เชียงใหม่ ชาวบ้านเมืองแกนโวยถูกเก็บเงินค่าเก็บขยะซ้ำซ้อน

1
(1)
image_print

เชียงใหม่ ชาวบ้านเมืองแกนโวยถูกเก็บเงินค่าเก็บขยะซ้ำซ้อน

ชาวบ้านเมืองแกนโวยถูกเก็บเงินค่าเก็บขยะซ้ำซ้อน เล็งยื่นหนังสือร้อง ป.ป.ช.-ศูนย์ดำรงธรรมเชียงใหม่ ตรวจสอบกรณี มีการเก็บค่าขยะซ้ำซ้อน ต้องจ่ายทั้งค่าถุงขยะจากบริษัทเอกชน และจ่ายค่าเก็บขยะกับเทศบาล นอกจากนี้ต้องแบกรับภาระซื้อถุงบรรจุขยะราคาแพง วอนยกเลิกซื้อถุงขยะสีฟ้าจากเอกชน ซึ่งชาวบ้านทั้งตำบลต้องจ่ายเงินซื้อถุงขยะถึงปีล่ะ 2,555,000 บาท ด้านเทศบาลแจง ยอมรับไม่ได้ทำประชาคมชุมชน เป็นเพียงมติผู้นำชุมชนเท่านั้น เล็งเสนอผู้บริหารชุดใหม่แก้ปัญหา

กลุ่มชาวบ้าน นำหนังสือร้องขอความเป็นธรรมกับผู้สื่อข่าวกรณีถุงเก็บขยะท้องที่ทม.เมืองแกนพัฒนา ต.อินทขิล อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ โดย ได้รับการเปิดเผยจากนายสุพรรณ มโนรัตน์ ประธานชุมชนบ้านใหม่ 1 หมู่ 5 ต.ช่อแล อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ กรณีกลุ่มชาวบ้านเตรียมทำหนังสือเพื่อ ร้องเรียนไปยังป.ป.ช.และศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดเชียงใหม่ ให้ตรวจสอบเรื่องการจัดจำหน่ายถุงดำ ที่ดำเนินการจำหน่ายจากเอกชนเพื่อจัดเก็บขยะในหมู่บ้าน ที่ผ่านมาในบางครั้งถ้าชาวบ้านไม่นำขยะใส่ในถุงขยะที่เอกชน ทางเทศบาลจะไม่จัดเก็บ ทำให้ชาวบ้านต้องจัดซื้อถุง จัดเก็บขยะของเอกชนเท่านั้น ในราคาใบละ 10 บาท พร้อมเสียค่าธรรมเนียมให้กับทางเทศบาล อีกเดือนละ 15 บาทซึ่งกลุ่มชาวบ้านเห็นว่าเป็นการเสียค่าใช้จ่ายซ้ำซ้อน จึงรวมตัวเตรียมหนังสือยื่น ป.ป.ช. สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ และศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดเชียงใหม่ เพื่อตรวจสอบเรื่องดังกล่าว

นายสุพรรณ เปิดเผยว่า ที่ผ่านมาทางเทศบาล ได้มีการจัดการขยะโดยมีอัตราการเก็บค่าธรรมเนียมกำจัดขยะมูลฝอยครัวเรือนละ 15 บาทในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา และ ได้มีการจำหน่ายถุงขยะเพิ่มอีกในราคาถุงละ 10 บาท ซึ่งไม่มีการทำประชาคมกับชาวบ้านในหมู่บ้านหรือชุมชน โดยชาวบ้าน ได้ตั้งข้อสังเกตถึงเส้นทางของ ถุงขยะสีฟ้านั้นไม่ได้ผ่านทางเทศบาล แต่ผ่านทางเอกชนที่จำหน่ายแล้วทั้งสิ้นแล้วมีการบังคับให้ชาวบ้านถ้าไม่ใช้ถุงขยะสีฟ้าก็ไม่เก็บขยะโดยชาวบ้านต้องจำใจซื้อถุงขยะมาโดยตลอดซึ่งชาวบ้านมองเห็นว่าเป็นการเก็บขยะการเก็บซ้ำซ้อนตลอดมา ซึ่งชาวบ้านเห็นว่าเป็นการผลักภาระให้ชาวบ้าน และไม่มีการทำประชาคมแก่ชาวบ้านแต่เพียงเชิญประธานชุมชนมาประชุมและขอมติ ที่ผ่านมาชาวบ้านซื้อถุงขยะตลอดระยะเวลา 3 ปี เฉลี่ย 10 ถุงต่อเดือน

