงใยพี่น้องเกษตรกร เพื่อกำหนดแนวทางในการ ป้องกัน”โควิด 19” ปนเปื้อนใน ผลทุกเรียน และบรรจุภัณฑ์ การส่งเสริมการขายตามช่องทางต่างๆ ที่เป็นไปได้ รวมทั้งการ”บูรณาการ” หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ ทั้งฝ่ายปกครอง ,เกษตร และ พาณิชย์ และ อื่นๆ ในพื้นที่ ในการติดตามปัญหา อุปสรรค ที่เกิดขึ้น เพื่อที่จะได้แก้ปัญหาได้ทันท่วงที
เชื่อมั่นว่า จากการ “บูรณาการ” ทุกภาคส่วน ทั้งใน”ส่วนกลาง” และใน”พื้นที่” จะสามารถ บริหารจัดการ ผลผลิตที่เหลืออยู่ซึ่งคงจะทยอยสู่ตลาดหมดภายในสิ้นเดือน กันยายน ได้อย่างแน่นอน ราคาทุเรียนปีนี้อาจจะไม่ดีเท่ากับปีที่ผ่านๆมา จากปัญหาเรื่องของ”สงครามโรคระบาด” แต่ จากการติดตามและพูดคุยกับ เกษตรกร เจ้าของสวน ต่างก็พอใจกับราคาที่ พ่อค้าในท้องถิ่น และพ่อค้าจากนอกพื้นที่ ซึ่งมาตั้งจุดรับซื้อ
แน่นอนว่า ปัญหาของ ผลผลิตการเกษตร ไม่ได้จบลงที่ ทุเรียน หมดฤดูกาล เพราะหลังจากนั้นก็เป็น “ลองกอง” ที่กำลังทยอยออกสู่ตลาด ซึ่ง ยังเป็น”งานหนัก” ของ ทั้ง ศอ.บต. และ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้ง”เกษตร”และ”พาณิชย์” ที่ต้อง เตรียมแผนในการรับมือ ให้เหมือนกับ คำมั่นสัญญาที่ว่า” เราจะไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง” ซึ่งต้องทำให้ได้อย่างที่ได้พูดเอาไว้ให้ได้
นายปรีชา สถิตย์เรืองศักดิ์ / หาดใหญ่ จ.สงขลา