1

อบต.เมืองคงเปิดเวทีการประชุมรับฟังความคิดเห็นทำความเข้าใจชาวโคราชกับผู้มีส่วนได้เสีย โครงการกำจัดขยะมูลฝอยชุมชน

เวทีการประชุมรับฟังความคิดเห็นทำความเข้าใจชาวโคราชกับผู้มีส่วนได้เสีย โครงการกำจัดขยะมูลฝอยชุมชน
วันอาทิตย์ ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2567, 17.55 น.

เวทีการประชุมรับฟังความคิดเห็นทำความเข้าใจชาวโคราชกับผู้มีส่วนได้เสีย โครงการกำจัดขยะมูลฝอยชุมชน

นครราชสีมา วันที่ 18 สิงหาคม 2567 ที่พื้นที่เอกชน ต.พะงาด อ.ขามสะแกแสง จ.นครราชสีมา ว่าที่ร้อยตรีพรสรร อุ่นบรรเทิง นายอำเภอขามสะแกแสง จ.นครราชสีมา ได้รับมอบหมายจากนายชัยวัฒน์ ชื่นโกสุม ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา เป็นประธานเปิดเวทีการประชุมรับฟังความคิดเห็นและทำความเข้าใจกับประชาชน และผู้มีส่วนได้เสีย โครงการกำจัดขยะมูลฝอยชุมชน โดยแปรรูปเป็นพลังงานไฟฟ้า องค์การบริหารส่วนตำบลเมืองคง อ.คง จ.นครราชสีมา พื้นที่ตั้งโครงการ หมู่ 10 บ้านใหม่ ต.พะงาด อ.ขามสะแกแสงฯ มีนายสมชาย วรรธนะสุพร นายก อบต.เมืองคง, นางธิดารัตน์ รอดอนันต์ ประธานสภาฯอุตสาหกรรมจังหวัดนครราชสีมา พร้อมด้วยผู้นำชุมชน กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน พื้นน้องประชาชนชาวบ้านในพื้นที่ ทั้งจาก อ.ขามสะแกแสง อ.คง, อ.โนนไทย, อ.แก้งสนามนาง เป็นต้น โดยมีพิธีกร ประกอบด้วย พลโทสุวรรณ เฉิดฉาย และ ว่าที่พันตรี ดร. กิตติกรณ์ บำรุงบุญ คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม เป็นผู้ดำเนินรายการ รวมทั้งวิทยากรผู้ชำนาญการสิ่งแวดล้อม จาก บริษัทที่ปรึกษา เอ็นทริค ประกอบด้วย นายปรีดา ทองสุขงาม ผู้ชำนาญการสิ่งแวดล้อม ที่ได้รับใบอนุญาต จากสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, นายภาณุพงศ์ สถิตวัฒนาพร ผู้ช่วยชาญสิ่งแวดล้อม, นายกรกฏ ภิรมย์รัตน์ ผู้เชี่ยวชาญสิ่งแวดล้อม นำเสนอข้อมูลของโครงการฯ เหตุผลและความจำเป็นและวัตถุประสงค์ของโครงการ ลักษณะโครงการ/ขนาดกำลังการผลิตติดตั้ง