สหประชาชาติเพิ่มงบช่วยเหลือชาวเขาไร้สถานะทางทะเบียน 8 หมู่บ้าน ในจังหวัดเชียงราย หลังโควิดระบาดยืดเยื้อ

0
(0)
image_print

รัฐบาลญี่ปุ่น สนับสนุนงบประมาณในนาม UNDP ร่วมกับ มูลนิธิพัฒนาชุมชน และเขตภูเขา(พชภ.)เพิ่มงบประมาณอีก 300,000 บาท ช่วยเหลือบุคคลไร้สัญชาติที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่ยืดเยื้อ หลังเคยช่วยเหลือไปแล้วพื้นที่ละ 1 ล้านบาท

นายไกรทอง เหง้าน้อย ผู้จัดการโครงการเสริมสร้างศักยภาพกลุ่มคนไร้สัญชาติที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด19 โดยมูลนิธิพัฒนาชุมชน และเขตภูเขา(พชภ.) นายสมเกียรติ เขื่อนเชียงสา ที่ปรึกษาโครงการฯ ได้ลงพื้นที่ติดตามโครงการ เสริมสร้างศักยภาพกลุ่มคนไร้สัญชาติที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด19 โดยกลุ่มชาวบ้านดังกล่าวเป็นผู้ที่ไม่มีสถานะทางทะเบียนทำให้ไม่ได้รับสิทธิ์ในการเยี่ยวจากผลกระทบของไวรัสโควิด -19 จากรัฐบาลไทย ซึ่งก่อนหน้านี้ทาง รัฐบาลญี่ปุ่น ผ่าน UNDP โดยมีการแบ่งจัดสรรไปตามพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ 24 แห่ง โดยมอบงบประมาณในการช่วยเหลือพื้นที่ละ 1ล้านบาท โดยจะเน้นไปที่หมู่บ้านที่มีผู้ไม่มีสถานะทางทะเบียน ผู้ยากไร้ ที่ไม่เข้าข่ายรับการช่วยเหลือจากรัฐบาลในช่วงโควิด -19 ระบาด โดยโครงการเสริมสร้างศักยภาพกลุ่มคนไร้สัญชาติที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด19 ได้ลงพื้นที่ครั้งแรกเมื่อวันที่ 18 ก.พ.64 เพื่อสร้างภูมิคุ้มกัน และสร้างความมั่นทางอาหารด้วยระบบนวัตกรรมเกษตรยั่งยืน ชุมชนบนพื้นที่สูง แต่เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด -19 ในประเทศไทยยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่องทาง รัฐบาลญี่ปุ่น ผ่าน UNDP จึงได้เพิ่มงบประมาณให้อีกพื้นที่ละ 300,000 บาท เพื่อช่วยเหลือกลุ่มผู้ได้รับผลกระทบที่ยังคงตกค้าง

สำหรับนจังหวัดเชียงราย มีพื้นที่ที่ได้รับความช่วยเหลือ 8 หมู่บ้านคือ 1.บ้านป่าคาสุขใจ 2.บ้านจะบูสี 3.บ้านธาตุ หมู่5 ต.แม่สลองนอก 4.บ้านอาโย๊ะ 5.บ้านแสนใจ ต.แม่สลองในอ.แม่ฟ้าหลวง 6.บ้านหล่อโย 7.บ้านรวมใจ 8.บ้านเฮโก ต.ป่าตึง อ.แม่จัน จ.เชียงราย ซึ่งหมู่บ้านที่ได้รับการช่วยเลหือส่วนใหญ่เป็นหมู่บ้านชาวเขาที่ห่างไกล เข้าถึงได้ยาก และมีผู้ที่ไม่ได้รับการเยียวยาใดๆ เนื่องจากไม่มีสถานะทางทะเบียน การช่วยเหลือต่างๆ จากภาครัฐไม่สามารถทำได้

นายไกรทอง เหง้าน้อย กล่าวว่า จังหวัดเชียงรายเป็นจังหวัดหนึ่งที่ได้รับผลกระทบจากโควิด19 ด้วยมีพรมแดนติดกับประเทศเพื่อนบ้านทั้งประเทศพม่า ประเทศลาว และมีการเข้ามาของคนจีนในประเทศเพื่อนบ้าน ที่ผ่านมาภาครัฐได้ออกมาตรการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบไว้หลายระดับ แต่กลุ่มคนชายขอบ กลุ่มคนที่ไร้สัญชาติ คนเหล่านี้ไม่ได้รับการเยียวยา จากหน่วยงานภาครัฐ ทั้งที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ความเสี่ยงรอบด้าน เพียงเพราะไม่มีบัตรแสดงสถานะบุคคลที่เป็นคนไทย จากข้อมูลจำนวนประชากรคนไร้รัฐไร้สัญชาติ ที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้กับกรมการปกครองปี 2562 พบว่าในจังหวัดเชียงราย มีจำนวน 96,960 คน โดยแยกออกเป็นกลุ่มผู้สูงอายุ 10% กลุ่มเด็กเยาวชนอายุ18 ปี คิดเป็น18% อายุ18-60 ปี คิดเป็น71% แบ่งเป็นผู้หญิง 54% ผู้ชาย46% จึงเป็นกลุ่มคนที่มีความเปราะบางเป็นอย่างมากต่อสถานการณ์โควิด19 ระบาด มีความจำเป็นต้องได้รับการเยียวยาและเสริมศักยภาพให้สามารถปรับตัวอยู่ได้ภายใต้สถานการณ์โควิดในระยะยาว

