พังงาติดโควิดวันเดียว 51 ราย อำเภอตะกั่วทุ่งนำทีมทำความเข้าใจโรงงานไม้แปรรูป หลังประกาศปิดกิจการถาวร

5
(1)
image_print

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ทางศูนย์บริการสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคโควิด-19 จังหวัดพังงา ได้รายงานสถานการณ์ผู้ติดเชื้อโควิดรายใหม่วันที่ 18 ส.ค.64 เวลา 16.00 น. ในจังหวัดพังงาพบผู้ติดเชื้อ 51 ราย แยกเป็น ติดเชื้อภายในจังหวัดจำนวน 49 รายในพื้นที่ ต.นบปริง อ.เมืองพังงา 1 ราย ต.โคกกลอย อ.ตะกั่วทุ่ง 38 ราย แยกพบในกลุ่มแค้มป์คนงาน 28 ราย ฟาร์มกุ้ง 4 ราย ร้านขายของชำจำหน่ายสินค้าปลีกและส่ง 6 ราย ส่วนใหญ่เป็นแรงงานต่างด้าว อายุน้อยสุด 1 ขวบ อายุมากสุด 72 ปี ซึ่งทางเจ้าหน้าที่พร้อมนำเข้าโรงพยาบาลสนามในพื้นที่ พร้อมทำการสอบสวนโรคเข้าหาผู้สัมผัสเสี่ยงสูง เสี่ยงต่ำ เพื่อทำการกักตัวใน LQ ในพื้นที่

ด้านโรงงานไม้แปรรูป หมู่ 8 ต.กระโสม อ.ตะกั่วทุ่ง จ.พังงา ซึ่งนายพีระ เพชรพาณิชย์ ผจก.บ.เอส อี พี เวิร์ลไวด์ จำกัด ติดประกาศปิดกิจการถาวร เมื่อวันที่ 17 ส.ค.64 ที่ผ่านมา ทางนายศิวัชฐ์ ระวังกุล นายอำเภอตะกั่วทุ่ง พร้อม น.ส.นลินาสน์ เจตนานนท์ สวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดพังงา สสจ.พังงา ประกันสังคม ท้องถิ่น ฝ่ายปกครอง เข้าพบฝ่ายบริหารโรงงานดังกล่าว เพื่อชี้แจงทำความเข้าใจ จากสาเหตุทางโรงงานไม่มีความชัดเจนของทางคณะกรรมการควบคุมโรคติดต่อของทางอำเภอที่ให้ปิดกิจการชั่วคราวพร้อมทำการกักตัวผู้สัมผัสเสี่ยงสูงและเสี่ยงต่ำภายในโรงงาน จนทางโรงงานต้องแบกภาระต้นทุนในการกักตัวและไม่สามารถดำเนินกิจการได้ เบื้องต้นได้ข้อสรุปจากทางอำเภอตะกั่วทุ่งให้ทางโรงงานสามารถดำเนินกิจการได้ในช่วงระหว่างการกักตัวของคนงานภายในโรงงาน โดยมีระยะเวลา 28 วัน นับตั้งแต่วันที่พบผู้ติดเชื้อรายแรก และมีการนำตัวผู้ติดเชื้อที่ตรวจพบรายใหม่เข้าโรงพยาบาลสนาม ซึ่งมีกำหนดสิ้นสุดการกักตัวของผู้สัมผัสเสี่ยงสูงและเสี่ยงต่ำภายในโรงงานดังกล่าวถึงวันที่ 1 ส.ค.64 นี้ ทำให้ฝ่ายบริหารของโรงงานเตรียมเรียกกรรมการโรงงานประชุมเพื่อหาทางออกจากมติที่ประชุมฝ่ายบริหารอีกครั้ง เนื่องจากหากมีการปิดโรงงานจะส่งผลกระทบต่อ ผู้รับซื้อ-ขายไม้ยางพารา และเกษตรกรชาวสวนยางพารา ทั้งในพื้นที่และจังหวัดใกล้เคียง จำนวนมาก อีกด้วย

ด้าน น.ส.มนธิรา พันธ์สวัสดิ์ หน.ฝ่ายประโยชน์ทดแทน สนง.ประกันสังคมจังหวัดพังงา กล่าวว่า หากลูกจ้าง แรงงาน ได้รับผลกระทบจากการปิดกิจการเนื่องจากการประกาศหรือคำสั่งของภาครัฐ จะได้รับเงินทดแทนร้อยละ 50 จากรายได้และวันที่ได้รับผลกระทบ ซึ่งได้ประสานกับฝ่ายบุคคลของโรงงานดังกล่าวให้ พนักงาน ลูกจ้าง สามารถยื่นความจำนงขอรับเงินทดแทนดังกล่าวได้ โดยหลักเกณฑ์ต้องตรงตามเงื่อนไขของทางประกันสังคม

ให้คะแนนบทความนี้

กรุณาเลือกจำนวนดาว

คะแนนค่าเฉลี่ย 5 / 5. จำนวนผู้ให้คะแนนโวต 1

ยังไม่มีผู้ให้คะแนนบทความนี้

Sending
User Review
0 (0 votes)

Leave a Reply

Translate »