ทั้งนี้ชาวบ้านได้ตั้งข้อสังเกตว่าการเก็บขยะเป็นหน้าที่ของทางเทศบาล ที่ไม่เก็บถุงสีอื่นเพราะต้องการบังคับให้ชาวบ้านต้องซื้อถุงที่ทำมาขายหรือไม่ทั้งๆที่พวกเขาเสียค่าธรรมเนียมในการจัดเก็บขยะให้กับทางเทศบาลแล้ว ซึ่งเอกชนได้ลงทุนทำถุงขยะแล้วมาจำหน่ายให้ชาวบ้านในราคาแพง ซึ่งไม่ได้มีการประชุมประชาคมแก่ชาวบ้านเลยโดยให้เอกชนลงทุนเพื่อหากำไรจากการลงทุนและเงินจากกำไรไม่ได้เข้ามาเป็นเงินรายได้ของทางเทศบาล แต่การจัดเก็บขยะของเทศบาล เป็นตัวกำหนดให้ชาวบ้านต้องซื้อถุงขยะโดยไม่จำเป็น ซึ่งทางเทศบาลเมืองแกนพัฒนา มีครัวเรือนสี่พันกว่าคน แต่ละเดือนถ้าใช้ถุงขยะครัวเรือนละ 1 ใบก็เท่ากับวันละ 400 ใบ แต่ครัวเรือนหนึ่งไม่ได้ใช้วันละ 1 ใบซึ่งสำหรับครัวเรือนขนาดเล็ก อาจใช้ 4-5 วันต่อ 1 ถุง แต่บางครัวเรือนหรือบางร้านค้าอาจใช้หลายใบต่อวันเฉลี่ยทุกครัวเรือนทั่วเทศบาลเมืองแกนพัฒนาใช้ถุงขยะประมาณ 700 ใบ ต่อวัน ซึ่งค่าเฉลี่ย ทุกครัวเดือนแล้ว เอาราคาถุงละ 10 บาทมาคูณด้วย 700 ใบต่อวัน เท่ากับเป็นเงิน 7,000 บาท ต่อวัน ซึ่งค่าเฉลี่ยแล้ว 7,000 บาทต่อวัน 1 ปีมี 365 ก็เท่ากับเป็นเงิน 2,555,000 บาท ซึ่งที่ผ่านมา ตั้งแต่เริ่มโครงการการจัดเก็บขยะในครั้งนี้ได้อ้างว่าใน 1 ปี สามารถประหยัดงบประมาณของทางเทศบาลฯเป็นล้าน แต่ในมุมกลับกันเป็นภาระที่ตกกับชาวบ้านเป็นจำนวน 2 ล้านกว่าบาทต่อปี และโครงการได้ดำเนินไปแล้วกว่า 3 ปี ถ้าคิดเป็นจำนวนเงินชาวบ้านต้องแบกรับภาระในการซื้อถุงดำเป็นเงินไม่ต่ำกว่า 7 ล้านบาท ซึ่งทางกลุ่มชาวบ้านได้มองว่าเป็นการเก็บทับซ้อนหรือเป็นการสร้างภาระมากขึ้น จึงอยากวอนให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องตรวจสอบและขอให้จัดทำประชาคมเพื่อหาข้อยุติในการจำหน่ายถุงขยะสีฟ้าต่อไป

หลังจากนั้นผู้สื่อข่าวได้เดินทางไปที่เทศบาลเมืองแกนพัฒนา เพื่อขอเข้าพบนางอารีย์ สุรารักษ์ ปลัดเทศบาลเมืองแกน รักษาการแทนนายกเทศบาลเมืองแกน และนายศรชัย ชมถิ่น ผอ.กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม กรณีเรื่องถุงจัดเก็บขยะ ตามที่ชาวบ้านได้ร้องเรียนมา ซึ่งได้รับคำตอบจากปลัดเทศบาลฯ ว่า ในช่วงเช้าของวันนี้ได้เรียกประชุมผู้นำชุมชนทั้ง 27 หมู่บ้าน และได้มีเรื่องเกี่ยวกับการจัดเก็บขยะ รวมอยู่ด้วย โดยในที่ประชุมมีมติให้ดำเนินการจัดเก็บขยะที่ชาวบ้านนำมาทิ้งไม่ว่าจะใส่ถุงแบบที่ภาคเอกชนขายหรือถุงดำปกติโดยทั่วไปก็ตาม โดยมีมติรับรองให้จัดเก็บขยะที่ชาวบ้านนำมาทิ้งตามจุดทิ้ง ในถุงขยะทุกสีไปจนกว่าที่ ทางคณะผู้บริการจะเข้ามารับตำแหน่งใหม่ โดยได้เตรียมการเรื่องการจัดเก็บขยะเพื่อพิจารณาในประชุมสภาฯ ของคณะผู้บริหารใหม่ต่อไป