“โครงการพัฒนาศักยภาพ ส่งเสริมให้เกิดการแก้ไขปัญหาและฟื้นฟูคุณภาพชีวิต ของครอบครัวผู้ไร้สัญชาติ เพื่อให้กลุ่มผู้ไร้สัญชาติสามารถปรับตัวและสร้างภูมิคุ้มกันระยะยาว ให้สามารถพึ่งตนเองได้ โดยมีแหล่งผลิตอาหารไว้บริโภคในครัวเรือน และช่องทางที่สามารถสร้างรายได้ โดยโครงการดังกล่าวเป็น 1 ใน 24 โครงการระยะสั้น ภายใต้โครงการ “การเสริมสร้างการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจสังคม ความมั่นคงของมนุษย์และการฟื้นคืนสู่สภาพปกติในประเทศไทยในบริบทของการระบาดใหญ่ของ COVID-19″ เพื่อให้มั่นใจว่าจะไม่มีใครถูกทิ้งไว้ข้างหลังและปกป้องความคืบหน้าเพื่อนำไปสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนที่โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ(UNDP) ประจำประเทศไทยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากรัฐบาลญี่ปุ่น แต่เนื่องจากการแพร่ระบาดที่มีอย่างต่อเนื่องทำให้ทางโครงการได้เพิ่มงบประมาณให้อีก 300,000 บาทเพื่อขยายการช่วยเหลือไปยังกลุ่มบุคคลไร้สัญชาติที่ยังคงตกค้างอยู่ในพื้นที่ ” นายไกรทอง กล่าว

โดยโครงการดังกล่าว ได้ดำเนินการโดยได้มอบปัจจัยการผลิตที่เป็นความต้องการของชุมชนและเหมาะสมกับการทำเกษตรบนพื้นที่สูงที่มีข้อจำกัดเรื่องพื้นที่และแหล่งน้ำ เช่น การเลี้ยงปลาในพื้นที่จำกัด การเลี้ยงไก่กระดูกดำ การเลี้ยงหมูดำ หมูหลุม และการปลูกพืชผักอาหาร รวมทั้งการปลูกผลไม้ยืนต้น ให้สามารถสร้างแหล่งอาหารในครัวเรือนได้และเป็นแนวทางสร้างรายได้ในระยะยาวได้

นอกจากนี้้ยังได้เดินทางไปมอบสิ่งของช่วยเหลือผู้สูงอายุที่จำนวน 3 ราย ที่บ้านแสนใจ ต.แม่สลองใน อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย โดยได้มอบสิ่งของอุโภคริโภคให้เพื่อยังชีพ โดยนายสมเกียรติ เขื่อนเชียงสา ที่ปรึกษาโครงการฯ ได้มอบหมาย เจ้าหน้าที่ประจำบ้านแสนใจ นำข้าวสาร อาหารแห้งและเครื่องปรุงต่างๆ เพื่อใช้สำหรับประกอบอาหาร เนื่องจาก ผู้สูงอายุทั้ง 3 คนเป็นผู้ที่มีอายุมากกว่า 80 ปี แล้ว อยู่ตัวคนเดียวไม่มีลูกหลานอยู่ด้วย มีเพียงเพื่อนบ้านช่วยกันดูแล บ้างคนไม่มีแม้แต่ทางเข้าบ้านต้องอาศัยเดินลัดเลาะบ้านของเพื่อนบ้านเข้าไป ซึ่งจะได้นำเสนอให้ทางมูลนิธิพัฒนาชุมชน และเขตภูเขา(พชภ.) ดำเนินการช่วยเหลือต่อไป

ณัฐวัตร ลาพิงค์/เชียงราย
0882692681

ให้คะแนนบทความนี้

กรุณาเลือกจำนวนดาว

คะแนนค่าเฉลี่ย 0 / 5. จำนวนผู้ให้คะแนนโวต 0

ยังไม่มีผู้ให้คะแนนบทความนี้

Sending
User Review
0 (0 votes)

Leave a Reply

Translate »