ประเภทโรงไฟฟ้า/เชื้อเพลิงเครื่องจักรหลักและเทคโนโลยี ชนิด แหล่งที่มาและปริมาณเชื้อเพลิง แหล่งที่มาและปริมาณน้ำใช้ใน กระบวนการผลิตไฟฟ้ามลพิษและการจัดการ และประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับจากโครงการฯ, ขั้นตอนการศึกษาจัดทำรายงานประมวลหลักการปฏิบัติ (CoP), มาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม และมาตรการ ติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมการดำเนินงานด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน เพื่อให้ชาวบ้านเกิดความรัก ความสามัคคีกัน
ทั้งนี้มีกลุ่มชาวบ้านในพื้นที่มาร่วมรับฟังความคิดเห็นและมีการเสนอแนะและข้อเสนอให้กับผู้บริหารโครงการฯ มีทั้งฝ่ายสนับสนุน และฝ่ายคัดค้าน แต่ทุกฝ่ายก็พูดคุยกันด้วยเหตุด้วยผล และมีการชี้แจงข้อปฏิบัติของการตั้งโรงงานฯ โดยวิทยากรด้านสิ่งแวดล้อม อาทิ เรื่องขยะที่เกรงว่าจะมีการนำมาเทกองเป็นภูเขาไฟ ซึ่งทางโครงการฯก็ได้ชี้แจงยืนยันจำไม่มีขยะกองกลางแจ้ง และขยะจะอยู่ในที่เก็บมือชิด มีการกำจัดด้วยการเผาอย่างเป็นระบบใช้ความร้อนสูง เรื่องกลิ่นมีการกำจัดกลิ่นในระบบกำจัด เรื่องน้ำจากขยะมีการแยกออกมาแล้วนำไปบำบัด และส่วนหนึ่งนำไปเผาด้วย โดยในเครื่องจักรมีการควบคุมอุณหภูมาระหว่าง 850-1,000 องศาฟาเรนไฮ และถ้าความร้อนต่ำลงก็ต้องเพิ่มความร้อนเข้าไปอีก เพื่อไม่ให้สารต่างๆมีการเล็ดลอดออกไปแล้วเกิดผลกระทบ มีระบบการกำจัดเป็นขั้นเป็นตอน มีการทำอย่างรัดกุม เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ผลกระทบต่อชุมชน ผลกระทบต่อวิถีชีวิต เศรษฐกิจ และรายได้ ซึ่งเป็นมาตรการที่ป้องกันเอาไว้
ทั้งนี้ในพื้นที่บริเวณมีการตั้งเต็นท์ และโดมขนาดใหญ่ มีการตั้งจอมอนิเตอร์ พร้อมเครื่องขยายเสียง และมีการบันทึกภาพตลอดการประชุม โดยมีกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจ ในเครื่องแบบ และนอกเครื่องแบบ, กำลัง อส., อปพร. และการ์ดรวมกว่า 200 นาย ดูแลให้เกิดเป็นระเบียบเรียบร้อย มีจุดคัดกรองโดยนำแผงเหล็กมากั้น

