ภาคเอกชนเชียงใหม่ ลงนาม ร่วมผลักดันกัญชง พืชเศรษฐกิจ ช่วยลดปัญหาไฟป่า และหมอกควัน บ.ไทยเฮมพ์ฯ แถลงข่าวลงนาม MOU ผลักดันกัญชง เป็นพืชเศรษฐกิจ ลดปัญหาไฟป่าหมอกควันฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม
เชียงใหม่/ที่ ซอมพอ บูติก อ.เมือง จ.เชียงใหม่ บริษัท ไทยเฮมพ์ ซีบีดี 2021 จำกัด ได้มีจัดการแถลงข่าว แผนการช่วยลดปัญหาไฟป่า หมอกควัน และฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมด้วยพืชเศรษฐกิจโดยส่งเสริมการปลูกกัญชงสายพันธุ์ของมูลนิธิวนเกษตรอินทรีย์
โดยผ่านการวิจัยและรับรองพันธุ์จากกรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์มาแล้ว ซึ่งเป็นสายพันธุ์กัญชงให้ผลผลิตสูง มีความต้านทานโรคและแมลง เหมาะสมกับสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย เพื่อใช้ในอุตสาหกรรมสกัดสาร ซีบีดี ตามมาตรฐานสากล อย่างถูกต้องตามกฎหมายและนโยบายของรัฐบาล พร้อมลงนามความร่วมมือกัน (MOU) โดยมี อ.วารินทร์ บัววิรัตน์เลิศ เป็นประธานในพิธีเปิดงาน หลังจากนั้น นายแพทย์เกรียงศักดิ์ หลิวจันทร์พัฒนา ประธานกรรมการ บริษัทไทย เฮมพ์ เวลล์เนส จำกัด พร้อมด้วย นายพีระพล มาวาตาริ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไทย เฮมพ์ ชีบีดี 2021 จำกัด ได้ร่วมลงนาม MOU ระหว่าง Mango Coln กับ บริษัท ไทย เฮมพ์ ซีบีดี 2021 จำกัด ตามบันทึกข้อตกลง “Cannabis business devetopmeat” โดยทางบริษัท ไทย เฮมพ์ เวลล์เนส จำกัด ได้แต่งตั้งให้บริษัท ไทย เฮมพ์ ชีบีดี 2021 จำกัด เป็นผู้ดำเนินการพัฒนาธุรกิจและการตลาด เฮมพ์ อย่างครบวงจร แต่เพียงผู้เดียว และ บริษัท ไทย เฮมพ์ ซีบีดี 2021 จำกัด โดยทั้งสองฝ่ายได้ตระหนักถึงปัญหาและความสำคัญของการแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควัน โดยมี พลเอกสุทัศน์ จารุมณี พร้อมด้วยดร.เสฐียรพงษ์ แก้วสด ceo บริษัทไทยเฮมพ์เวลเน็ต เป็นสักขีพยานในการทำ MOU ในครั้งนี้
ซึ่งเกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจที่จะช่วยลดปัญหาไฟป่าและหมอกควัน และฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมด้วยพืชเศรษฐกิจ คือกัญชง โดยส่งเสริม การปลูกที่ใช้สายพันธ์ของทางมูลนิธิเกษตรอินทรีย์ซึ่งได้ผ่านการวิจัยมาอย่างยาวนานกว่า 16 ปี และได้รับการรับรองจากกรมวิชาการเกษตร เป็นสายพันธุ์กัญชงให้ผลผลิตสูงมีความต้านทานต่อโรคและแมลงได้ดีเหมาะสม