อช.เวียงโกศัยติวเข้มอบรมการป้องกันไฟป่าและหมอกควัน

5
(1)
image_print

เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม ๒2567เวลา08.30 น.ทีโรงยีม ร.ร.สรอยเสรีวิทยา ต.สรอย อ.วังชิ้น จ.แพร่ นายประวิทย์ ใจคำ หัวหน้าอุทยานแห่งชาติเวียงโกศัย ต.แม่เกิ๋ง มอบหมายให้ นายจิรายุทธ จินะวงค์ เจ้าหน้าที่อุทยานฯเป็นประธาน เปิดการ อบรม สัมมนา ประชุมชี้แจง การป้องกันและการแก้ไขปัญหาไฟป่าหมอกควัน ฝุ่นละอองPM2.5 ให้กับ ผู้นำท้องที่ ต.สรอย นำโดยนายอัจฉริยะพงษ์ ปันฟองกำนัน ต.สรอย
วันที่ 18 ธ.ค.67 ต.ป่าสัก มีนายสฤษดิ์ ชัยชนะ กำนันต.ป่าสัก พร้อมด้วยผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วย คณะกรรมการหมู่บ้าน คนที่มีที่นาที่สวนติดป่าและผู้ที่ออกหาของในป่า หมู่บ้านละ 20 คน ต.สรอย มี 11 หมู่บ้าน
220 คนต.ป่าสักมี 10หมู่บ้าน
200คน รวม420คน

มีหัวหน้าส่วน หน่วยงานราชการ ประกอบด้วย

พ.จ.อ.สรวีย์ วงค์ปัญญาไว ปลัดฝ่ายความมั่นคง อ.วังชิ้น นายอนุรักษ์ แก้ววงค์ ปลัดฝ่ายป้องกันฯ อ.วังชิ้น

พ.ต.ท.สุรวิชญ์ สุวรรณรัตน์ สว .สภ.สรอย นายตุลย์ ทิพยจันทร์ เกษตร อ.วังชิ้น นายกฤตภาส จันจิรา นักวิชาการ ส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ อ.วังชิ้น หน่วยงานพัฒนาป่าไม้วังชิ้น นายอัมพร ฐานะวุฒิกุล นายก อบต.สรอย

ตัวแทนแต่ละหน่วยงาน ได้แนะนำตัว พร้อมกับชี้แจงแจ้งให้กับผู้เข้าร่วมอบรมสัมนาว่า ปัญหาไฟป่าหมอกควันที่เกิดขึ้นทุกปี เป็นปัญหาที่ซ้ำซากและไม่ใช่เกิดที่ประเทศไทยที่เดียว มีเกือบทั่วโลก เรามักเรียกกันจนติดปากว่า ไฟป่าเมื่อสมัยก่อนอาจเกิดจากธรรมชาติจริง เพราะป่าอุดมสมบูรณ์ขึ้นหนาแน่น เกิดการเสียดสีด้วนยแรงลมทำให้ร้อนแล้วเกิดประกายไฟหรือ ฟ้าผ่า ลงมาเกิดประกายไฟไหม้ป่าตามที่พวกเราได้เรียนมา ในยุคดึกดำบรรพ์นอาจเป็นเช่นนั้น แต่ในปัจจุบันนั้นไม่ใช่ ส่วนมากเกิดจากฝีมือของคน มนุษย์ที่ว่าประเสริฐนักหนา แต่เป็นคนร้ายที่ทำ ทำลายธรรมชาติ เข้าไปบุกรุกถิ่นที่อยู่ของสัตว์ป่า แผ้วถางป่า ทำไร่เลื่อนลอย ปลูกข้าว ข้าวโพด เวลาจุดไฟเผาพื้นที่แผ้วถางเพื่อเป็นที่ทำกิน แล้วไม่ได้ทำแนวกันไฟไว้ เมื่อจุดไฟเผาจึงเกิดไฟไหม้ลุกลาม เข้าป่าเป็นบริเวณกว้าง จึงเป็นต้นเหตุ และสาเหตุของการเกิดมีลพิษทำลายระบบนิเวศน์วิทยา สัตว์ใหญ่ สัตว์เล็กถูกทำลายลง ขาดความสมดุลทางธรรมชาติ

