กรรมาธิการการสาธารณสุข ดูงานการแพทย์ฉุกเฉิน ศูนย์นเรนทร โรงพยาบาลราชวิถี

0
(0)
image_print

เพื่อหาวิธีการปรับปรุงประสิทธิภาพของระบบการแพทย์ฉุกเฉินในประเทศไทย

วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2568
นายแพทย์ทศพร เสรีรักษ์ ประธานกรรมาธิการการสาธารณสุขสภาพุทธ นำคณะกรรมาธิการการสาธารณสุข สภาผู้แทนราษฎร
เดินทางไปศึกษาดูงาน ณ กลุ่มงานเวชศาสตร์ฉุกเฉินและศูนย์กู้ชีพนเรนทร โรงพยาบาลราชวิถี กรุงเทพมหานคร

ซึ่งจุดประสงค์ของการเดินทางไปศึกษาดูงานครั้งนี้เพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และเยี่ยมชม การดำเนินงาน การเตรียมความพร้อม การบริหารจัดการ และการให้บริการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ของกลุ่มงานเวชศาสตร์ฉุกเฉินและศูนย์กู้ชีพนเรนทร โรงพยาบาลราชวิถี กรุงเทพมหานคร เพื่อรวบรวมองค์ความรู้ในการดำเนินงาน อันจะนำไปสู่การพัฒนางานด้านการสาธารณสุขอย่างเหมาะสมต่อไป

โดยมีนายแพทย์ไพโรจน์ เครือกาญจนา รองผู้อำนวยการด้านการแพทย์ และนายแพทย์จิรพงษ์ ศุภเสาวภาคย์ หัวหน้ากลุ่มงานเวชศาสตร์ฉุกเฉิน พร้อมคณะให้การต้อนรับ

นายแพทย์ไพโรจน์ เครือกาญจนา รองผู้อำนวยการด้านการแพทย์ กล่าวถึงระบบเวชศาสตร์ฉุกเฉิน Emergency Medical Service (EMS) ว่ามีความสามารถให้การรักษาพยาบาลแก่ผู้ป่วยฉุกเฉินและผู้บาดเจ็บ ที่มีความพร้อมสูงประกอบด้วยระบบการรักษาพยาบาลก่อนถึงโรงพยาบาล และระบบห้องฉุกเฉิน การให้การรักษาพยาบาลก่อนถึงโรงพยาบาล (Pre-Hospital Care) ซึ่งประกอบด้วยศูนย์บัญชาการกู้ชีพนเรนทรเป็นหน่วยเคลื่อนที่เร็ว และแพทย์ พยาบาล หน่วยกู้ชีพออกไปให้บริการ ณ จุดเกิดเหตุ เพื่อให้ผู้ประสบเหตุได้รับการรักษาพยาบาลอย่างถูกวิธีและทันเวลา
โดยพันธกิจประการสำคัญอีกประการหนึ่งของกลุ่มงานเวชศาสตร์ฉุกเฉิน คือ การฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านเพื่อวุฒิบัตรแสดงความรู้ ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม (Residency Training in Emergency Medicine) ซึ่งเป้าหมาย คือ ผลิตแพทย์ฉุกเฉินที่มีคุณภาพและจริยธรรมตามมาตราฐานวิชาชีพ ผลิตแพทย์ฉุกเฉินเข้าสู่ระบบบริบาลสุขภาพของรัฐ และผลิตแพทย์ฉุกเฉินที่ให้บริการทางวิชาการ
สำหรับการโทร 1669 ทั่วประเทศในอดีต เมื่อพ.ศ 2538 กรมการแพทย์ โดยกระทรวงสาธารณสุข ได้เปิดโครงการต้นแบบการรักษาพยาบาล ณ ที่เกิดเหตุขึ้นที่ โรงพยายาบราชวิถี ในนาม “ศูนย์กู้ชีพนเรนทร” ผ่านเบอร์ 248-2222 ต่อมาใน พ.ศ. 2541-2542 จนถึงปัจจุบัน ได้มีข้อตกลงร่วมกันในการแบ่งพื้นที่ให้บริการระหว่างหน่วยบริการของสาธารณสุขกรุงเทพมหานคร และหน่วยบริการของเอกชน เพื่อลดปัญหาความสับสน โดยใช้เบอร์ 1669 หากมีการแจ้งเหตุนอกโซน ผู้รับแจ้งจะส่งต่อข้อมูลให้หน่วยบริการที่รับผิดชอบในพื้นที่นั้น ๆ สำหรับการโทรในกรุงเทพจะไปยังศูนย์บริการการแพทย์ฉุกเฉินกรุงเทพมหานคร (ศูนย์เอราวัณ)

หลังจากนั้นนายแพทย์จิรพงษ์ ศุภเสาวภาคย์ ให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ “ระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน” โดยทางโรงพยาบาลราชวิถีตระหนักถึงการเสียชีวิตและพิการที่ไม่สมควรเนื่องจากความล่าช้า การนำส่งที่ผิด จึงเริ่มต้น โครงการต้นแบบระบบการรักษาพยาบาลก่อนถึงโรงพยาบาล สรุได้ ดังนี้
โครงสร้างองค์กร กลุ่มงานเวชศาสตร์ฉุกเฉิน ประกอบด้วย ศูนย์กู้ชีพนเรนทร ห้องฉุกเฉิน ห้องสังเกตอาการ และศูนย์ส่งต่อผู้ป่วย
ซึ่งภารกิจศูนย์กู้ชีพนเรนทร ประกอบด้วย 5 ประการสำคัญ คือ

