นายแพทย์ทศพร เสรีรักษ์ประธานกรรมาธิการ การสาธาณสุข สส.แพร่เขต1พรรคเพื่อไทยได้ประชุมคณะกรรมาธิการ

5
(1)
image_print

ประชุมคณะกรรมาธิการการสาธารณสุข ครั้งที่ 22 วันพุธ ที่ 24 เม.ย. 67 13:30น. พิจารณาศึกษาแนวทางการเข้าถึงบริการทางการแพทย์เพื่อยุติการตั้งครรภ์ตามกฎหมาย โดยเชิญผู้ซี้แจงดังนี้
1.ปลัดกระทรวงสาธารณสุข
2.ประธานราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย
3.ผู้แทนกลุ่มทำทาง และคณะ

โจทย์ = ให้สุภาพสตรีสามารถเข้าถึงการ ทำแท้งอยากถูกกฎหมาย
การใช้ยายุติการตั้งครรภ์ในอายุครรภ์ ต่ำกว่า 12 สัปดาห์ มีประสิทธิภาพ และปลอดภัย 95%

ปัจจุบัน สปสช.สนับสนุนค่าบริการยุติการตั้งครรภ์ 3,000 บาท และค่าอัลตราซาวด์ เพื่อทราบอายุครรภ์

  • ประชาชนส่วนมาก ไม่ทราบว่ามีหน่วยงานสนับสนุน ควรมีการประชาสัมพันธ์มากขึ้น
  • โรงพยาบาล ไม่ยินดีให้บริการ เนื่องจากบุคลากรมีทัศนคติ ไม่เห็นด้วยกับการ ทำแท้ง
  • รัฐ ไม่ประกาศรายชื่อสถานบริการให้ประชาชนทราบ ผู้รับบริการเข้าถึงการทำแท้ง ช้า ส่งผลต่ออายุครรภ์ที่เพิ่มมากขึ้น ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น
  • ประชาชนเข้าไม่ถึงบริการที่ปลอดภัย ถูกหลอกให้ซื้อยาออนไลน์ เสี่ยงอันตราย
  • ในแต่ละจังหวัด ควรมี 1 สถานบริการ ที่สามารถให้บริการทำแท้งได้
  • สามารถจะสร้าง incentive ให้กับหมอที่ทำการยุติการตั้งครรภ์ได้หรือไม่
    ไม่ควรวางภาระให้กับหมอรุ่นใหม่เพียงอย่างเดียว, ควรมีการสร้างมาตรฐานให้กับหมอรุ่นเก่าด้วย
    เพราะผู้เข้ารับบริการไม่สามารถเลือกหมอที่จะเข้าพบเพื่อปรึกษาได้
  • ควรมี Timeframe ที่ชัดเจน ในการจัดการปัญหา เช่น เราจะเพิ่มดวามเข้าใจต่อหมอยุคเก่าได้ กี่ % ภายในกี่ปี
    มีหมอที่พร้อมที่จะทำ แต่ผู้อำนวยการไม่อนุญาต

กลุ่มทำทางจะส่งรายละเอียดและข้อมูลมาให้กรรมาธิการและกระทรวงสาธารณสุขเพื่อให้กระทรวงสาธารณสุขดำเนินเรื่องต่อ

ความคิดเห็นกระทรวงสาธารณสุข
ปัญหาที่พบเจอคือทัศณคติของบุคลากรที่ให้บริการ เนื่องจากความเชื่อทัศณติดั้งเดิม ซึ่งไม่สามารถไปบังดับให้ทำได้ โดยส่วนมากเป็นกลุ่มบุคลากร อายุ
60 ปีขึ้นไป, หรือกลุ่มบุคลากรที่ไม่ยอมทำแท้งให้ผู้เข้ารับบริการ แต่แนะนำได้
สาเหตที่ไม่ประกาศสถานที่พยาบาล เพื่อป้องกันการ over load ของหน่วยบริการ
แนะนำให้ประชาชน เข้ารับการปรึกษาออนไลน์ ก่อนจะ walk-in เข้าไปรับบริการเลย