กับสภาพภูมิอากาศทางภาคเหนือของประเทศไทยเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมสกัดสาร cbd และสารแคนนาบินอยด์ชนิดอื่นๆ ที่ได้มาตรฐานสากลถูกต้องตามกฎหมายและสนองนโยบายของทางรัฐบาลด้านการพัฒนาเศรษฐกิจฐานชีวภาพ (bioeconomy)ด้วยภัยคุกคามต่อสุขภาพของมนุษย์ที่เกิดเป็นโรคเรื้อรังเช่นโรคมะเร็ง โรคหัวใจและความดัน รวมถึงโรคอุบัติใหม่คือการระบาดของไวรัส -19 ซึ่งล้วนมีสาเหตุเกี่ยวข้องกับสภาพสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรม ซึ่งการสกัดเอาสาร cbd และสารแคนนาบินอยด์อื่นๆในกัญชง มาใช้ประโยชน์ในการในผลิตภัณฑ์บำรุงดูแลรักษาสุขภาพทั้งยาอาหารเครื่องดื่มผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและเวชสำอาง จึงเป็นทางเลือกใหม่ ทั้งนี้จะเปิดโรงงานทำการสกัดในไตรมาสที่ 3 ของปี 2560 นี้ด้วยบริษัทไทยแฮมเวลเนสจำกัด ด้วยกำลังผลิตในการสกัด 10 ตันต่อวัน และได้สาร cbd บริสุทธิ์ประมาณปีละ 80,000 ลิตร ซึ่งจากการที่ได้ส่งเสริมการปลูกกัญชง เป็นพื้นที่ 6, 000 ไร่ ในจังหวัดเชียงราย และมีแผนที่จะขยายการผลิตระยะที่สอง ในจังหวัดแม่ฮ่องสอนซึ่งมีสภาพภูมิอากาศเกื้อกูลเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งเกษตรกรที่ปลูกกัญชง 1 ไร่ เพื่อเป็นวัตถุดิบให้แก่โรงงานจะมีกำไรสุทธิ เท่ากับการปลูกข้าวโพดถึง 80 ไร่จึงถือว่าเป็นพืชที่จะช่วยฟื้นคืนผืนที่ป่าได้มากขึ้น โดยไม่มีการใช้สารเคมีที่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต รวมไม่ก่อเกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมอีกทั้งยังช่วยลดปัญหาไฟป่าหมอกควัน ช่วยสร้างงานสร้างรายได้และสร้างเศรษฐกิจฐานรากของประเทศ
ซึ่งผู้ที่สนใจนักธุรกิจและนักลงทุนทั้งในประเทศและทั่วโลกมีโอกาสเข้าร่วมการเดินหน้าสู่เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนทั้งด้านเศรษฐกิจสังคมสิ่งแวดล้อมและสุขภาพขององค์การสหประชาชาติภายในปีค.ศ 2030 และโดยในขณะนี้บริษัทไทยแฮม cbd 20-21 จำกัด ได้พัฒนาเหรียญดิจิตอลสำหรับแลกเปลี่ยนในตลาดโลกผ่าน waves exchang ที่ชื่อว่า mang coin ซึ่งได้รับการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์ (กลต.) การร่วมลงทุนผ่านการซื้อเหรียญดิจิตอล คือโอกาสที่ดีในการร่วมเป็นเจ้าของธุรกิจสำคัญแห่งยุคสมัยด้วยการใช้เทคโนโลยีบล็อกเชน (blockchain) สร้างความโปร่งใสมีความถูกต้องของข้อมูลสามารถติดต่อธุรกรรมในห่วงโซ่การผลิต (supply chain)ใช้ circuit นำการ R โดยมีธุรกิจจากอุตสาหกรรมกัญชงเป็นเรือธง (flagship) ที่จะแก้ปัญหาไฟป่า หมอกควัน และสิ่งแวดล้อมได้อย่างยั่งยืน