ด้านนายศรชัย เปิดเผยว่า ที่ผ่านมายอมรับว่าได้เรียกผู้นำชุมชนทั้ง 27 หมู่บ้านมาประชุมหารือเกี่ยวกับการจัดเก็บขยะ จริงโดยไม่ได้ทำประชาคมกับชาวบ้าน แต่ตนเองคิดว่าผู้นำชุมชนก็คือตัวแทนของชาวบ้าน และในที่ประชุมก็มีมติให้ทางเอกชนเป็นผู้จัดทำถุงจัดเก็บขยะเพื่อเป็นระเบียบในการจัดเก็บขยะและไม่ต้องกังวลว่าจะมีขยะจากนอกพื้นที่นำมาทิ้งในหมู่บ้าน ซึ่งที่ผ่านมาทางเทศบาลเมืองแกนได้มีบ่อทิ้งขยะเป็นของตัวเองแต่ภายหลังจากปิดบ่อขยะไป จึงทำให้มีปัญหาขยะล้นจึงได้จัดระเบียบในการเก็บจัดเก็บขยะใหม่ และให้ภาคเอกชนรับช่วงต่อในการจัดทำลายขยะ ซึ่งทางเทศบาลเมืองแกนเป็นผู้จัด เก็บขยะตามจุดและให้ภาคเอกชน ขนไปทำลายยังบ่อขยะอีกทอดนึง

ผู้สื่อข่าวรายงานต่ออีกว่า กลุ่มชาวบ้าน เตรียม ทำหนังสือพร้อมยื่นต่อ ป.ป.ช, และศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดเชียงใหม่เพื่อให้ทำการตรวจสอบเส้นทางการเงินของถุงขยะสีฟ้า เพื่อนำมาชี้แจง 2 บ้าน ว่าได้นำเงินส่วนนี้ไปทำประโยชน์ อะไรอย่างไรบ้าง และขอให้ตรวจสอบในการเก็บขยะว่าเลือกเก็บขยะเฉพาะขยะถุงสีฟ้าหรือไม่และอีกอย่างหนึ่งคือว่าการจัดจำหน่ายถุงขยะสีฟ้า ใบละ 10 บาทนั้นชาวบ้านถือว่าแพงไปและมาช่วงหลังนี้ถุงขยะสีฟ้านั้นตัวถุงมีความบางลงไปไม่มีความหนาเหมือนแต่ต่อแรกที่นำมาจัดจำหน่ายทำให้ถุงฉีกง่ายขึ้นอาจทำให้เป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรคอีกด้วย โดยทางกลุ่มชาวบ้านวอนขอให้มีการทำประชาคมทั้ง 27 หมู่บ้าน เพื่อจัดเก็บค่าธรรมเนียมใหม่ โดยไม่มีการจำหน่ายถุงขยะสีฟ้าอีกต่อไป โดยสามารถใช้ถุงดำที่มีมาตรฐานในการจัดเก็บขยะ ซึ่งชาวบ้านมองว่าที่ผ่านมาเป็นการประหยัดงบประมาณของทางเทศบาลกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี แต่ในทางกลับกันชาวบ้านต้องแบกรับภาระในการซื้อถุงขยะสีฟ้า ปีละ 2 ล้านกว่าบาท จึงเรียกร้องให้ยกเลิกซื้อถุงฟ้า เพื่อจัดเก็บขยะดังกล่าวต่อไป 000000000จบ000000000

ให้คะแนนบทความนี้

กรุณาเลือกจำนวนดาว

คะแนนค่าเฉลี่ย 1 / 5. จำนวนผู้ให้คะแนนโวต 1

ยังไม่มีผู้ให้คะแนนบทความนี้

Sending
User Review
2 (1 vote)

Leave a Reply

Translate »