  1. ศูนย์สื่อสาร และสั่งการ (Dispatch center) ในพื้นที่ zone 8 กรุงเทพมหานคร (พญาไท, ห้วยขวาง, ราชเทวี, ดินแดง, บางซื่อ, วังทองหลาง, จตุจักร, ลาดพร้าว) 
  2. รถพยาบาลฉุกเฉินขั้นสูง (Advanced life support (ALS) Ambulance)
  3. ภารกิจเคลื่อนย้ายผู้ป่วย (interfacility, home-facility transportation)
  4. ภารกิจพิเศษ: standby, mass gathering, major incident (MERT/i-EMT)
  5. ถ่ายทอดความรู้: ประชาชน, บุคลากร: EMT-B, ENP, MD

ต่อมานายแพทย์ไพโรจน์ เครือกาญจนา รองผู้อำนวยการด้านการแพทย์ และนายแพทย์จิรพงษ์ ศุภเสาวภาคย์ หัวหน้ากลุ่มงานเวชศาสตร์ฉุกเฉิน ได้กล่าวถึงประเด็นปัญหาและข้อเสนอแนะต่าง ๆ ต่อการดำเนินงานทางการแพทย์ สรุปได้ ดังนี้
1.ขั้นตอนการรับส่งผู้ป่วยจิตเวชควรประสานงานร่วมกับสำนักงานตำรวจภายในพื้นที่ที่เกิดเหตุเพื่อให้รับส่งผู้ป่วยจิตเวชพร้อมกับรถฉุกเฉิน
2.ปัญหาเตียงภายในโรงพยาบาลไม่เพียงพอต่อจำนวนผู้ป่วย
3.การขาดแคลนบุคลาการทางการแพทย์
4.สร้างความเข้าใจให้กับคนไข้ในกระบวรการคัดแยกคนไข้ในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ
5.ควรหาโรงพยาบาลระดับทุติยภูมิเพื่อรองรับคนไข้ที่มีอาการคงที่จากโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ
6.หากโรงพยาบาลระดับตติยภูมิมีศักยภาพที่จะดำเนินงานเยี่ยมบ้านผู้ป่วย ควรให้โรงพยาบาลระดับตติยภูมิร่วมกันรับผิดชอบในส่วนนี้ด้วย พร้อมกับควรสนับสนุนงบประมาณ
7.สร้างองค์ความรู้ให้กับประชาชนในการป้องกันโรคและดูแลตัวเองในกรณีการเจ็บป่วยฉุกเฉิน

หลังจากนั้น นายแพทย์ไพโรจน์ เครือกาญจนา รองผู้อำนวยการด้านการแพทย์ และนายแพทย์จิรพงษ์ ศุภเสาวภาคย์ หัวหน้ากลุ่มงานเวชศาสตร์ฉุกเฉิน พาเยี่ยมชมระบบการปฏิบัติงานของกลุ่มงานเวชศาสตร์ฉุกเฉินและศูนย์กู้ชีพนเรนทร

นายแพทย์ทศพร เสรีรักษ์ ได้กล่าวชื่นชมการทำงานของศูนย์นเรนทรโรงพยาบาลราชวิถี ซึ่งนับเป็น สถาบันเวชศาสตร์ฉุกเฉิน แห่งแรกในประเทศไทย จนมีหน่วยแพทย์ฉุกเฉินเกิดเกิดขึ้น ทั่วประเทศไทย ทั้งโดยโรงพยาบาลรัฐบาล โรงพยาบาลเอกชน และอาสาสมัครองค์กรการกุศลต่างๆ

กรรมาธิการการสาธารณสุขสภาผู้แทนราษฎรจะช่วยผลักดัน

  1. เบอร์โทรศัพท์สำหรับแจ้ง ผู้ป่วยอุบัติเหตุ และผู้ป่วยฉุกเฉิน ปัจจุบันคือ 1669 น่าจะเปลี่ยนให้เป็นเลข 3 ตัว
  2. นักเวชศาสตร์ฉุกเฉิน paramedic ยังไม่เพียงพอ ต้องมีการผลิตเพิ่มขึ้น และ มีตำแหน่ง มีอัตรารองรับ สร้างความมั่นคงในวิชาชีพ

3.. เพิ่มเตียงให้สามารถรองรับผู้ป่วยฉุกเฉินได้มากขึ้น ทั้งในกรุงเทพและต่างจังหวัด ซึ่งปัจจุบันแผนกฉุกเฉินทุกโรงพยาบาล ล้วนแต่แออัดเกินไป

  1. ตึกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลราชวิถี ซึ่งจะเสร็จในปลายปีนี้ ยังขาดแคลนงบประมาณ
  2. ในกรณีที่ผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน ได้รับการดูแลรักษาจนอาการดีแล้ว แต่ต้องการการดูแลต่อในโรงพยาบาล ซึ่งบางครั้งอาจต้องใช้เวลาเป็นเดือน ทำให้โรงพยาบาลตติยภูมิอย่างเช่นโรงพยาบาลราชวิถี ไม่มีเตียงเพียงพอที่จะรับคนไข้ใหม่
    จำเป็นต้องมีโรงพยาบาลทุติยภูมิ รองรับ
  3. การส่งรถฉุกเฉิน ไปให้ความช่วยเหลือผู้ป่วย ต้องไปถึงได้เร็วขึ้น และมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ให้คะแนนบทความนี้

กรุณาเลือกจำนวนดาว

คะแนนค่าเฉลี่ย 0 / 5. จำนวนผู้ให้คะแนนโวต 0

ยังไม่มีผู้ให้คะแนนบทความนี้

Sending
User Review
0 (0 votes)

Leave a Reply

Translate »