เวทีการประชุมรับฟังความคิดเห็นทำความเข้าใจชาวโคราชกับผู้มีส่วนได้เสีย โครงการกำจัดขยะมูลฝอยชุมชน
วันอาทิตย์ ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2567, 17.55 น.

เวทีการประชุมรับฟังความคิดเห็นทำความเข้าใจชาวโคราชกับผู้มีส่วนได้เสีย โครงการกำจัดขยะมูลฝอยชุมชน

นครราชสีมา วันที่ 18 สิงหาคม 2567 ที่พื้นที่เอกชน ต.พะงาด อ.ขามสะแกแสง จ.นครราชสีมา ว่าที่ร้อยตรีพรสรร อุ่นบรรเทิง นายอำเภอขามสะแกแสง จ.นครราชสีมา ได้รับมอบหมายจากนายชัยวัฒน์ ชื่นโกสุม ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา เป็นประธานเปิดเวทีการประชุมรับฟังความคิดเห็นและทำความเข้าใจกับประชาชน และผู้มีส่วนได้เสีย โครงการกำจัดขยะมูลฝอยชุมชน โดยแปรรูปเป็นพลังงานไฟฟ้า องค์การบริหารส่วนตำบลเมืองคง อ.คง จ.นครราชสีมา พื้นที่ตั้งโครงการ หมู่ 10 บ้านใหม่ ต.พะงาด อ.ขามสะแกแสงฯ มีนายสมชาย วรรธนะสุพร นายก อบต.เมืองคง, นางธิดารัตน์ รอดอนันต์ ประธานสภาฯอุตสาหกรรมจังหวัดนครราชสีมา พร้อมด้วยผู้นำชุมชน กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน พื้นน้องประชาชนชาวบ้านในพื้นที่ ทั้งจาก อ.ขามสะแกแสง อ.คง, อ.โนนไทย, อ.แก้งสนามนาง เป็นต้น โดยมีพิธีกร ประกอบด้วย พลโทสุวรรณ เฉิดฉาย และ ว่าที่พันตรี ดร. กิตติกรณ์ บำรุงบุญ คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม เป็นผู้ดำเนินรายการ รวมทั้งวิทยากรผู้ชำนาญการสิ่งแวดล้อม จาก บริษัทที่ปรึกษา เอ็นทริค ประกอบด้วย นายปรีดา ทองสุขงาม ผู้ชำนาญการสิ่งแวดล้อม ที่ได้รับใบอนุญาต จากสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, นายภาณุพงศ์ สถิตวัฒนาพร ผู้ช่วยชาญสิ่งแวดล้อม, นายกรกฏ ภิรมย์รัตน์ ผู้เชี่ยวชาญสิ่งแวดล้อม นำเสนอข้อมูลของโครงการฯ เหตุผลและความจำเป็นและวัตถุประสงค์ของโครงการ ลักษณะโครงการ/ขนาดกำลังการผลิตติดตั้ง ประเภทโรงไฟฟ้า/เชื้อเพลิงเครื่องจักรหลักและเทคโนโลยี ชนิด แหล่งที่มาและปริมาณเชื้อเพลิง แหล่งที่มาและปริมาณน้ำใช้ใน กระบวนการผลิตไฟฟ้ามลพิษและการจัดการ และประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับจากโครงการฯ, ขั้นตอนการศึกษาจัดทำรายงานประมวลหลักการปฏิบัติ (CoP), มาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม และมาตรการ ติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมการดำเนินงานด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน เพื่อให้ชาวบ้านเกิดความรัก ความสามัคคีกัน

ทั้งนี้มีกลุ่มชาวบ้านในพื้นที่มาร่วมรับฟังความคิดเห็นและมีการเสนอแนะแบละข้อเสนอให้กับผู้บริหารโครงการฯ มีทั้งฝ่ายสนับสนุน และฝ่ายคัดค้าน แต่ทุกฝ่ายก็พูดคุยกันด้วยเหตุด้วยผล และมีการชี้แจงข้อปฏิบัติของการตั้งโรงงานฯ โดยวิทยากรด้านสิ่งแวดล้อม อาทิ เรื่องขยะที่เกรงว่าจะมีการนำมาเทกองเป็นภูเขาไฟ ซึ่งทางโครงการฯก็ได้ชี้แจงยืนยันจำไม่มีขยะกองกลางแจ้ง และขยะจะอยู่ในที่เก็บมือชิด มีการกำจัดด้วยการเผาอย่างเป็นระบบใช้ความร้อนสูง เรื่องกลิ่นมีการกำจัดกลิ่นในระบบกำจัด เรื่องน้ำจากขยะมีการแยกออกมาแล้วนำไปบำบัด และส่วนหนึ่งนำไปเผาด้วย โดยในเครื่องจักรมีการควบคุมอุณหภูมาระหว่าง 850-1,000 องศาฟาเรนไฮ และถ้าความร้อนต่ำลงก็ต้องเพิ่มความร้อนเข้าไปอีก เพื่อไม่ให้สารต่างๆมีการเล็ดลอดออกไปแล้วเกิดผลกระทบ มีระบบการกำจัดเป็นขั้นเป็นตอน มีการทำอย่างรัดกุม เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ผลกระทบต่อชุมชน ผลกระทบต่อวิถีชีวิต เศรษฐกิจ และรายได้ ซึ่งเป็นมาตรการที่ป้องกันเอาไว้