ทางด้าน ดร.เสฐียรพงษ์ แก้วสด ซีอีโอ บริษัทไทยเฮมพ์เวลเน็ต เปิดเผยว่า กิจกรรมวันนี้เราระดมทุนเพื่อสร้างธุรกิจใหม่ เรื่องของกัญชง ซึ่งถือเป็นพืชเศรษฐกิจตัวใหม่ เรียกว่า “ทองคำเขียวของไทย” ทุกวันนี้มีปัญหาเศรษฐกิจสังคมสิ่งแวดล้อมอย่างมาก พืชเศรษฐกิจตัวใหม่กัญชงสามารถแก้ปัญหาตัวนี้ได้ เพราะมูลค่าของกัญชงมีมูลค่า หกแสนล้านบาท ภายในปี 2565 นี้ ถามว่ากัญชงเอาไปทำอะไร สามารถเอาไปผลิตยาสมุนไพรอาหารเครื่องดื่มและเครื่องสำอางค์ เป็นต้น ซึ่งตอนนี้เราได้สร้างโรงงานที่จังหวัดเชียงรายแล้ว ซึ่งมีกำลังผลิตวันละ 10 ตัน ซึ่งผลิตสารซีบีดีบริสุทธิ์ได้ 99.9 เปอร์เซ็นต์ ได้ประมาณวันละ 1 พันลิตร ซึ่งตอนนี้เรามีความพร้อม เริ่มปลูกที่จังหวัดเชียงรายก่อน 6 พันไร่ ขยายไปเฟสสองที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน ซึ่งเป็นจังหวัดที่ด้อยโอกาสและมีปัญหาเรื่องหมอกควันไฟป่า วันนี้เราต้องไปช่วยคนแม่ฮ่องสอนฟื้นฟูเศรษฐกิจที่นั้น และแม่ฮ่องสอนมีจุดแข็งคืออยู่อย่างนึงคืออยู่บนพื้นที่สูงมีความหนาวเย็นเหมาะแก่การปลูกกัญชง ที่นั้นเราปลูกระบบออแกนิคได้มาตรฐานระดับ USDA มาตรฐานระดับสากล ต่อไปประเทศไทยจะส่งสารซีบีดีไปสกัดได้ทั่วโลก ประเทศไทยเองสามารถผลิตได้ทั้งปี แต่ต่างประเทศสามารถผลิตได้ปีละหนึ่งครั้งเท่านั้น ตอนนี้กัญชง รัฐบาลถือว่าเป็นพืชปลดล๊อค แต่ยังเป็นพืชควบคุมอยู่ เพราะฉะนั้นเราต้องสงเสริมวิสาหกิจชุมชน เกษตรกรทั่วไป เป็นผู้ผลิตให้ทางเรา โดยมีการรวมกลุ่มกันกลุ่มนึงไม่ต่ำกว่า 50 ไร่ เกษตรกรคนนึงสามารถดูแลกัญชงได้ 2 ไร่ต่อคน มีรายได้ต่อครัวเรือนประมาณปีละ 1 ล้านบาท ซึ่งจะสามารถพลิกฟื้นเศรษฐกิจได้
ซึ่งทางประเทศไทยเองมีศักยภาพค่อนข้างสูงมาก เพราะประเทศไทยเองสามารถนำสารตัวนี้ไปผสมอาหาร เครื่องดื่ม และสามารถส่งออกได้แล้ว ในปี 2564 นี้เราจะผลิตสารซีบีดีได้ในเดือนสิงหาคมนี้ และจะส่งออกได้ช่วงปลายปี สำหรับกำลังการผลิตเราจะผลิตได้วันละ 10 ตันของกัญชงแห้ง หรือซีบีดี ประมาณ 1 ตัน ปีนี้คาดว่าจะได้เม็ดเงินประมาณ 4 หมื่นล้านบาท และตั้งเป้าไว้ได้อันดับ 1 ของโลก โดยตั้งเป้าไว้ 8 หมื่นล้านบาทต่อปี ดร.เสฐียรพงษ์ กล่าวในที่สุด.//////////////////
ภาพ/ข่าว.นิวัตร ธาตุอินจันทร์ เชียงใหม่