รมว.พม. และคณะผู้บริหารลงพื้นที่จังหวัดยะลา เร่งพัฒนาคุณภาพชีวิตกลุ่มโอรังอัสลี พร้อมบูรณาการหน่วยงานช่วยเหลือกลุ่มเปราะบางในพื้นที่

0
(0)
image_print

เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2564 ที่ห้องประชุมน้อมเกล้า ชั้น 1 ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ นายจุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (รมว.พม.) พร้อมคณะผู้บริหาร ลงพื้นที่จังหวัดยะลา เพื่อบูรณาการพัฒนาคุณภาพชีวิตกลุ่มโอรังอัสลี พร้อมหารือบูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อช่วยเหลือกลุ่มเปราะบางรายครัวเรือน โดยมี พลเรือตรี สมเกียรติ ผลประยูร เลขาธิการ ศอ.บต.พร้อมด้วย นายชัยสิทธิ์ พานิชพงษ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา ผู้อำนวยการสำนักงานหลักประกันชาติ เขต 12 สงขลา นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยะลา ผู้ช่วยเลขาธิการ ศอ.บต. ผู้แทนสถานีตำรวจภูธรภาค 9 จังหวัดยะลา ผู้แทน กอ.รมน.ภาค 4 สน . รวมทั้ง หัวหน้าส่วนราชการ ภาคประชาสังคม บัณฑิตอาสาฯ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวร่วมให้การต้อนรับ
ในโอกาสนี้มีการมอบบัตรประจำตัวประชาชนแก่กลุ่มโอรังอัสลี โดยผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา มอบแก่ นายเด็ง รักษ์ฮาลา หัวหน้ากลุ่มโอรังอัสลี ทั้งนี้ รมว.พม.ได้มอบหนังสืออนุญาตให้ใช้ประโยชน์ที่ดินในเขตนิคมสร้างตนเองเบตง จำนวน 30 ไร่ แก่เลขาธิการ ศอ.บต. เพื่อได้ใช้ประโยชน์ส่วนรวมแก่กลุ่มโอรังอัสลี และมอบสิทธิสวัสดิการของรัฐต่างๆ เช่น เงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด เงินสงเคราะห์ บัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า และสิทธิโครงการเราชนะ ให้สามารถเข้าถึงสวัสดิการของรัฐและตั้งถิ่นฐานในลักษณะนิคมสร้างตนเอง ตามแนวทางพระราชดำริในสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทั้งนี้ มอบชุดอุปกรณ์ประกอบอาชีพทำขนมและทุนประกอบอาชีพแก่แม่เลี้ยงเดี่ยวแก่ นางฟาอีซะ อาริง ในการนี้ หัวหน้าส่วนราชการได้ร่วมมอบบัตรประจำตัวอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.) และใบประกาศ แก่บัณฑิตอาสาฯ แกนนำ อำเภอ 44 อำเภอๆ ละ 1 คน ตลอดจนมอบอุปกรณ์การเรียนตาดีกา จำนวน 2 แห่ง ได้แก่ ศูนย์การเรียนประจำตาดีกา มิฟตัลฮูลญันนะห์ บ้านเบ้อเส้ง และศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด (ตาดีกา)อิสกอมะห์ อีกด้วย

รมว.พม.ได้เปิดเผยว่า วันนี้ลงพื้นที่ในฐานะตัวแทนรัฐบาลมาร่วมกันกับ ศอ.บต. และผู้ว่าราชการจังหวัด ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้มอบหมายให้บูรณากระทรวงร่วมกันแก้ไขกลุ่มเปราะบางในพื้นที่ซึ่งจังหวัดยะลามีกลุ่มเปราะบางทั้งพ่อแม่เลี้ยงเดี่ยว ผู้พิการ และเด็กกำพร้าจำนวนมาก จะต้องเข้ามาดูแลครอบครัวเพื่อแก้ไขปัญหาให้พ้นจากวงจรความยากจนความเหลื่อมล้ำ สร้างความเข้าใจตั้งเป้าหมายร่วมกันทำงานกันเป็นทีมประเทศไทย โดยกำหนดเป้าหมายทุกๆ ปีให้สามารถลดปัญหาอย่างต่อเนื่อง และสามารถจับต้องได้ เป็นการปฏิรูปการทำงานอย่างหนึ่งของรัฐบาลที่ต้องการเข้าถึงพี่น้องประชาชน สำหรับโครงการโอรังอัสลีมีความคืบหน้าจากที่เคยได้บัตรประชาชนชั่วคราววันนี้ได้บัตรประชาชนตัวจริงและได้มีที่ดินทำกิน รวมทั้งสวัสดิการของรัฐต่างๆ เจตจำนงของรัฐบาลคือ “เราจะไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง”
ด้าน เลขาธิการ ศอ.บต. กล่าวว่า ปัญหาในพื้นที่ จชต. มี 2 ส่วนที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์และสังคม ส่วนที่ 1 คือเรามีพี่น้องประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบฯ ทำให้เกิดกลุ่มเปราะบาง ส่วนที่ 2 คือสภาพพื้นฐานของ จชต. เป็นเรื่องของชีวิตความเป็นอยู่ด้านคุณภาพชีวิตที่มีความเหลื่อมล้ำในพื้นที่ ตั้งแต่ด้านการศึกษาและทรัพยากรมนุษย์ รวมถึงกลุ่มเปราะบาง 13 ประเภท วันนี้ถือเป็นโอกาสดีที่ทาง รมว.พม. และคณะฯ ลงพื้นที่มาเยี่ยมสร้างขวัญและกำลังใจในการขับเคลื่อนการพัฒนาบูรณาทุกภาคส่วนราชการจะเป็นกลไกลสำคัญที่คลี่คลายปัญหาที่ดำรงอยู่ใน จชต.ได้ โดยศอ.บต.จะทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางการพัฒนา ประสานงานและการเชื่อมโยงในทุกๆ มิติ
นอกจากนี้ รมว.พม.และคณะผู้บริหารได้ร่วมประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องภายใต้โครงการบูรณาการเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตกลุ่มเปราะบางรายครัวเรือน 12 กระทรวง (MOU) และทีมพม.One Home จังหวัดยะลา ซึ่งการประชุมในครั้งนี้ เพื่อร่วมกันหาแนวทางช่วยเหลือกลุ่มเปราะบางในพื้นที่ให้ครอบคลุมในทุกมิติแบบองค์รวมในการเข้าถึงสวัสดิการของรัฐด้วยการขับเคลื่อนบูรณาทุกส่วนราชการในพื้นที่

ภาพ/ข่าว.นายปรีชา สถิตย์เรืองศักดิ์ / หาใหญ่ จ.สงขลา

ให้คะแนนบทความนี้

กรุณาเลือกจำนวนดาว

คะแนนค่าเฉลี่ย 0 / 5. จำนวนผู้ให้คะแนนโวต 0

ยังไม่มีผู้ให้คะแนนบทความนี้

Sending
User Review
0 (0 votes)

Leave a Reply

Translate »