ปัญหาและอุปสรรค
1.ทัศนคติและสังคม
2.แนวทางการดำเนินงานและระบบบริการ
การดำเนินการในอนาคต
1.ขยายแนวร่วมและพัฒนาศักยภาพในการให้บริการปรึกษา
2.ปรับทัศนคติ สร้างความเข้าใจ และปรับมุมมองของสังคมต่อการให้บริการยุติการตั้งครรภ์
3.ปรับปรุงระบบบริการ และจำนวนสถานบริการ
รับเรื่องการตั้ง kpi เพื่อจัดการปัญหา แต่อาจจะไม่สามารถทำให้ effective ได้ 100% เนื่องด้วยอุปสรรค ทางสังคม เช่น ความเชื่อ และ ศาสนา

ความคิดเห็นราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์

  • ควรมีการ re-assure ผู้เข้ารับบริการว่า การทำแท้งนั้นปลอดภัยเพื่อให้ผู้เข้ารับบริการเข้าใจและมั่นใจในการเข้ารับบริการ
  • ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่งกับการนำยายุติการตั้งครรภ์เป็นยาสามัญประจำบ้าน อย่างไรก็ตาม ควรมีแพทย์หรือเภสัชจ่ายยาและแนะนำการใช้ที่ถูกต้อง
  • ให้ตามหาโรงพยาบาลในกรุงเทพ ที่สามารถให้บริการได้
  • ควรมีการประชาสัมพันธ์ทางอ้อม เช่น มุ่งเน้นไปที่การให้คำปรึกษาก่อน ถึงจะขยับไปที่การยุติการตั้งครรภ์ เพื่อเคารพความเห็นของกลุ่มคนที่มีทัศนคติ ไม่เห็นด้วยกับการตั้งครรภ์

ความคิดเห็นกรรมาธิการ

  • มีมาตรการป้องกันบ้างไหม ก่อนจะมาถึงประเด็นการยุติการตั้งครรภ์ ควรจะเป็นสิ่งที่ทำควบคู่กันไป
    การยุติการตั้งครรภ์
  • ยังไม่ใช้โรคบังดับ ซึ่งปัจจุบัน หมอยังมีสิทธิ์ที่จะเลือกได้ ว่าจะทำหรือไม่ทำให้
  • ควรมีการสร้าง Incentive ให้กับหมอที่พร้อมจะทำแท้งให้ประชาชน
  • สามารถมีหลักสูตรพิเศษเกี่ยวกับการทำแท้งให้กับบุคลากรทางแพทย์ได้หรือไม่
  • สายด่วน 1163 สามารถเป็นจุดแข็งที่เด่นที่สุดได้หรือไม่ และควรปรับปรุงระบบ Telemedicine
  • ควรมีการปกป้องบุคลากรทางแพทย์ที่ทำการยุติการตั้งครรภ์
  • การไม่ให้บริการเป็นการผลักภาระให้กับแม่และเด็ก
  • สามารถต่อสู้ทาง technology กับเว็บขายยายุติการตั้งครรภ์เถื่อน ได้หรือไม่ เช่นให้ search engine direct คำค้นหามาเว็ปไซต์ official แทนเว็บเถื่อน
  • การประชาสัมพันธ์ สามารถแย่งกลุ่ม target อย่างชัดเจนได้
  • สามารถใช้ social media ในการเปลี่ยนทัศนคติได้
  • สามารถขอ sponsorship จาก marketing agency ได้ เพื่อช่วยสนับสนุนการประชาสัมพันธ์

ให้คะแนนบทความนี้

กรุณาเลือกจำนวนดาว

คะแนนค่าเฉลี่ย 5 / 5. จำนวนผู้ให้คะแนนโวต 1

ยังไม่มีผู้ให้คะแนนบทความนี้

Sending
User Review
0 (0 votes)

Leave a Reply

Translate »