ผู้บัญชาการทหารเรือ เป็นประธาน เปิดกิจกรรม “รวมใจภักดิ์ อนุรักษ์พันธุ์ปลา รักษาป่าชายเลน” ในมูลนิธิอนุรักษ์แนวปะการัง และสิ่งมีชีวิตใต้ทะเลในสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ครั้งที่ 3/2564

0
(0)
image_print

วันนี้ (9 มิถุนายน 2564) พลเรือเอก ชาติชาย ศรีวรขาน ผู้บัญชาการทหารเรือ เป็นประธาน
ในพิธีเปิดกิจกรรม “รวมใจภักดิ์ อนุรักษ์พันธุ์ปลา รักษาป่าชายเลน” ในมูลนิธิอนุรักษ์แนวปะการัง และสิ่งมีชีวิตใต้ทะเลไทย ในสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ครั้งที่ 3/2564 ณ หมวดเรือที่ 3 กองเรือทุ่นระเบิด กองเรือยุทธการ ตำบลแหลมฟ้าผ่า อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ โดยมี พลเรือเอก สุทธินันท์ สมานรักษ์ ผู้บัญชาการกองเรือยุทธการ และ พลเรือตรี ธาดาวุธ ทัดพิทักษ์กุล
ผู้บัญชาการกองเรือทุ่นระเบิด กองเรือยุทธการ ให้การต้อนรับ โอกาสนี้ นางจุฬารัตน์ ศรีวรขาน นายกสมาคมภริยาทหารเรือ นำคณะอุปนายก และผู้บริหารสมาคมภริยาทหารเรือ ร่วมในพิธี มูลนิธิอนุรักษ์แนวปะการังและสิ่งมีชีวิตใต้ทะเลไทย ในสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรีนารีรัตนราชกัญญา

จัดตั้งขึ้นเพื่อสนองพระดำริ ที่ทรงมีเจตนารมณ์ในการอนุรักษ์แนวปะการัง กัลปังหา และสิ่งมีชีวิตใต้ทะเลไทย และเพื่อสนับสนุนการดำเนินโครงการอนุรักษ์ แนวปะการัง และสิ่งมีชีวิตใต้ทะเลไทยในพระดำริ ให้แนวปะการัง กัลปังหา และสิ่งมีชีวิตใต้ทะเลไทย มีความอุดมสมบูรณ์อย่างยั่งยืน สามารถใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติทางทะเล ได้อย่างมีความสมดุลและยั่งยืน กองทัพเรือ ในฐานะที่เป็นหน่วยงานสนองพระดำริ จึงได้จัดกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์และพระประสงค์ของพระองค์ ที่ผ่านมา ชายฝั่งบริเวณพื้นที่ด้านทิศใต้ของหมวดเรือที่ 3 กองเรือทุ่นระเบิด ประสบปัญหาการกัดเซาะของแม่น้ำเจ้าพระยา และปัญหาน้ำท่วมสูงตามฤดูกาล ทำให้ชายฝั่งเกิดการพังทลายเป็นบริเวณกว้าง
คิดเป็นพื้นที่ประมาณ 0.6 ไร่ หรือ 25 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่บริเวณนี้ทั้งหมด ทั้งนี้ หากปล่อยให้เกิดการพังทลายต่อไป จะเกิดผลกระทบต่อพื้นที่ที่ตั้งหน่วยแห่งนี้มากยิ่งขึ้น ดังนั้นเพื่อเป็นการบรรเทาปัญหาดังกล่าว กองเรือยุทธการ จึงได้มอบหมายให้กองเรือทุ่นระเบิด จัดกิจกรรม “รวมใจภักดิ์ อนุรักษ์พันธุ์ปลา รักษาป่าชายเลน” ในมูลนิธิอนุรักษ์แนวปะการังและสิ่งมีชีวิตใต้ทะเลไทยฯ ครั้งที่ 3/2564 โดยมีวัตถุประสงค์ที่สำคัญคือ
การรักษาระบบนิเวศ และสิ่งมีชีวิตใต้ทะเลไทย อนุรักษ์ป่าชายเลนให้มีความสมบูรณ์ พร้อมเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ และแหล่งศึกษาทางนิเวศวิทยา พัฒนาแนวชายฝั่ง และป้องกันการพังทลายของหน้าดินในพื้นที่ที่เป็นที่ตั้งหน่วย โดยมีการดำเนินการ กิจกรรมย่อย 3 กิจกรรม ประกอบด้วย กิจกรรมปลูกต้นโกงกาง
จำนวน 350 ต้น กิจกรรมปล่อยพันธุ์ปูจำนวน 918 ตัว พันธุ์ปลา 9,918 ตัว และกิจกรรมเก็บขยะโดยรอบพื้นที่
สำหรับการจัดกิจกรรมในครั้งนี้ นอกจากจะเป็นการสนับสนุนการดำเนินโครงการตามพระดำริแล้วยังเป็นการพัฒนาแนวชายฝั่ง และป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งการป้องกันการกัดเซาะ
โดยการปลูกต้นโกงกาง นับได้ว่าเป็นวิธีการตามธรรมชาติและประหยัดงบประมาณ ซึ่งนอกจากจะสามารถป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งได้แล้ว ยังส่งผลประโยชน์ในการเป็นแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำวัยอ่อน เป็นที่หลบภัยและที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำนานาชนิด สร้างความอุดมสมบูรณ์ให้กับระบบนิเวศและเป็นการอนุรักษ์สิ่งมีชีวิตใต้ทะเล อีกทั้งยังเป็นการสร้างจิตสำนึกที่ดี ให้กับข้าราชการและประชาชน ในการร่วมกันอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติสามารถเป็นต้นแบบให้กับหน่วยงานต่าง ๆ นำไปใช้เป็นแนวทางในการดำเนินการป้องกันปัญหาการกัดเซาะและการพังทลายของหน้าดินได้

ให้คะแนนบทความนี้

กรุณาเลือกจำนวนดาว

คะแนนค่าเฉลี่ย 0 / 5. จำนวนผู้ให้คะแนนโวต 0

ยังไม่มีผู้ให้คะแนนบทความนี้

Sending
User Review
0 (0 votes)

Leave a Reply

Translate »