1

ร่วมส่งแรงใจให้ลูกหลานและคณะกรรมการฯ TO BE NUMBER ONE จังหวัดแพร่ มุ่งมั่นสู่การเป็นจังหวัด TO BE NUMBER ONE ระดับเงิน ประจำปี 2567

ในระหว่างวันที่ 13 – 15 กรกฎาคม 2567 นายธรรมนูญ ศรีวรรธนะ รองผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ พร้อมด้วยนายสุวรรณ เพ็ชรรุ่ง นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดแพร่ นางอัญชลี ปะดุกา แรงงานจังหวัดแพร่ และนายสุทิน จันทรวรเชตต์ ศึกษาธิการจังหวัดแพร่ น้องๆ เยาวชน TO BE NUMBER ONE จังหวัดแพร่, อำเภอเมืองแพร่, ชุมชนบ้านแม่ขมิง, สถานพินิจและคุ้มคริงเด็กและเยาวชน ร่วมนำเสนอผลการดำเนินงานโครงการ TO BE NUMBER ONE จังหวัดแพร่ ประจำปี2567 ระดับเงิน ในงานมหกรรมรวมพล TO BE NUMBER ONE ประจำปี 2567 ณ ศูนย์ประชุมอิมแพ็ค ฟอรั่ม เมืองทองธานี กรุงเทพมหานคร

นายธรรมนูญ กล่าวว่า จังหวัดแพร่นำแนวทางโครงการ TO BE NUMBER ONE มาเป็นกลไกหลักขับเคลื่อนการพัฒนาเยาวชนให้ห่างไกลจากยาเสพติดทั้ง 8 อำเภอ ภายใต้วิสัยทัศน์ “เมืองแพร่ เป็นเลิศในการพัฒนาเด็ก เยาวชน เพื่อเป็นคนดี ศรีเมืองแพร่ และ เป็นหนึ่งโดยไม่พึ่งยาเสพติด” และนโยบายของนายชุติเดช มีจันทร์ ผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ ที่ให้ความสำคัญในการแก้ไขปัญหายาเสพติด โดยให้สมาชิก TO BE NUMBER ONE ทุกระดับณรงค์ขับเคลื่อนและพัฒนาเด็กและเยาวชนให้ห่างไกลจากยาเสพติดทุกรูปสนับสนุนงบประมาณ การศึกษาดูงานแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั้งภายในและภายนอกจังหวัด และมีเป้าหมายขยายเครือข่ายเพิ่ม ในปี 2568 อย่างต่อเนื่อง

นายสุวรรณ เพ็ชรรุ่ง นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดแพร่ กล่าวว่า จังหวัดแพร่ได้น้อมนำแนวทางการดำเนินงานโครงการ TO BE NUMBER ONE มาใช้ในการป้องกัน แก้ไขปัญหายาเสพติด และพัฒนาลูกหลานเยาวชนจังหวัดแพร่ให้เป็นคนดีของสังคมตาม 3 ยุทธศาสตร์หลักของโครงการ ทำให้มีสมาชิกครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายเพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 94.43 ในปี 2567 มีการจัดค่ายพัฒนาศักยภาพแกนนำ จัดอบรมบุคลากร สร้างและพัฒนาเครือข่ายโดยจัดทำ MOU กับหน่วยงานทุกระดับในพื้นที่ เพื่อมุ่งสู่การเป็นจังหวัด TO NUMBER ONE ต้นแบบระดับยอดเพชร ตามลำดับ

นางอัญชลี ปะดุกา แรงงานจังหวัดแพร่ กล่าวว่า จากการบูรณาการความร่วมมือจากทุกภาคส่วน โดยได้รับการสนับสนุนพัฒนาฐานข้อมูลระดับจังหวัดให้เป็นปัจจุบัน เข้าถึงง่าย ตลอดจนมีการเชื่อมโยงข้อมูลข่าวสารระหว่างหน่วยงาน เครือข่ายผ่านเว็บไซต์ เฟสบุ๊ค และกลุ่มไลน์เพื่อความสะดวก รวดเร็วและทันสมัย มีการค้นหาคัดกรองผู้เสพ ผู้ติด ทั้งในสถานศึกษา ชุมชน สถานประกอบการ และ จัดค่ายปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนผู้เข้ารับการบำบัดรักษา 4 ปีย้อนหลัง ตั้งแต่ปี2563 – 2566 ลดลงอย่าง ต่อเนื่อง คือ 1,908 ราย , 1,718 ราย , 1,070 ราย และ 1,025 ราย ตามลำดับ

นายสุทิน จันทรวรเชตต์ ศึกษาธิการจังหวัดแพร่ ผลสำเร็จที่เป็นรูปธรรมและความต่อเนื่องในการนำโครงการ TO BE NUMBER มาพัฒนาเด็กและเยาวชนจังหวัดแพร่ ส่งผลให้เยาวชนมีทักษะชีวิตที่ดี ไม่ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด และส่งผลให้ปัญหาตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรในเยาวชนช่วงอายุ10-19 ปี ลดลง จากสถิติ ในปี 2565 16.82 ในปี 2566 9.73 และปี 2567 8.03 ต่อ 1,000 ประชากร ปัญหาการฆ่าตัวตายในวัยรุ่นลดลง จากสถิติข้อมูลการพยายามฆ่าตัวตายแต่ไม่สำเร็จ ในกลุ่มเยาวชนช่วงอายุ 10 -19 ปี ปี 2565 จำนวน 26 ราย, ปี 2566 จำนวน 30 ราย และในปี 2567 จำนวน 18 ราย โดยไม่มีฆ่าตัวตายสำเร็จ

ในวันจันทร์ที่ 15 กรกฎาคม 2567 จะมีพิธีประกาศผลการประกวดผลงานและพิธีรับรางวัลพระราชทานประจำปี 2566 จากพระฉายาลักษณ์ โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และเฝ้ารับเสด็จองค์ประธาน ร่วมการรับพระราชทานรางวัล และร่วมกิจกรรมคอนเสิร์ตมหกรรมรวมพลสมาชิก TO BE NUMBER ONE ประจำปี 2567 ที่อิมแพ็ค ฟอรั่ม เมืองทองธานี กรุงเทพมหานคร

TOBENUMBERONE #จังหวัดแพร่