1

ชี้แจงการจัดสรรน้ำใช้ของเกษตรกร 5 ตำบล หนองเสือ ที่ได้รับผลกระทบภัยแล้งแล้ว

เมื่อวันที่ 20 มกราคม 64 ผู้สื่อข่าวรายงานว่าที่ลานเอนกประสงค์หน้า อบต.นพรัตน์ ต.นพรัตน์ อ.หนองเสือ จ.ปทุมธานี นายสมชาย ตรีณาวงษ์ นายอำเภอหนองเสือ พร้อมด้วย ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่อำเภอหนองเสือ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ได้มีการประชุมชี้แจงสถานการณ์ภัยแล้งและการบริหารจัดการน้ำใช้ทางด้านการเกษตร
โดยมีเกษตรกรทั้ง 5 ตำบลกว่า 500 คนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์น้ำภายคลองชลประทานแห้งขอดคลองไม่สามารถนำสูบน้ำไปหล่อเลี้ยงพืชผลทางการเกษตรได้ ซึ่งประกอบไปด้วย ตำบลบึงบา ตำบลบึงกาสาม ตำบลหนองสามวัง ตำบลนพรัตน์ และ ตำบลศาลาครุ ได้เข้าร่วมประชุมการวางแผนการบริหารจัดการน้ำให้เพียงพอต่อการเกษตรในขณะนี้

นายสมชาย ตรีณาวงษ์ นายอำเภอหนองเสือ ได้กล่าวว่าได้เรียกประชุมเกษตรกรเพื่อรับฟังเรื่องสถานการณ์ภัยแล้งและการบริหารจัดการน้ำใช้ทางการเกษตร ซึ่งขณะนี้คลองชลประทานต่างๆในพื้นที่หนองเสือนั้นน้ำได้แห้งขอดคลองเกษตรกรชาวสวนไม่สามารถสูบน้ำไปใช้ได้ จึงได้มีการวางแผนบริหารจัดการน้ำขึ้นมา ซึ่งได้มีการประสานทางชลประทานเพื่อกำหนดปล่อยน้ำมายังคลองชลประทานต่างๆให้แต่ละคลองได้บริหารจัดการน้ำใช้ของเกษตรกรกันเอง ซึ่งจะกำหนดให้ปล่อยน้ำเพียงแค่คลองละวันโดยสลับสับเปลี่ยนกันใช้ในทุกวัน

ทางด้านนายสมบูรณ์ เจิมไทย วิศวกรชลประทานชำนาญการ กล่าวว่าข้อมูลเบื้องต้น น้ำในเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ มีน้ำใช้ได้ประมาณ 60-70%หรือประมาณ 640ล้านลูกบาศ์กเมตร ด้วยปริมาณน้ำเท่านี้ หากทำการเกษตรอย่างเดียวก็เพียงพอ ซึ่งน้ำในเขื่อนป่าสัก ก็มีอีกหน้าที่หนึ่งคือใช้ในการผลักดันน้ำเค็มด้วย คือต้องส่งน้ำจากเขื่อนป่าสักเข้าผ่านเข้าสู่เขื่อนพระรามหกลงแม่น้ำเจ้าพระยาเพื่อไปไล่น้ำเค็ม จึงเป็นที่มาว่าทำไมน้ำในคลองตั้งแต่คลองชลประทานที่ 10-12 ทำไมถึงแห้งลง เพราะน้ำที่ถูกปล่อยเข้ามาตามประตูน้ำต่างๆทุกวันนี้เพียง 20ลูกบาศ์กเมตรต่อวินาที ซึ่งถือว่าน้อยมาก จากปกติตามประตูน้ำจะมีเข้ามา 40-50ลูกบาศ์กเมตรในเกณฑ์สถาวะปกติ เนื่องจากปริมาณน้ำส่งต่อเข้ามามีปริมาณลดลงกว่าครึ่งหนึ่ง เพราะบ้างส่วนต้องใช้ในการผลักดันน้ำเค็ม จึงทำให้ระดับน้ำในคลองหลักๆมีสภาพแห้งลงอย่างที่เห็นกัน

โดยแนวทางการบริหารจัดการน้ำในภาพรวมของกรมชลประทาน ทางกรมได้บริหารจัดการน้ำในภาพรวม คือ เบื้องต้นส่งน้ำจากเขื่อนป่าสักวันละ 3-5ล้านลูกบาศ์กเมตร หากวันใดส่งน้ำเข้ามา 5ล้านลูกบาศ์กเมตร จะสามารถเข้าที่ปากคลองระพิพัฒน์ ที่อำเภอท่าเรือค่อนข้างจะดี อยู่ที่ 30ลูกบาศ์กเมตรต่อวินาที จึงสามารถทำให้ระดับน้ำในคลองระพิพัฒน์ดีขึ้นและส่งต่อเข้ามาในคลองชลประทานที่14 ,12, 11 ,10 ได้มีประสิทธิ์ภาพที่ดี ภาพรวมตอนนี้คือ มวลน้ำไม่สามารถไหลเข้าประตูระบายน้ำได้เองตามธรรมชาติ ต้องติดตั้งเครื่องสูบน้ำเพื่อดึงเข้า จึงติดตั้งเครื่องสูบน้ำเพิ่มขึ้นเพื่อช่วยดึงน้ำเข้าในพื้นที่คลองต่างๆในการช่วยเหลือให้เกษตรกรในเบื้องต้น

ภาพ/ข่าว.กำพล วงศ์สุทธา/0805929659