นายกฤชทัพ ชะนิดไทย นายอำเภอทุ่งเสลี่ยม จังหวัดสุโขทัย เป็นประธาน การประชุมสัมมนา ครั้งที่ 2 งานจ้างศึกษาออกแบบรายละเอียดในการขุดลอก และฟื้นฟูแม่น้ำมอก (น้ำแม่มอก) อ.ทุ่งเสลี่ยม จ.สุโขทัย

0
(0)
image_print

!!! กรมเจ้าท่า ! ฟื้นฟูแม่มอก (น้ำแม่มอก) อ.ทุ่งเสลี่ยม จ.สุโขทัย ! วันนี้ที่ 17 มีนาคม 2565 เวลา 10.00 น. นายวิรุฬ พรรณเทวี ผู้ว่าราชการจังหวัดสุโขทัย มอบ นายกฤชทัพ ชะนิดไทย นายอำเภอทุ่งเสลี่ยม จังหวัดสุโขทัย เป็นประธาน การประชุมสัมมนา ครั้งที่ 2 งานจ้างศึกษาออกแบบรายละเอียดในการขุดลอก และฟื้นฟูแม่น้ำมอก (น้ำแม่มอก) อ.ทุ่งเสลี่ยม จ.สุโขทัย โดยมี นายศิริโชค สุขกันต์ ประธานกรรมการ/วิศวกร ชำนาญการพิเศษ กล่าวรายงาน ณ ศาลาการเปรียญ วัดทุ่งเสลี่ยม (วัดหลวงพ่อศิลา) อำเภอทุ่งเสลี่ยม จังหวัดสุโขทัยซึ่งที่ผ่านมาได้มีการประชุมไปแล้วนั้นซึ่งในการจัดสัมมนาครั้งแรกทางคณะที่ปรึกษาได้เข้ามารับฟังความคิดเห็นถึงปัญหา อุปสรรค และความต้องการของชุมชน สำหรับการจัดสัมมนาครั้งที่2 นี้ทางคณะที่ปรึกษาฯ จะได้เข้ามานำเสนอ ผังแม่บทในการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และพัฒนาลำน้ำแม่มอก อย่างบูรณาการ โดยได้ทำการออกแบบรายละเอียดของลำน้ำที่จะให้มีความกว้าง ความลึก และความลาดชัน ให้เหมาะสม รวมทั้ง ได้มีการออกแบบเบื้องต้น ของฝาย แก้มลิง วังปลา อัฒจันทร์ สวนสาธารณะ ทางเดิน และทางจักรยาน รวมทั้งได้มีการระบุพิกัดพร้อมทั้งการจัดทำแผนงานโครงการ เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง นำไปปฎิบัติให้เกิดเป็นรูปธรรมต่อไป ซึ่งตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาคณะที่ปรึกษาฯได้ส่งทีมงานสำรวจเข้ามาดำเนินการ และได้รับความร่วมมือ ความช่วยเหลือ และความมีน้ำใจ จากผู้นำ และประชาชนในอำเภอทุ่งเสลี่ยม และอำเภอใกล้เคียงเป็นอย่างดีเยี่ยม


ซึ่งในการพัฒนาแม่น้ำมอกซึ่งในด้านการพัฒนาแบบแยกส่วนร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในแต่ละมิคิ ลำน้ำแม่มอก มีต้นน้ำจากดอยขุนแม่มอก จังหวัดลำปาง ไหลมารวมกันที่อ่างเก็บน้ำแม่มอก ในตำบลเวียงมอก อำเภอเถิน จังหวัดลำปาง เป็นระยะทางประมาณ 70 กิโลเมตร จากด้านท้ายน้ำของอ่างน้ำแม่มอก จะไหลผ่านอำเภอทุ่งเสลี่ยม จังหวัดสุโขทัย ไปทางทิศตะวันออก แล้วไหลลงทางใต้ไปบรรจบคลองวังทองแดง ที่อำเภอศรีสำโรง มีระยะทางประมาณ 66 กิโลเมตร จากคลองวังทองแดงไหลมาบรรจบกับแม่น้ำยม ที่อำเภอเมืองสุโขทัย เป็นระยะทางอีกประมาณ 22 กิโลเมตร
ในการพัฒนาลำน้ำแม่มอก ของอำเภอทุ่งเสลี่ยม จังหวัดสุโขทัยจึงมีความจำเป็นที่จะแก้ไขปัญหาดังกล่าว จึงจะเป็นการฟื้นฟูลำน้ำให้มีชีวิตขึ้นใหม่ เพื่อเป็นแหล่งของน้ำใช้ เพื่อการอุปโภคบริโภคของราษฎรใช้เลี้ยงสัตว์ ใช้สำหรับการเพาะปลูกพืชไร่ในฤดูแล้ง ใช้เป็นแหล่งน้ำสำรองสำหรับการปะปา ใช้เป็นแหล่งเพาะพันธ์สัตว์น้ำการประมงน้ำจืด เพื่อการบริโภคในครัวเรือน การพักผ่อนหย่อนใจ การท่องเที่ยว รวมทั้งเรื่องของการดำรงไว้ซึ่งศิลปวัฒนธรรม เช่น ประเพณีลอยกระทง นอกจากนี้ ชุมชนสองฝั่งลำน้ำแม่มอก ยังมีการรวมตัวอย่างเข้มแข็ง พร้อมที่จะร่วมกันพัฒนาโครงการดังกล่าว ภายใต้การพัฒนาอย่างสมดุล ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม เพื่อความสุขของชุมชน อย่างยั่งยืน ตลอดไป

ให้คะแนนบทความนี้

กรุณาเลือกจำนวนดาว

คะแนนค่าเฉลี่ย 0 / 5. จำนวนผู้ให้คะแนนโวต 0

ยังไม่มีผู้ให้คะแนนบทความนี้

Sending
User Review
0 (0 votes)

Leave a Reply

Translate »