วันนี้ 21 คุลาคม 2564 ที่บ้านของนายสมเดช หวังแอ อายุ 57 ปี ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ 3 ต.นาหมอศรี อ.นาทวี จ.สงขลา ได้มีการนำกรงต่อนกคุ้มสมัยโบราณ อายุประมาณ 40 ปี มาให้ผู้สื่อข่าวชมเป็นขวัญตา และกรงต่อนกคุ้มก็ทำจากวัตถุดิบธรรมชาติ เช่น หญ้าลิเภา สานเป็นลายลูกแก้ว โครงประด้วยไม้หวายและตาข่ายก็ทำด้วยเชือกเอ็น ส่วนคันทำด้วยไม้ไผ่ วิธีการต่อนกคุ้ม ต้องนำนกคุ้มที่ร้องเสียงดี มาใส่เอาไว้ในกรงต่อ
ต่อจากนั้นก็จะนำไปวางไว้ตามพื้นที่มีนกคุ้มที่อยู่ในป่า นำกรงต่อนกคุ้มไปวางที่บริเวณพื้นแล้วนำใบไม้มาอำพรางกรง ส่วนด้านข้างของกรงต่อจะมีไม้ดักอยู่ทั้ง 2 ข้างด้านหน้าของกรงต่อ ต่อจากนั้นก็รอให้นกคุ้มที่อยู่ภายในกรงต่อส่งเสียงร้อง เพื่อให้นกคุ้มในป่าออกมา ส่งเสียงร้องและเข้ามาตีกับนกต่อ กรงต่อก็จะตีนกคุ้มป่าให้เข้าไปอยู่ในกรงต่อทันที ส่วนนกคุ้มป่าบางตัวที่เดินผ่านไปมารอบกรงต่อ หากเดินเข้าไปในไม้ดักนกด้านข้างก็จะถูกตาข่ายจับได้ทันทีเช่นกัน ซึ่งการต่อนกคุ้มคนสมัยก่อนนั้นถือว่าเป็นกีฬาอีกชนิดหนึ่งที่สร้างความสนุกสนานให้กับผู้ที่นำกรงไปต่อนกคุ้ม
นายสมเดช หวังแอ กล่าวว่า ยินดีครับ วันนี้ได้มาเยี่ยมชม”กรงต่อนกคุ้ม”สมัยโบราณ ของนายพราน
สำหรับกรงนกคุ้มเป็นผู้ที่เชี่ยวชาญสมัยก่อนๆได้ทำด้วยหญ้าลิเภา สำหรับกรงนี้อายุ 40 ปี ทำด้วยหญ้าลิเภา และตัวนี้ก็เป็นตาข่ายดัก ความเป็นมา สืบเนื่องมาจากคนสมัยโบราณ เป็นอาหาร หรือเป็น กับแกล้มไว้เวลายามค่ำแล้วก็ได้เป็นอาหาร อาหารที่ปรุงรสเอานกคุ้มมาผัดด้วยมะเขื่อพวง แล้วก็ใบพริกอ่อนๆซึ่งเป็นอาหารของคนสมัยก่อน แต่เดี๋ยวนี้รุ่นลูก รุ่นหลานก็ยังมีให้เล่นให้ชมกันดั่งที่เห็นในภาพ ในจอ กรงต่อนกคุ้มลูกนี้ราคาประมาณ 4,000 บาท ถ้าเป็นราคาแล้วรู้สึกว่าสูง อายุ และความประณีตในการทำ ความละเอียดอ่อนในการทำ ก็เป็นลายลูกแก้ว ครับสำหรับการทำจักสานเป็นลายลูกแก้ว ในส่งนอื่นๆนะครับถือว่าเป็นกีฬาประเภทหนึ่ง เป็นกีฬาประเภทหนึ่งที่ออกไปสนามแล้ว ได้รสชาต ได้เดินป่า ได้ความสนุกสนาน อันนี้ครับเป็นการที่คนบ้านๆเราได้ทำได้ประกอบกิจกรรมถือว่าเป็นการกีฬา ไม่ใช่เป็นการทำลายธรรมชาติ บางครั้งต่อมาไว้สองสามวันแล้วก็ปล่อย ให้คืนสู่ธรรมชาติก็เป็นการกีฬาดังที่เห็นการสู้รบของนกแต่ละตัว การที่ได้มาแต่ละตัว คือการประชันเสียงระหว่างนกต่อกับนกป่า ในเมื่อเกิดการประชันเสียงแล้ว นกป่าจะวิ่งเข้าหาแล้วก็มาชนกับดักที่ดักไว้ ก็มีเพียงเท่านี้ง่ายๆครับ ก็ขอสรุปว่าเป็นกีฬาต่อนก ไม่ใช่เป็นกีฬาที่ทำลายธรรมชาติ
นายปรีชา สถิตย์เรืองศักดิ์ / หาดใหญ่ จ.สงขลา