1

กรมชลประทาน จัดสื่อสัญจร โครงการศึกษาความเหมาะสมและประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม อ่างเก็บน้ำน้ำงาว อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดลำปาง.

กรมชลฯ เดินหน้าศึกษาความเหมาะสมและประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมอ่างเก็บน้ำน้ำงาว อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดลำปาง ชุมชนเห็นด้วยในการพัฒนาโครงการก่อสร้างเพื่อเพิ่มแหล่งกักเก็บน้ำต้นทุนในลำน้ำงาว ประมาณ 13.53 ล้านลูกบาศก์เมตร ครอบคลุม 6 ตำบล แก้ปัญหาขาดแคลนน้ำในช่วงฤดูแล้ง่ ช่วยเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร น้ำใช้เพื่ออุปโภค-บริโภค คาดเตรียมดำเนินการก่อสร้างได้ในปี พ.ศ.2568.

เมื่อวันที่ 21 กันยายน 2564 โดยนายเฉลิมเกียรติ คงวิเชียรวัฒน์ รองอธิบตีฝ่ายวิชาการ ได้นำคณะสื่อมวลชนลงพื้นที่ร่วมกิจกรรมสัญจร ครั้งที่ 2 เพื่อตรวจติดตามความกัาวหนัาโครงการศึกษาความเหมาะสมและประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมอ่างเก็บน้ำน้ำงาว อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดลำปาง ทั้งนี้นายเฉลิมเกียรติ คงวิเชียรวัฒน์ รองอธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า กรมชลประทาน ได้จัดกิจกรรมสื่อมวลชนสัญจร เป็นครั้งที่ 2 เพื่อติดตามความก้าวหน้าโครงการศึกษาความเหมาะสมและประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม อ่างเก็บน้ำงาว อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดลำปาง ซึ่งเป็นโครงการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำทั้งภาคการเกษตร อุปโภค-บริโภค ของประชาชนและปศุสัตว์ รวมถึงยังบรรเทาปัญหาอุทกภัยให้กับพื้นที่อำเภองาว ครอบคลุม 6 ตำบล ประกอบด้วย ตำบลบ้านร้อง ตำบลปงเตา ตำบลนาแก ตำบลหลวงเหนือตำบลหลวงใต้ และตำบลบ้านโป้ง ซึ่งโครงการดังกล่าวได้เริ่มศึกษาเพื่อการจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมมาตั้งแต่ปี .ศ. 2561 ตามความเห็นของคณะอนุกรรมการติดตามและขับเคลื่อนโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริพื้นที่ภาคเหนือ โดยมอบให้กรมชลประทาน เข้าดำเนินการตามแผนงาน และเปิดให้ภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดทำโครงการ เพื่อรับฟังความคิดเห็น และเสนอแนะจากผู้มีส่วนได้เสีย
ในพื้นที่เพื่อนำไปสู่การพัฒนาในรายละเอียดที่สมบูรณ์และครบถ้วน.

สำหรับความคืบหน้าการดำเนินโครงการดังกล่าว อยู่ระหว่างการกำหนดรายละเอียดของโครงการ
และประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมของโครงการ โดยจากการเปิดรับฟังและหารือร่วมกับผู้ที่เกี่ยวข้องในครั้งที่ผ่านมาส่วนใหญ่เห็นด้วยในการพัฒนาโครงการ เพื่อแก้ปัญหาภัยแลังของอำเภองาว แม้ว่าจะมีประชาขน.บางกลุ่มด้รับผลกระทบในพื้นที่ทำกินแต่ก็มองว่าการพัฒนาอ่างเก็บน้ำ ที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม ดังนั้น กรมชลประทานจึงได้เร่งดำเนินการและมีแผนเพื่อสร้างความเข้าใจ ในการพัฒนาโครงการ ทั้งในด้านความแข็งแรงของโครงสร้งอ่างเก็บน้ำ รวมถึงแผนการพัฒนาแนวทางการสร้างรายได้ และความชัดเจนในการจ่ายค่าซดเชยที่ดินและทรัพย์สินให้กับคนในพื้นที่

ทั้งนี้โครงการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำงาว มีศักยภาพที่มีความเหมาะสมทางด้านวิศกรรม เศรษฐกิจ สังคม
และสิ่งแวดล้อม การเก็บกักน้ำตันทุนในลำน้ำงาวประมาณ 13.53 ลันลูกบาศก์เมตร สามารถช่วยแก้ไขปัญหาขาดแคลนน้ำเพื่อการเพาะปลูกในช่วงฤดูแล้ง รวมถึงในขณะที่เกิดฝนทั้งช่วงหรือฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาลได้และช่วยแก้ปัญหาน้ำท่วมในช่วงน้ำหลาก ซึ่งอ่างเก็บน้ำดังกล่าวสามารถส่งน้ำให้กับพื้นที่ชลประทานได้ 8,000 ไร่ สามารถเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรและมีความมั่นคง และประสิทธิภาพในการใช้น้ำ ซึ่งหากทุกฝ่ายเห็นชอบจะนำไปสู่การพัฒนาโครงการดังกล่าว ที่คาดว่าจะดำเนินการก่อสร้างได้ในปี พ.ศ.2568 อย่างเป็นรูปธรรม โดยการศึกษาโครงการได้ดำเนินการจัดทำรายงานการประมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการที่สอดคล้องและเป็นไปตามข้อกำหนดของกฎหมายและระเบียบที่ เกี่ยวข้องของสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) ซึ่งจะมีการจัดทำแผนปฏิบัติการป้องกันและการแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม และแผนติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม ในพื้นที่ การก่อสร้างโครงการ.

พัชรา ถิ่นวนา/รายงาน