1

“ สุดชาย” นำทีมผู้บริหาร-สื่อสัญจรดูงานชลประทานลำพูน เผยส่งน้ำเข้าพื้นที่เพาะปลูกแล้ว 97 % วอนรัฐหนุนงบ-เจ้าหน้าที่ดูแลเครือข่าย – กลุ่มผู้ใช้น้ำ พร้อมขยายพื้นที่กักเก็บน้ำ – แก้มลิง นอกเขตชลประทาน

เมื่อวันที่ 10 ก.ย 2564 เวลา 10.30 น. ที่กรมชลประทานจังหวัดลำพูน นายสุดชาย พรหมมลมาศ ผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 1 เชียงใหม่ พร้อมด้วยคณะผู้บริหารฯ เดินทางร่วมโครงการจัดกิจกรรมสื่อมวลชนสัญจรดูงานชลประทานประจำปีงบประมาณพ.ศ. 2564 (ครั้งที่ 2) ในพื้นที่ การชลประทานและโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษา เขตสำนักงานชลประทานที่ 1 โครงการชลประทานลำพูนส ำนักงานชลประทานที่ 1 โดยมีนายวุฒิชัย รักษาสุข ผู้อำนวยการโครงการชลประทานลำพูนพร้อมคณะฯให้การต้อนรับ พร้อมบรรยายสรุปผลงานที่ได้ดำเนินงานมาและสถานการณ์น้ำในพื้นที่จังหวัดลำพูน ณ ห้องประชุมของสำนักงานชลประทานจ.ลำพูน

นายวุฒิชัย รักษาสุข ผู้อำนวยการโครงการชลประทานลำพูน ได้บรรยายสรุป โดยรวมข้อมูลพื้นฐานโครงการชลประทานลำพูนและสถานการณ์น้ำในพื้นที่จังหวัดลำพูน กรมชลประทานจังหวัดลำพูนดูแล ในพื้นที่มีลุ่มน้ำย่อยในจังหวัดลำพูน มีลุ่มน้ำแม่กวง, ลุ่มน้ำแม่ทา ลุ่มน้ำแม่ลี้, ลุ่มน้ำแม่หาด, ลุ่มน้ำแม่อาว, ลุ่มน้ำแม่ปิงส่วนที่ 2 และลุ่มน้ำแม่ปิงส่วนที่ 3 โดยภาพรวมพื้นที่การเพาะปลูกพืชของจังหวัดลำพูน พื้นที่ทั้งหมดประมาณ 2,816,178 ไร่ พื้นที่การเกษตร ทั้งหมด 687,123 ไร่, พื้นที่ปลูกลำไยทั้งหมด 270,245 ไร่ พื้นที่ปลูกข้าว 140,718 ไร่ พื้นที่ชลประทานโครงการขนาดใหญ่และขนาดกลาง พื้นที่ชลประทาน 157,718 ไร่ (โครงการส่งน้ำแม่กวง 51,878 ไร่) ซึ่งโครงการชลประทานลำพูนสำนักงานชลประทานที่ 1 กรมชลประทานดูแล ครอบคลุมพื้นที่ในเขตจังหวัดลำพูนทั้งหมด จำนวน 8 อำเภอ 51 ตำบล พื้นที่ประมาณ 2.8 ล้านไร่ พื้นที่ชลประทานประมาณ 96,655 ไร่ประกอบด้วยโครงการชลประทานขนาดใหญ่ คือ ฝายชลขันธ์พินิจ(ฝายแม่ปิงเก่า) พื้นที่ชลประทานประมาณ 49,000 ไร่