ทั้งนี้ในพื้นที่บริเวณมีการตั้งเต็นท์ และโดมขนาดใหญ่ มีการตั้งจอมอนิเตอร์ พร้อมเครื่องขยายเสียง และมีการบันทึกภาพตลอดการประชุม โดยมีกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจ ในเครื่องแบบ และนอกเครื่องแบบ, กำลัง อส., อปพร. และการ์ดรวมกว่า 200 นาย ดูแลให้เกิดเป็นระเบียบเรียบร้อย มีจุดคัดกรองโดยนำแผงเหล็กมากั้น

โดยโครงการดังกล่าวมีพื้นที่ 100-3-49 ไร่ หรือ 161,392 ตารางเมตรมีเขตพื้นที่ 18 หมู่บ้าน 6 ตำบล 3 อำเภอ ของ อ.ขามสะแกแสง อ.โนนไทย และ อ.โนนสูง ภารกิจจัดการขยะมูลฝอยในกลุ่ม (Cluster) รองรับปริมาณ 550 ตันต่อวัน ในเขตรับผิดชอบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 129 แห่ง พื้นที่ 17 อำเภอ ที่เข้าร่วมโครงการ ฯ ได้แก่ อำเภอคง อำเภอโนนแดง อำเภอแก้งสนามนาง อำเภอสีดา อำเภอบ้านเหลื่อม อำเภอขามสะแกแสง อำเภอพระทองคำ อำเภอโนนสูง อำเภอโนนไทย อำเภอเฉลิมพระเกียรติ อำเภอจักราช อำเภอบัวใหญ่ อำเภอบัวลาย อำเภอประทาย อำเภอชุมพวง อำเภอเมืองยาง อำเภอลำทะเมนชัย อำเภอขามทะเลสอ และอำเภอด่านขุนทด รวมถึงได้มีแนวความคิดให้เอกชนเป็นผู้ดำเนินกิจการบริหารจัดการขยะมูลฝอยชุมชน เพื่อพัฒนาศักยภาพการจัดการขยะมูลฝอยให้ดียิ่งขึ้นขึ้น สามารถรองรับขยะมูลฝอยในกลุ่มพื้นที่ (Cluster) ได้เพียงพอ สนับสนุนการกำจัดขยะมูลฝอยชุมชน ที่ช่วยลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก และแปรรูปขยะเป็นพลังงาน โดยมี บริษัท นครราชสีมาเวลท์ ทู เอ็นเนอร์จี จำกัด ได้รับคัดเลือกให้เป็นผู้ดำเนินการแปรรูปขยะเป็นพลังงานไฟฟ้ากำลังผลิต 9.9 เมกะวัตต์ ส่งขายให้การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) 8 เมกะวัตต์ และใช้ภายในโครงการ 1.9 เมกะวัตต์ เพื่อพัฒนาศักยภาพในการจัดการขยะให้ดียิ่งขึ้นและสามารถรองรับปริมาณขยะจาก อปท.ได้เพียงพอรวมทั้งเสริมสร้างความมั่นคงด้านพลังงานไฟฟ้าภายในท้องถิ่น
ทั้งนี้จากสภาพปัญหาและความสามารถในการรองรับขยะมูลฝอย รวมทั้งเพื่อรองรับการขยายตัวของเมืองในอนาคต ของจังหวัดนครราชสีมา จึงพิจารณาเห็นควรต้องเพิ่มศักยภาพระบบการจัดการขยะมูลฝอยให้การกำจัดขยะที่ เกิดขึ้น อย่างมีประสิทธิภาพที่ดีและสามารถรองรับขยะมูลฝอยขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในกลุ่มพื้นที่ (Cluster) ได้อย่าง เพียงพอและตามแผนการจัดการขยะของจังหวัดนครราชสีมา ได้กำหนดให้องค์การบริหารส่วนตำบลเมืองคง (ต่อไปนี้จะเรียก “อบต.เมืองคง”) เป็นองค์กรหลักในการรับผิดชอบดำเนินการจัดการขยะมูลฝอยในกลุ่มขนาดใหญ่ (Cluster L) กำหนดให้รองรับปริมาณขยะมูลฝอยไม่น้อยกว่า 550 ตันต่อวัน