แม่ฮ่องสอน​ – ผจว.มส.สั่งการท้องถิ่นฯตรวจสอบ​การสร้างฝายแม้ว​ อ.แม่ลาน้อย หลัง​ชาวบ้านร้องไม่โปร่งใส

5
(1)
image_print

วันนี้​ 5​ เม.ย.​ 2564​ ผู้สื่อข่าวได้ลงพื้นที่ไปยัง​ สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดแม่ฮ่องสอน เพื่อสอบถามข้อเท็จจริงจากท้องถิ่นจังหวัดแม่ฮ่องสอน กรณีนายกำจร​ รัตนรักษ์​ไพร​ ได้ยื่นหนังสือถึงผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน​ เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2564 เรื่องขอให้ตรวจสอบการดำเนินงานโครงการและการจ่ายเงินตามโครงการฝายชะลอน้ำ​ บ้านแม่กวางเหนือหมู่ 7 ตำบลท่าผาปุ้ม​ อำเภอแม่ลาน้อยจังหวัดแม่ฮ่องสอน

นายสุรินทร์​ ปัญญาจันทร์​ ท้องถิ่นจังหวัดแม่ฮ่องสอน​ กล่าวว่า​ “สำนักงานส่งเสริมท้องถิ่นจังหวัดแม่ฮ่องสอนได้รับเรื่องมาจากศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดแม่ฮ่องสอน​ เมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2564 และได้กำหนดประเด็นในเรื่องการตรวจสอบครั้งนี้​ ให้นายอำเภอส่งเรื่องรายงานและให้นายอำเภอตรวจสอบตามประเด็นที่มีผู้ร้องได้ร้องมาทางจังหวัดแม่ฮ่องสอน​ โดยให้ทางอำเภอฯได้เตรียมการตรวจสอบและส่งเรื่องกลับมาให้ทางจังหวัดทราบภายใน 15 วัน
ด้าน​ นายนคร​ พันธุ์สวัสดี​ ผู้อำนวยการส่วนกฎหมายระเบียบและเรื่องราวร้องทุกข์จังหวัดแม่ฮ่องสอน​ กล่าวว่า​ “เกี่ยวกับการดำเนินการโครงการสร้างฝายชะลอน้ำเป็นเรื่องเกี่ยวกับลักษณะของการดำเนินภารกิจ เราก็ได้ตรวจวิเคราะห์ประเด็นในเรื่องที่ทำการสอบสวนผู้ร้องว่า​ ข้อมูลที่จะต้องนำมาพิจารณาในเรื่องนี้ได้กำหนดไว้ในหลักการ​ ประเด็นที่ 1. เหตุที่มีการร้องเรียนเป็นเรื่องเกี่ยวกับการไม่ได้รับค่าตอบแทนจากการใช้แรงงานในการก่อสร้างและมีการอ้างว่าบางคนถูกปลอมแปลงลายมือ​ชื่อ​ ทางสำนักงานฯก็ต้องส่งเรื่องให้นายอำเภอตรวจสอบดูว่าในบัญชีรายชื่อที่มีการเบิกจ่ายค่าแรง​ มีการดำเนินงานในลักษณะที่มีการร้องเรียน กี่ราย แล้วข้อเท็จจริงที่จริงแล้วมันคืออะไร​ ในการจ่ายใจจริงแต่ไม่จริง แยกเป็นข้อประเด็นมา 2.เมื่อผู้มีส่วน​ได้ส่วนเสีย​ ในการรับเงินตรวจสอบว่าตัวเองมีชื่อแล้วแต่ไม่ได้เซ็นต์ชื่อ​ ไม่ได้ลงนามเซ็นรับค่าแรง​ กระบวนการจะพิสูจน์ว่าในเรื่องนี้เป็นผู้ได้รับความเดือดร้อนจริงๆจากกรณีดังกล่าว และให้ตามผู้ที่เกี่ยวข้องที่เห็นว่าตัวเองถูกละเมิดในการเซ็นต์แล้วไปเบิกเงิน​ มีการดำเนินการทางกฎหมายอย่างไรบ้าง ซึ่งทางอำเภอจะต้องแจ้งรายละเอียดขึ้นมาเพื่อจะได้ทราบข้อเท็จจริง หากการปลอมแปลงเอกสารถ้าเป็นการแสวงหาประโยชน์ในเรื่องของเกี่ยวกับเงินของทางราชการก็เป็นเรื่องของการทุจริต เกี่ยวกับทางการเงินการเบิกจ่ายเงิน ส่วนในทางแพ่งก็คือการเบิกจ่ายในลักษณะนี้เป็นการเบิกจ่ายในลักษณะทางการทุจริตหรือเบิกจ่ายไม่ถูกต้องตามระเบียบของทางราชการ​ ต้องมีการชดใช้เงินค่าเสียหาย​ ใน​ทางอาญา ผลคดีอาญาถ้าเกิดว่าก่อให้เกิดความเสียหายกับผู้หนึ่งผู้ใดหรือแก่ทางราชการ​ เรื่องนี้ก็เป็นในเรื่องของกระบวนการของทางอาญาต่อไป หรือการดำเนินการรนี้ถ้ามีข้าราชการมาเกี่ยวข้องก็จะมีเรื่องเกี่ยวกับวินัย​ ภายใต้ข้อบังคับของกฎหมายหรือหน่วยงานที่ดำเนินการรับผิดชอบ​ ขั้นสูงสุดคือให้ออกจากราชการ”

” สำหรับพ่อแม่พี่น้องที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมต่างๆตามที่มีหนังสือแจ้งมา​ สามารถให้ข้อมูลกับทางนายอำเภอได้​ เพราะทางท่านผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอนได้มอบหมายให้นายอำเภอเป็นผู้ตรวจสอบข้อเท็จจริง​ ขอให้ผู้ที่ได้รับความเสียหายเข้าไปให้ข้อมูลข้อเท็จจริง​ เพื่อที่ทางอำเภอจะได้สรุปข้อมูลข้อเท็จจริงที่ถูกต้อง​ นำส่งผู้ว่าราชการจังหวัดต่อไป​” นายสุรินทร์​ กล่าว.

ให้คะแนนบทความนี้

กรุณาเลือกจำนวนดาว

คะแนนค่าเฉลี่ย 5 / 5. จำนวนผู้ให้คะแนนโวต 1

ยังไม่มีผู้ให้คะแนนบทความนี้

Sending
User Review
0 (0 votes)

Leave a Reply

Translate »