1

ลานนางคอย

นิทานพื้นบ้านจังหวัดแพร่ เรียบเรียงโดย นายคมสัน หน่อคำ

หินงอกที่มุรูปร่างคล้ายหญิงสาวกำลังอุ้มลุกน้องรอชายคนรัก ในถ้าผานางคอย ขอบคุณภาพจาก google

นิทานเป็นเรื่องเล่าหรือความเชื่อที่บอกเล่าสืบต่อกันมาซึ่งอาจไม่มีบันทึกเป็นหลักฐานแน่ชัด เนื่องจากสมัยโบราณไม่มีความบันเทิงในรูปแบบอื่นในสังคมหลายวัฒนธรรมใช้การเล่าเรื่องสู่กันฟังซึ่งมักเป็นเรื่องราวจากจินตนาการแสดงความเชื่อของชาวบ้าน นิทานพื้นบ้านมักได้รับการบันทึกหรือตีพิมพ์ภายหลังและมักหาต้นกำเนิดไม่ได้ และมีการแต่งแต้มเรื่องราวเพิ่มเติมตามจินตนาการของผู้เล่า  ทำให้มีความแตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่ “ลานนางคอย” ก็เป็นนิทานพื้นบ้านของจังหวัดแพร่ ที่เกี่ยวกับความรักของชายหนุ่มหญิงสาวที่มีฐานะต่างกัน

          เรื่องถ้ำผานางและลานนางคอยมีอยู่ว่า ครั้นอาณาจักรแสนหวียังเจริญรุ่งเรือง เจ้าผู้ครองนครมีราชธิดาผู้สิริโฉมงดงามมาก นามว่านางอรัญญนี วันหนึ่งนางเสด็จประพาสโดยเรือพระที่นั่งเกิดมีพายุใหญ่พัดกระหน่ำมา ทำให้เรือพระที่นั่งพลิกคว่ำนางอรัญญนีพลัดตกลงในน้ำ ฝีพายหนุ่มคนหนึ่งได้กระโดลงไปช่วยชีวิตนางไว้ได้ ตั้งแต่นั้นมา ทั้งสองคนก็ได้ลอบติดต่อรักใคร่กันโดยปิดบังไม่ให้พระราชบิดาของนางล่วงรู้

          จนนางอรัญญนีตั้งครรภ์ขึ้น พระราชบิดาของนางกริ้วมาก สั่งให้โบยนางและกักขังไว้ แต่คนรักของนางก็ได้ลอบเข้าไปหาถึงในที่คุมขัง และพานางหลบหนีไป เมื่อเจ้าครองนครทรงทราบก็สั่งให้ทหารออกติดตามคนทั้งสอง ทหารขี่ม้าทันทั้งสองคนที่ซอกเขาแห่งหนึ่ง และยิงธนูไปหมายจะเอาชีวิตชายหนุ่ม แต่ธนูพลาดไปถูกนางอรัญญนีได้รับบาดเจ็บสาหัส สามีของนางจึงพานางเข้าไปหลบซ่อนอยู่ในถ้ำ

          นางอรัญญนีรู้ตัวว่า คงไม่รอดชีวิต จึงขอร้องให้สามีหนีเอาตัวรอดโดยให้สัญญาว่าจะรออยู่ที่ถ้ำแห่งนี้ตลอดไป ชายหนุ่มจึงจำใจต้องจากไปตามคำขอร้องของนาง ส่วนนางอรัญญนีก็นั่งมองดูสามีควบม้าหนีห่างไปจนลับตา และสิ้นใจตายอยู่ในถ้ำแห่งนั้น ลานที่นางนั่งดูสามีควบม้าจากไปนั้น ต่อมาเรียกว่า ลานนางคอย ส่วนถ้ำแห่งนั้นก็ได้ชื่อว่า ถ้ำผานาง

ปู่ละหึ่ง

                ปัจจุบันถ้ำผานางเป็นถ้ำสวยงามอยู่ในจังหวัดแพร่ ปากถ้ำอยู่ภูเขาสูงจากพื้นดินประมาณ 50 เมตร มีบันไดไต่เลียบเลี้ยววกขึ้นไปจนสุดทาง บันไดเป็นดินและหิน มีลานกว้างเป็นที่นั่งพัก ก่อนจะเข้าสู่ถ้ำด้านขวามือเป็นซอกเขา มีทางขึ้นไปไม่สูง ข้างบนมีลานหินเล็ก ๆ ซึ่งเป็นที่นั่ง เรียกกันว่า ลานนางคอย ที่มาข้อมูล นิทานพื้นบ้านรวบรวมโดยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่