ดังนั้น การอบรม สัมมนาในปีนี้ เราต้องมารณรงค์ ช่วยกันประชาสัมพันธ์ สร้างจิตสำนึกให้กับคนที่เข้าไปล่าสัตว์ หาของป่าและผู้ที่มีที่นาที่สวนติดป่า ให้รู้ถึงโทษ คุณประโยชน์ ที่พวกเราได้ใช้จากผืนป่า ซึ่งเป็นบ่อเกิดต้นน้ำลำธาร และอาหารที่เราไปหาได้มาหล่อเลี้ยงชีวิต ไม่ว่าคนหรือสัตว์ เราต้องช่วยกันดูแล หวงแหนผืนป่าเอาไว้ ไม่ให้ถูกทำลายเพิ่มขึ้น ผืนป่าในประเทศไทยถ้าพวกเราได้ศึกษาดูจะเห็นว่าป่า ได้ถูกบุกรุกทำลายด้วยฝีมือคนไปเกือบ ครึ่งหนึ่งของป่า มีปัจจัยหลายอย่างมาจากขาดการศึกษา เศรษฐกิจ สังคม (ความยากจน) และความโลภเห็นแก่ตัวของพวกนายทุน ที่มีอิทพลด้านการเงินไป กว้านซื้อที่ดินมาเป็นของตน คนที่ขาย ก็ไปแผ้วถางบุกรุก เผาป่าต่อไปเป็นวงจรอุบาศก์ ไม่มีสิ้นสุด ที่นี้เราจะทำอย่างไรต่อไป ที่ไม่ให้คนเราเข้าไปบุกรุก แผ้วถาง จุดไฟชีพเผาป่า ที่นา ไร่ สวน ที่พวกเราต้องลำบาก เจ็บป่วย ด้วยโรคระบบทางเดินหายใจ เช่น หอบหืด ถูงลมโป่งพอง ภัยแล้งน้ำในลำห้วยไม่มี นี่คือปัญหาที่เกิดขึ้นในพื้นที่ เพราะฉะนั้น เราต้องหันหน้ามารวมพลังสร้างความสามัคคี ปลูกจิตใต้สำนึกให้คนเรารู้คุณค่าของป่า โทษของการจุดไฟเผาป่า เผาไร่น่ เรือกสวน ที่ทำให้เกิดมลภาวะอากาศเป็นพิษเราจะทำอย่าไร มีวิธีการแก้ไขยังไง แบบไหน เมื่อคนในพื้นที่เรามาช่วยกันแล้ว หน่วยงานต่างๆต้องมาให้การสนับสนุนสร้างอาชีพใหม่ ปลูกป่าทดแทน อบรมให้ความรู้จักการใช้ธรรมชาติอยู่ร่วมกันได้อย่างลงตัว โดยนำวัสดุเหลือใช้ เช่น ไม้ ตอไม้ ซังข้าว ข้าวโพดมาปรับปรุง ประดิษฐ์ เป็นสินค้าจำหน่าย สร้างนวัตกรรม ส่งเสริมการท่องเที่ยว เชิงระ
บบนิเวศวิทยา รัฐบาลต้องหันมาดูแลเอาใจใส่ มีนโยบายชัดเจน ป้องกันแก้ไข ปัญหาเหล่านี้ได้ให้หมดไปในระยะยาวให้ยั่งยืน ปฎิบัติได้จริงจังต่อเนื่อง สิ่งสำคัญคือการศึกษาและอาชีพ ควบคู่กันไป อุปกรณ์การดับไฟ ต้องทันสมัย ทันเหตุการณ์ ที่ผ่านมามีแต่คำสั่ง นโยบายที่สวยหรู เงินงบประมาณที่สนับสนุนก็มีน้อย ปล่อยให้หน่วยงานที่ปฎิบัติ ทำตามมีตามเกิดให้พ้นวัน พ้นปี แล้วรายงาน เท่านั้น ปัญหาเหล่านี้ จึงไม่หมดไป ซักที ข้าราชการชั้นผู้น้อยจึงต้องมาทำแบบนี้ ปีหนึ่งก็ทำครั้งหนึ่ง เป็นวัฎจักรต่อไป

ให้คะแนนบทความนี้

กรุณาเลือกจำนวนดาว

คะแนนค่าเฉลี่ย 5 / 5. จำนวนผู้ให้คะแนนโวต 1

ยังไม่มีผู้ให้คะแนนบทความนี้

Sending
User Review
0 (0 votes)

Leave a Reply

Translate »