น่าน พิธีการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ เรื่อง ความร่วมมือในการอนุรักษ์มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมล้านนาน่าน เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์

1
(1)
image_print

น่าน พิธีการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ เรื่อง ความร่วมมือในการอนุรักษ์มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมล้านนาน่าน เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์

 เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2566 เวลา 09.00 น. ณ ห้องดิ อิมเพรส คอนเวนชัน ฮอลล์ โรงแรมดิ อิมเพรส น่าน นายวิบูรณ์ แววบัณฑิต ผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน เป็นประธานเปิดงานพิธีการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ เรื่อง ความร่วมมือในการอนุรักษ์มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมล้านนาน่าน เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ภายใต้โครงการวิจัย เรื่อง การพัฒนาคลังคัมภีร์ใบลานดิจิทัลเพื่อการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมและการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากศูนย์กลางนวัตกรรมทางสังคมแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หรือ CU Social Innovation Hub โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฐิติรัตน์ ปั้นบำรุงกิจ  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วชิราภรณ์ คลังธน-บูรณ์ และ อาจารย์ ดร.จนัธ เที่ยงสุรินทร์ เป็นนักวิจัยในโครงการ การจัดงานครั้งนี้เป็นการสร้างภาคีเครือข่ายความร่วมมือทั้งหกฝ่าย ประกอบด้วย สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดน่าน สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดน่าน สภาวัฒนธรรมจังหวัดน่าน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา น่าน  โรงเรียนสตรีศรีน่าน และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ในการนี้ นายภัทรภร ชัยวัฒนกุล วัฒนธรรมจังหวัดน่านได้กล่าวถึงนโยบายการส่งเสริมการอนุรักษ์วัฒนธรรมโดยเฉพาะมรดกทางภูมิปัญญาที่สำคัญของจังหวัดน่าน ในส่วนของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศาสตราจารย์ ดร.จักรพันธ์ สุทธิรัตน์ รองอธิการบดีด้านวิจัย กล่าวแถลงการณ์ความร่วมมือและการสนับสนับสนุนการดําเนินงานวิจัยของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะผู้วิจัยจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำโดย ผศ.ดร.ฐิติรัตน์ ปั้นบารุงกิจ รองผู้อํานวยการฝ่ายวิจัย สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาฯ หัวหน้าโครงการวิจัย ได้กล่าวรายงานการดําเนินงานของโครงการวิจัย สืบเนื่องมาจากข้อมูลอันทรงคุณค่าจากคัมภีร์ใบลาน ซึ่งการบันทึกลงบนวัสดุธรรมชาตินั้นอาจเสื่อมสภาพไปตามกาลเวลาและสูญหายไปบางส่วน รวมทั้งยังไม่มีการจัดเก็บเอกสารดิจิทัลอย่างเป็นระบบ คณะผู้วิจัยจึงเห็นความสำคัญของการสร้างภาคีเครือข่ายความร่วมมือในการอนุรักษ์มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมล้านนาน่าน รวมถึงการนำไปต่อยอดทางเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวมูลค่าสูงเพื่อส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืน จากนั้นเป็นการบรรยายพิเศษเรื่อง “ข้อค้นพบจากการอนุรักษ์คัมภีร์ใบลานเมืองน่าน” ของทีมม้าแก่ นําโดย อ.สมเจตน์ วิมลเกษม ผู้ทรงคุณวุฒิเมืองน่าน
บันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการดังกล่าวจึงมีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวม แลกเปลี่ยน และสนับสนุนงานวิจัยและวิชาการ เพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมล้านนาในจังหวัดน่าน และเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของบรรพชิต นักเรียน นักศึกษา นักวิชาการ และคนในชุมชนท้องถิ่นด้านการอนุรักษ์มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมในจังหวัดน่าน รวมทั้งเพื่อต่อยอดองค์ความรู้ไปสู่การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์และส่งเสริมเศรษฐกิจของชุมชน

พร้อมกันนี้้ คณะนักวิจัยได้มอบของที่ระลึกให้กับผู้ร่วมงาน เป็นผลิตภัณฑ์ต้นแบบที่ได้จากการวิจัย จำนวน  3 ผลิตภัณฑ์ ประกอบด้วย

  1. เทียนไขโภคทรัพย์  ผลิตจากรวงผึ้งของผึ้งป่าเดือนห้าดอยขุนสถาน และนำมาทำเทียนไขผึ้ง มีความปลอดภัยและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมรวมถึงเทียนไขผึ้งมีความสำคัญแต่ครั้งอดีตที่ใช้จุดให้แสดงสว่างระหว่างการจารใบลาน

2. น้ำผึ้งมหานิยม มนต์เสน่ห์ของผึ้งป่าเดือนห้า ดอยขุนสถาน อุดมด้วยความหวานของเกสรดอกไม้ และสมุนไพร ที่มีสรรพคุณทางอาหารและยา พร้อมกับสอดแทรกคาถาเมตตามหานิยมที่เป็นข้อค้นพบ จากใบลาน
3.เข็มกลัดลงยันต์มหานิยม เป็นรูปนกยูงคู่ของน่าน ทีมนักวิจัยได้ข้อมูลจากเอกสารโบราณ

ให้คะแนนบทความนี้

กรุณาเลือกจำนวนดาว

คะแนนค่าเฉลี่ย 1 / 5. จำนวนผู้ให้คะแนนโวต 1

ยังไม่มีผู้ให้คะแนนบทความนี้

Sending
User Review
0 (0 votes)

Leave a Reply

Translate »