เชียงใหม่ เทศบาลตำบลปิงโค้งแก้ไขปัญหาหมอกควันไฟป่าจากการเผาซังตอข้าวโพดได้ผล 100 เปอร์เซ็นต์

0
(0)
image_print

เทศบาลตำบลปิงโค้งแก้ไขปัญหาหมอกควันไฟป่าจากการเผาซังตอข้าวโพดได้ผล 100 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งในพื้นที่มีซังข้าวและเศษวัชพืชกว่า 3 ล่นกิโลกรัม โดย เปลี่ยนมาเป็นถ่านอัดต่อซังข้าวโพด รักษ์โลกปลอดภัยจากควัน กลิ่น ให้พลังานความร้อนทนนาน ทำให้ช่วงหน้าหนาวเป็นที่ต้องของบรรดาร้านค้าหมูกระทะ ที่พักตามแหล่งท่องเที่ยวบนดอย ในแต่ละช่วงปีชาวบ้าน 6 ตำบลจากวิสาหกิจชุมชนถ่านอัดแท่งจากซังข้าวโพด มีรายได้เพิ่ม ขณะที่ซังข้าวโพดจากไร้ค่ากลายมามีราคาส่งขายทำพลังานชีวมวล

นางสาวลภัสรดา รติกันยากร ผู้อำนวยการกองสวัสดิการสังคม เทศบาลตำบลปิงโค้ง อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่าทุกปีจังหวัดเชียงใหม่จะเกิดปัญหาหมอกควันจากการเผาในที่โล่งแจ้งและไฟป่า โดยเฉพาะในช่วงปลายปีไปจนถึงเดือนเมษายน ส่วนหนึ่งมาจากการเผาต่อซังข้าวโพด อำเภอเชียงดาวเป็นหนึ่งในอำเภอที่มีการเพาะปลูกมาก 2 หมื่นกว่าไร่ มีผลผลิตกว่า 3 ล้านกิโลกรัมต่อปี โดยเฉพาะในปี 2557 ที่เกิดวิกฤติค่ามลพิษทางอากาศเกิดขึ้นมา กระทรวงพลังงานร่วมกับอำเภอเชียงดาว และเทศบาลตำบลปิงโค้ง แก้ไขปัญหาการเผาในที่โล่งแจ้ง โดยเฉพาะซังข้าวโพด ที่มีจำนวนมากนำตัวอย่างถังเผาขนาด 200 ลิตร แบบไร้กลิ่น ไร้ควัน มาเป็นต้นแบบเพื่อทำถ่านอัดจากซังข้าวโพด ให้กับเกษตรกรในพื้นที่ ได้นำไปใช้แก้ไขปัญหาการเผาในที่โล่งแจ้ง เพราะตั้งแต่เดือนมกราคมจะมีมาตรการห้ามเผาของจังหวัดเชียงใหม่

อย่างไรก็ตามจากปี 2557 มาจนปี 2563 การเผาจากซังข้าวโพด มีกว่า 3 ล้านกิโลกรัม ได้หมดไป 100% กลับสร้างรายได้ให้กับประชาชนจากวิสหกิจชุมชนถ่านอัดแท่งจากซังข้าวโพด 6 ตำบลมีรายได้เพิ่มเฉพาะช่วงมีซังข้าวโพด เกือบ 2 หมื่นบาท จากการขายถ่านอัดซังข้าวโพด เป็นที่ต้องการของท้องตลาดเพราะไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ไร้กลิ่น ไร้ควัน ให้ความร้อนทนนาน ราคาตกกิโลกรัมละ 20 บาท ช่วงฤดูหนาวจะเป็นที่ต้องการของตลาดมาก เพราะ 3-5 ก้อนจะให้ความร้อนนาถึง 2-3 ชั่วโมงเหมาะนำไปปิ้งย่างเป็นอยางมากเป็นพลังงานความร้อนเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ซังข้าวจากไร้ค่าเป็นปัญหาขยะ ที่ต้องกำจัดด้วยการเผาทิ้ง แต่มาตอนนี้กลับมามีราคากิโลกรัมละ 1 บาท มีบริษัทเอกชนเข้ามารับซื้อไปทำพลังงานชีวมวล ซึ่งทำให้ในพื้นที่อำเภอเชียงดาวแก้ไขปัญหาจากการเผาในที่โล่งจากซังข้าวโพด ต่อซังข้าว และเศษวัชพืชต่างๆได้ลงไปถึง 100 % โดยเศษวัชพืชจะนำภูมิปัญหาคนโบราณทำเสวียน ในชาบ้านในชุมชนนำมาใช้เพื่อทำปุยหมัก ใช้ในครัวเรือนได้ หรือจำหน่ายเป็นรายได้เสริมอีกทางหนึ่ง แต่ปัญหาหมอกควันพิษที่ควบคุมอยากคือการเผาในป่า ยังเป็นปัญหาที่ทุกภาคส่วนร่วมกันแก้ไขปัญหาจะมีการควบคุมการเข้าป่าเพื่อหาของป่า โดยกำนันผู้ใหญ่บ้านจะให้เข้ามาลงชื่อจุดที่เดินทางเข้าไปง่ายต่อการตรวจสอบ

ให้คะแนนบทความนี้

กรุณาเลือกจำนวนดาว

คะแนนค่าเฉลี่ย 0 / 5. จำนวนผู้ให้คะแนนโวต 0

ยังไม่มีผู้ให้คะแนนบทความนี้

Sending
User Review
0 (0 votes)

Leave a Reply

Translate »