“การดำเนินงานของชลประทานลำพูน ไม่ค่อยมาปัญหาอะไร แต่ช่วงการระบาดโควิด 2 ปีที่ผ่านมา ไม่ได้รับผลกระทบมากนัก เกษตรกรยังคงทำการเกษตรตามปกติ ซึ่งได้ปล่อยน้ำสู่พื้นที่การเกษตร รวม 470,000 ไร่ คิดเป็นร้อยละ
97 % ของพื้นที่ทั้งหมด มีพื้นที่เพียง 3 % ที่ไม่ได้ทำการเกษตร เนื่องจากได้รับผลกระทบจากโควิดบางส่วน และไม่
เป็นไปตามแผนการจัดตั้งกลุ่มผู้ใช้น้ำ ซึ่งตั้งเป้าไว้ 13 กลุ่ม แต่จัดตั้งได้เพียง 3 กลุ่มเท่านั้น รวมทั้งงบประมาณดูแล
เครือข่ายและกลุ่มผู้ใช้น้ำ ของลุ่มน้ำในเขตชลประทาน 7 แห่ง พร้อมขยายพื้นที่รับน้ำหรือแก้มลิง นอกเขตชลประทาน
เพื่อพัฒนาแหล่งกักเก็บน้ำในฤดูแล้ง เพราะพื้นที่บางแห่งมีบ่อกักเก็บน้ำอยู่แล้ว แต่ไม่สามารถส่งน้ำเข้าพื้นที่ดังกล่าวได้ ดังนั้นอยากให้เพิ่มงบประมาณและบุคลากร เพื่อดูแลเครือข่ายและกลุ่มผู้ใช้น้ำอย่างทั่วถึง พร้อมเพิ่มศักยภาพการบริหารจัดการน้ำให้มีประสิทธิภาพสูงสุด” นายวุฒิชัย กล่าว

ทางด้านนายสุดชาย พรหมมลมาศ ผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 1 เชียงใหม่ กล่าวว่าสรุปใน โครงการจัดกิจกรรมสื่อมวลชนสัญจรดูงานชลประทานประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ครั้งที่ 2 ในพื้นที่การชลประทานและโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษา เขตสำนักงานชลประทานที่ 1 โครงการชลประทานลำพูนสำนักงานชลประทานที่ 1 โดยภาพรวมในการทำสื่อสัญจรในวันนี้ การบริหารจัดการน้ำของกรมชลประทานลำพูน ก็ประกอบไปด้วยการป้องกันน้ำท่วม หรือน้ำหลาก น้ำแล้ง และน้ำเสีย โดยทั่วไปในจังหวัดลำพูน จะมีแม่น้ำหลักที่เกี่ยวข้องคือแม่น้ำปิง แม่น้ำลี้ แม่น้ำทา ซึ่งแม่น้ำลี้กับแม่น้ำทาเป็นแม่น้ำที่ไม่มีเขื่อนเก็บกักน้ำ ถ้าฝนตกน้ำก็จะไหลลากเข้าสู่ตัวอำเภอที่สำคัญได้แก่อำเภอเมือง, อำเภอป่าซาง ซึ่งจะเป็นปัญหาในทุกปี ก็จะมีหน่วยงานที่รับผิดชอบนอกเหนือจากชลประทานแล้ว ก็ยังมีอบจ.ลำพูนและหน่วยงานท้องถิ่นของทางจ.ลำพูน โดยจะมีพวกตะกอนและเศษสวะกิ่งไม้ ที่มากองอยู่แถวสะพาน ซึ่งทางอบจ.ก็จะได้นำเครื่องกลหนักเข้ามาช่วยขุดลอกคลองและทางจังหวัดก็จะเข้าช่วยเหลือพี่น้องประชาชนที่ได้รับปัญหาจากน้ำท่วม

ในส่วนของน้ำแล้ง ทางชลประทานจ.ลำพูนจะใช้เครื่องมือของชลประทานที่มีอยู่ใน ตลอดริมน้ำปิงช่วยผันน้ำเข้าสู่ระบบและจัดสรรไปให้ทางการประปาเพื่อนำน้ำดิบที่มีคุณภาพ ไปใช้ในการผลิตน้ำประปาให้แก่พี่น้องประชาชนและเชื่อว่าในปี 2564 ต่อเนื่องถึงปี 2565 จะสามารถนำน้ำดิบไปให้ ใช้ในการผลิตน้ำประปาได้มากขึ้น

ในส่วนของน้ำเสีย ทางกรมชลประทานจังหวัดลำพูนได้พยายามใช้เครื่องมือที่มีอยู่เวลาน้ำเสียมากองใต้ฝาย ในอำเภอเมือง กรมชลทานก็ได้พยายามจัดเครื่องกลเข้าทำการยกทิ้ง ไปเป็นบางส่วนเมื่อน้ำเสียถูกระบายออกไปก็จะนำเอาดีเข้ามาแทนและเก็บกักไว้เพื่อใช้ในการอุปโภคบริโภคและการเกษตรต่อไป ซึ่งในการจัดสื่อสัญจรในครั้งนี้ เห็นได้ชัดว่าทางกรมชลประทานจังหวัดลำพูน มีการบริหารจัดการ ได้อย่างเรียบร้อย.