1

น่านจัดการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้การเตรียมความพร้อมรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศให้แก่หน่วยงานภาครัฐในพื้นที่จังหวัดน่าน ภายใต้โครงการสร้างความร่วมมือด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในระดับพื้นที่เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจังหวัดน่าน ประจำปี 2567

เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2567 เวลา 09.00 น.ณ ห้องแกรนด์บอลรูม โรงแรมเทวราช อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน นายนิวัตน์ งามธุระ รองผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน เป็นประธานเปิดการจัดการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้การเตรียมความพร้อมรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศให้แก่หน่วยงานภาครัฐในพื้นที่จังหวัดน่านภายใต้โครงการสร้างความร่วมมือด้านทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในระดับพื้นที่เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจังหวัดน่าน ประจำปี 2567 จัดขึ้นระหว่างระหว่างวันที่ 19 – 20 สิงหาคม2567 โดยมีนายวสันต์ จารุศังข์ ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดน่านในนามผู้จัดการประชุมกล่าวถึงวัตถุประสงค์ปัจจุบันปัญหาด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากากาศ
 (Cimate Change) ถือเป็นปัญหาระดับโลกอันเป็นผลจากกิจกรรมของมนุษย์ที่เปลี่ยนองค์ประกอบของบรรยากาศโลกทั้งทางตรงและทางอ้อมทำให้เกิดความแปรปรวนของสภาวะอากาศ เช่น 
อุณหภูมิ ความชื้น ปริมาณน้ำฝน ฤดูกาล ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงอยู่ของสิ่งมีชีวิตที่จะต้องปรับตัวให้เข้ากับสภาพภูมิอากาศ ซึ่งภาวะโลกร้อนนี้มีมีผลต่อการอยู่รอดของสิ่งมีชีวิต 
เนื่องจากอุณหภูมิโดยรวมสูงขึ้นทำให้ฤดูกาลต่าง ๆ เปลี่ยนแปลงไป รวมไปถึงการเกิดภัยพิบัติต่างๆที่รุนแรงขึ้น สืบเนื่องจากการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 26(COP26) ณ เมืองกลาสโกว์ สหราชอาณาจักร มีมติเห็นชอบในข้อตกลง 
Glasgow Climate Pact ซึ่งเป็นข้อตกลงนานาชาติ ที่จะช่วยการดำเนินงานด้านสภาพภูมิอากาศ เพื่อสนับสนุนเป้าหมายในการควบคุมอุณหภูมิโลก ไม่ให้เกิน 
1.5 องศาเซลเชียส ประเทศไทยในฐานะรัฐภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยให้สัตยาบันเข้าร่วมข้อตกลงปารีส เมื่อปี ค.ศ.2016 ได้กำหนดเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกให้ได้ร้อยละ 20 – 25 และจากการประชุมฯ สมัยที่ 26 
(COP26) จึงได้เพิ่มเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกเป็นร้อยละ 40 อีกทั้งยังเน้นย้ำถึงการขับเคลื่อนสู่สังคมคาร์บอนต่ำ โดยมีเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ค.ศ.
2050  และเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emission) ภายในปี ค.ศ.2065 ตามที่จังหวัดน่าน โดยสำนักงานทรัพยากร  ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดน่าน ได้ร่วมกับที่ปรึกษาและคณะทำงานด้านการเปลี่ยนแปลงสู่ภูมิอากาศระดับจังหวัดได้ร่วมกันจัดทำแผนลดก๊าซเรือนกระจก 
แผนการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในระดับพื้นที่เมื่อปี 2566 เพื่อให้การเลื่อนแผนลดก๊าซเรือนกระจกของจังหวัดน่านบรรลุเป้าหมาย และเพื่อเป็นการถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ จึงได้ดำเนินการจัดอบรมเพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้การเตรียมความพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศให้แก่หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่จังหวัดน่าน เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนและผลักดันการดำเนินงานในเรื่องดังกล่าวในพื้นที่ต่อไป สำหรับกิจกรรมในครั้งนี้ มีกลุ่มเป้าหมายประกอบด้วย ส่วนราชการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องรวมจำนวน 120 คน
โดยการจัดกิจกรรครั้งนี้ได้รับการสนับสนุนวิทยากรจากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) สำนักงานสิ่งแวดล้อมและควบคุมมลพิษที่ 3 (พิษณุโลก) และรีคอฟ ประเทศไทย

รองผู้ว่าราชการ กล่าวว่า เรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นนโยบายที่สำคัญของรัฐบาล ดังนั้นจังหวัด จึงต้องมีการขับเคลื่อนและผลักดันแผนการลดก๊าซเรือนกระจกในระดับจังหวัดรวมถึงการเตรียมความพร้อมในการรับมือหรือปรับตัวต่อการเปลี่ยน
แปลงสภาพภูมิอากาศ ตามที่สำนักงานทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดน่านได้ร่วมกับที่ปรึกษาและคณะทำงานด้านการเปลี่ยน แปลงสภาพภูมิอากาศระดับ จังหวัดได้ร่วมกันจัดทำเมื่อปี 2566 – 2567 ซึ่งเรื่องดังกล่าวถือว่าเป็นเรื่องใหม่และสำคัญที่ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่จะร่วมขับเคลื่อนการดำเนินงาน 
เพื่อให้การลดก๊าซเรือนกระจกเป็นไปตามเป้าหมายของประเทศ และจำเป็นต้องมีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องดังกล่าวเพื่อที่จะได้ถ่ายทอดความรู้ให้กับประชาชนในพื้นที่ต่อไป

@@@@@@@@@@

ประสิทธิ์ สองเมืองแก่น จ.น่าน