





สร้างอาชีพ-สร้างอนาคต
แพร่นำร่องเปิดศูนย์ AI เพื่อประชาชน หนุนเกษตรกรใช้ AI ปั้นผลไม้พรีเมียมเพื่อส่งออก
เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2568เวลา10.00น.นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดแพร่เขต 3 พท. พร้อมด้วยนางภูวษาสินนธุวงศ์ ที่ปรึกษานายกอบจ.แพร่ นายแสงสว่าง เสือขำส.อบจ.แพร่ เขต 1.ลอง นายบุญโชติ ยานสกุลส.อบจ.แพร่ เขต 2 อ.ลองพ.ต.อ.บำรุง น้อมเศียรผกก.สภ.ลอง
นายบุญธรรม เกี้ยวฝั้น ผอ.สถาบันการอาชีวศึกษาภาคเหนือ2เปิดตัว “ศูนย์ AI เพื่อประชาชน” พัฒนาอาชีพสู่โลกยุคใหม่ อย่างเป็นทางการ ณ สำนักงาน สส.อำเภอลอง พลิกประวัติศาสตร์ใหม่ให้จังหวัดแพร่ ก้าวเข้าสู่ยุคดิจิทัลเต็มรูปแบบ พร้อมประเดิมโครงการ “ทุเรียน AI” ช่วยเกษตรกรปลูกทุเรียนแบบแม่นยำ เชื่อมตลาดพรีเมียมทั้งในและต่างประเทศ
นายวรวัจน์ กล่าวว่าโครงการนี้ยังถือเป็นต้นแบบของ “ศูนย์ AI ภาคเหนือ” ที่ได้ประสานความร่วมมือกับหลายหน่วยงาน ได้แก่ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กรมวิชาการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร ธนาคาร ธ.ก.ส. ธนาคาร Exim Bank สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์เกษตร สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) และภาคเอกชนด้านการส่งออก ประชาชนทุกคนสามารถเข้ามาใช้บริการได้ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย โดยเฉพาะเกษตรกร นักเรียน ผู้ประกอบการ หรือผู้ที่อยากเริ่มต้นอาชีพใหม่ ก็สามารถให้ AI เป็นผู้ช่วยในการวางแผนงาน ขอทุน ทำแบรนด์ หรือขายของออนไลน์ได้อย่างง่ายดาย
ภายในงานจะมีการอบรมการใช้ประโยชน์จาก AI และเริ่มขับเคลื่อนโครงการทุเรียน AI เป็นครั้งแรก เพื่อให้ผู้อบรมและผู้ใช้งาน สามารถเข้าใจระบบการทำงานของ AI ที่เชื่อมโยงระหว่างเกษตรกร และผู้ปฏิบัติงานกับฝ่ายผู้ซื้อที่เป็นห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ หรือผู้ส่งออกเข้าด้วยกัน ซึ่งเป็นการสร้างความมั่นใจให้แก่เกษตรกรว่า ถ้าหากมีการดูแลคุณภาพของผลผลิตตามหลักวิชาการ แล้วทำให้ทุเรียนมีคุณภาพสูง รสชาติดี ไม่มีโรค และแมลงติดไปกับทุเรียน ก็จะทำให้เกษตรกรสามารถจำหน่ายทุเรียนได้ในราคาที่สูงขึ้น เป็นการสร้างความมั่นคงในการประกอบอาชีพให้แก่เกษตรกร โครงการนี้ก็จะเป็นตัวอย่างต้นแบบในการใช้เทคโนโลยีเอไอช่วยส่งเสริมกระบวนการผลิตในระดับพื้นที่ให้มีรายได้ที่มั่นคงและยั่งยืนในระยะยาวต่อไป
โครงการทุเรียน AI ไม่ใช่เรื่องเทคโนโลยีไกลตัว แต่เป็นของจริงที่จับต้องได้ เพราะ AI จะคอยช่วยดูแลตั้งแต่ระยะการเจริญเติบโต การให้ปุ๋ยแบบแม่นยำ ไปจนถึงการวิเคราะห์คุณภาพผลผลิตรายแปลง พร้อมยังเชื่อมต่อ Google Sheets ผ่าน Line OA เพื่อบริหารจัดการแบบมืออาชีพ ผลผลิตผลไม้คุณภาพสูงของไทยจะไม่ต้องรอจนล้นตลาดอีกต่อไป แต่ในอนาคตจะถูกนำเข้าสู่ระบบตลาดส่งออกทันที เพื่อรักษาราคาที่ดีให้กับเกษตรกร
นางภูวษา สินธุวงศ์ ทึ่ปรึกษานายกอบจ.แพร่กล่าวว่าประชาชนสชาวอลองหนือท่านทีาผ่านมาทางอ.ลองสามารถเข้ารับการอบรมและใช้งาน AI ได้ทุกวัน ที่ สำนักงาน สส.วรวัจน์ อำเภอลอง จังหวัดแพร่ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ทาง Facebook : AIPhrae ศูนย์ AI จังหวัดแพร่///