ประมงจังหวัดน่านพร้อมด้วยหน่วยป้องกันและปราบปรามประมงน้ำจืดเขื่อนสิริกิติ์ (อุตรดิตถ์) ได้ทำการตรวจยึดเครื่องมือทำการประมงที่ผิดกฎหมายตาม พรก.ประมงปี 2558 ในพื้นที่จังหวัดน่าน

0
(0)
image_print

เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2567 ตั้งแต่เวลา 09.00 – 16.30 น. ประมงจังหวัดน่านพร้อมด้วยหน่วยป้องกันและปราบปรามประมงน้ำจืดเขื่อนสิริกิติ์ (อุตรดิตถ์) ได้ทำการตรวจยึดเครื่องมือทำการประมงที่ผิดกฎหมายตาม พรก.ประมงปี 2558 ในพื้นที่จังหวัดน่านและประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดพื้นที่และระยะเวลาฤดูสัตว์น้ำจืดมีไข่ หรือวางไข่ เลี้ยงตัวอ่อน และกำหนดเครื่องมือ วิธีการทำการประมง และเงื่อนไขในการทำการประมง พ.ศ. 2566

นายศุภกิจ สมฤทธิ์ หัวหน้าหน่วยป้องกันและปราบปรามประมงน้ำจืดเขื่อนสริกิติ์ (อุตรดิตถ์) เปิดเผยว่า ได้รับแจ้งจากสายข่าวว่าได้มีคนลักลอบใช้เครื่องมือกระแส ไฟฟ้าช๊อตปลา บริเวณน้ำว้า ต.ส้านนาหนองใหม่อ.เวียงสา จ.น่าน จึงเข้าไปตรวจสอบตามที่ได้รับแจ้ง แต่ผู้ต้องหาใช้ความ ชำนาญในพื้นที่หลบหนีและวิ่งขึ้นฝั่งไปได้ทิ้งของกลางไว้ จึงได้ทำการตรวจยึดของกลางทั้งหมดนำส่งพนักงานสอบสวน สภ.เวียงสา เพื่อบันทึกไว้เป็นหลักฐาน ซึ่งการใช้เครื่องมือช๊อตปลาประเภทนี้ทำให้ ปลาเล็กปลาน้อยตายไปด้วย และเป็นอันตรายถึงชีวิตทั้งหมดเป็นการทำลาย ระบบนิเวศน์ ขาดความสมดุล ทำลายทรัพยากรธรรมชาติ และกระทบวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของ พี่น้องประชาชนเพราะมันจะส่งผลต่อ การเจริญเติบโตของการสืบพันธุ์สัตว์น้ำ การวางไข่ เพราะปลาที่ได้จะเป็นปลาขนาดเล็ก จึงได้ให้เจ้าหน้าที่ประมง ออกตรวจ และจับกุมผู้ที่ใช้ เครื่องมือจับปลาที่ผิดกฎหมาย พร้อมทั้งให้ตักเตือนและประชาสัมพันธ์ไม่ให้ชาวบ้านใช้เครื่องมือจับปลาที่ผิดกฎหมายในแหล่งน้ำสาธารณะ หากฝ่าฝืน ผู้กระทำผิด ลักลอบใช้กระแสไฟฟ้าทำการประมง ผู้ผ่าฝืนมีโทษปรับ 200,000 -1,000,000 ลอบพับได้ ผู้ฝ่าฝืนมีโทษปรับ 10,000 – 100,000 บาท ต่อมาได้นำของกลางทั้งหมดไปลงประจำวันบันทึกตรวจยึดกับ ร.ต.อ.จารกิตติ์ ทนันชัย รอง สว.(สอบสวน) สภ.เมืองน่าน จว.น่าน ได้รับแจ้งไว้แล้ว ก่อนนำของกลางไปเก็บไว้ที่ประมงจังหวัดน่าน

ด้านนายคฑาวุธ ปานบุญ ประมงจังหวัดน่าน กล่าวว่า ทั้งนี้ประมงจังหวัดน่านได้ประกาศว่า ฤดูน้ำแดง เริ่มตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม – 15 สิงหาคม 2567 ห้ามมิให้ผู้ใดทำการประมงด้วยเครื่องมือทำการประมงหรือด้วยวิธีการใดๆ ในเขตพื้นที่กับสัตว์น้ำจืดท้องที่จังหวัดน่าน ทั้งนี้ หากผู้ใดฝ่าฝืนตามประกาศฯ มาตรา 70 แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ.2558 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มีโทษปรับ ตั้งแต่ 5,000 – 50,000 บาท หรือปรับจำนวนห้าเท่าของมูลค่าสัตว์น้ำที่ได้จาก การทำประมงเครื่องมือวิธีการทำการประมงที่อนุญาตให้ สามารถทำการประมง ในฤดูสัตว์น้ำจืด มีไข่ได้ มีดังนี้ เบ็ดทุกชนิด ยกเว้น เบ็ดราว เบ็ดพวงที่ทำการประมงโดยวิธีการกระชาก หรือการใช้เครื่องมืออื่นใดที่มี ลักษณะคล้ายคลึงกันตะแกรง สวิง ช้อน ยอ หรือชนาง ซึ่งขนาดปากกว้างไม่เกิน 2 เมตร และไม่ทำการประมงด้วยวิธีประดาเดินเรียงหน้าพร้อมๆ กัน ตั้งแต่ 3 เครื่องมือขึ้นไป สุ่ม ฉมวก และส้อม ไซ ตุ้ม อีจู้ ลัน แหที่มีความลึกไม่เกิน 6 ศอก (3 เมตร) โดยเครื่องมือที่ให้ใช้ได้ ได้แก่เบ็ดทุกชนิด (ยกเว้นเบ็ดราว เบ็ดพวง ตะแกรง สวิง ช้อน ยอ หรือ ชนาง (ปากกว้างไม่เกิน 2 เมตร และไม่ให้ทำการประมงด้วยวิธีประดาตั้งแต่สามเครื่องขึ้นไป) สุ่ม ฉมวก ส้อม ไซ อีจู้ ตุ้ม ลัน แห (ความลึกไม่เกิน 6 ศอก หรือ 3 เมตร) สำหรับการทำการประมงเพื่อการศึกษา วิจัย ทดลองทางวิชาการ หรือในพื้นที่โครงการที่ดำเนินการ ของทางราชการ ต้องได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากอธิบดีกรมประมง และสำหรับการช่วยชีวิตของสัตว์น้ำจะต้องเป็น เจ้าหน้าที่สังกัดกรมประมง หรือภายใต้การควบคุมของเจ้าหน้าที่สังกัดกรมประมง อนึ่งหากคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดออกประกาศกำหนดพื้นที่ เครื่องมือ วิธีการทำ และเงื่อนไขในการทำการประมงไว้เป็นอย่างอื่น ให้ถือปฏิบัติตามประกาศฉบับนั้น

@@@@@@@@@

ประสิทธิ์ สองเมืองแก่น

ให้คะแนนบทความนี้

กรุณาเลือกจำนวนดาว

คะแนนค่าเฉลี่ย 0 / 5. จำนวนผู้ให้คะแนนโวต 0

ยังไม่มีผู้ให้คะแนนบทความนี้

Sending
User Review
0 (0 votes)

Leave a Reply

Translate »